1. การแยกขยะพลาสติก
โรงเรียนได้ติดตั้งจุดรับขยะพลาสติกไว้ตามอาคารเรียน โรงอาหาร และพื้นที่ส่วนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนและบุคลากรได้แยกขยะอย่างถูกต้อง โดยมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขวดน้ำพลาสติก แก้วพลาสติก หลอด ฝาขวด ถุงพลาสติ ฯลฯ และแนะนำวิธีทำความสะอาดขยะก่อนทิ้งเพื่อลดกลิ่น และการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังนำขยะพลาสติกเหล่านี้คัดแยกและส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือส่งให้บริษัทรับรีไซเคิล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดปริมาณขยะที่ส่งไปยังหลุมฝังกลบ
2. การแยกกล่องนม
กล่องนมที่ใช้ในโครงการอาหารกลางวันและโครงการนมโรงเรียนมักถูกทิ้งรวมกับขยะทั่วไป
โรงเรียนจึงรณรงค์ให้มีการแยกกล่องนมออกจากขยะประเภทอื่น โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) ล้าง กล่องนมให้สะอาด
2) ตาก ให้แห้ง
เพื่อป้องกันกลิ่นและเชื้อรา
3) พับ กล่องให้เรียบร้อยเพื่อประหยัดพื้นที่
หลังจากนั้น โรงเรียนจะรวบรวมกล่องนมที่แยกไว้และนำส่งต่อให้หน่วยงานที่รับรีไซเคิล
เพื่อนำไปผลิตเป็นวัสดุใหม่ เช่น โต๊ะเรียน หลังคา หรือวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดขยะในสิ่งแวดล้อม
3. การร่วมงานกับบริษัท วงษ์พาณิชย์
โรงเรียนได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท วงษ์พาณิชย์
ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดการขยะรีไซเคิล และเป็นต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม
โดยบริษัทเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะที่ถูกวิธี ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และนักเรียนเรื่องการคัดแยกขยะอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ โรงเรียนยังจัดกิจกรรม “แลกขยะเป็นทุนการศึกษา”
โดยนำขยะรีไซเคิลที่นักเรียนรวบรวมส่งต่อให้บริษัทวงษ์พาณิชย์ ซึ่งจะประเมินมูลค่า และเปลี่ยนเป็นเงินทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาการศึกษาและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และฝึกฝนให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
แนวทางการขยายผลในอนาคต
1) ขยายพื้นที่การแยกขยะไปยังบ้านนักเรียนและชุมชนใกล้เคียง
2) จัดกิจกรรม “ตลาดนัดขยะรีไซเคิล” เพื่อให้นักเรียนและชุมชนสามารถนำขยะที่แยกแล้วมาแลกเปลี่ยนหรือขาย
3) ส่งเสริมโครงการ Zero Waste School โดยลดการใช้ถุงพลาสติกและภาชนะใช้ครั้งเดียวในโรงเรียน
4) จัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโครงการอาสาสมัครปลูกป่าชุมชน
ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
ครู บุคลากร นักเรียนระดับอนุบาล
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และผู้ปกครอง จำนวน ๙96 คน
เข้าร่วมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
ครู บุคลากร นักเรียนระดับอนุบาล
- ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และผู้ปกครองตระหนักและรู้คุณค่าในการรักษาสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 95.46
ร้อยละ 50 ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงในระยะ
6 เดือน