๑.
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบทบทวน นโยบาย ทิศทาง
กลยุทธ์และแผนงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ นักเรียนมีวิถีประชาธิปไตย
๒.
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบทบทวน
๒.๑
แผนการจัดกิจกรรม ด้านคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม
๒.๒
แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรม ด้านคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม
๓.
สำรวจจำนวนครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ และจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๑-๖ เพื่อจัดอัตราส่วนครู : นักเรียน
๔.
สำรวจความสามารถพิเศษของครู เพื่อกำหนดสาระของแต่ละคนต่อการส่งเสริมนักเรียน
๕.
ประชุมคณะครู เพื่อกำหนดจำนวนบ้านในอัตราที่เหมาะสม ๑ : ๒๕ ได้จำนวน 92 บ้าน
๖.
ให้องค์ความรู้แก่ครูต่อการจัดกิจกรรมภายในบ้านให้มีความเข้าใจตรงกัน ประกอบด้วย
แนวทางการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่นักเรียนควรรู้
ได้แก่ กิจกรรมและการดำเนินงานเกี่ยวกับวิถีชีวิตประชาธิปไตยทั้ง
๓ ด้าน คารวธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม
กิจกรรมที่นักเรียนอยากรู้
ได้แก่ กิจกรรมตามกลุ่มความถนัดและความสนใจที่สอดคล้องกับ
ชื่อบ้านทักษะ
กิจกรรมที่นักเรียนต้องรู้
ได้แก่ กิจกรรมที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
กิจกรรมที่แสดงออกด้วยกระบวนการคิด
แนวทางการจัดบริหารจัดการ
๑.
วิธีการค้นหานักเรียนเข้าประจำบ้าน
๒
ดำเนินการจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ ๑-๒ ชั่วโมง ในปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๖๖
๓.
นักเรียนเข้าประจำบ้านตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ โดยทุกบ้านมีนักเรียน
ครบทุกระดับชั้น
สำหรับนักเรียนอนุบาลจะเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมในภาคเรียนที่ ๒ ของทุกปี
๔.
ครูจัดกิจกรรมตามที่กำหนด
๕.
ประเมินผลเป็นระยะ เดือนละ ๑ ครั้ง จากการสำรวจความพึงพอใจ สภาพปัญหา
อุปสรรค
และทดสอบวิถีประชาธิปไตย ทั้ง ๓ ด้าน โดยการสังเกตพฤติกรรม
๖.
สรุปและรายงานผล ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
ผลการดำเนินงานที่ส่งผลดีต่อเด็กและผู้เรียน
-
นักเรียนมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ด้านคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม
มีความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการแบ่งปัน
ให้การช่วยเหลือและรู้จักการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และอื่น ๆ ที่ประเมินผลได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
-
นักเรียนได้ค้นพบศักยภาพของตนเองเพิ่มขึ้น
-
นักเรียนมีการเคารพกันระหว่างเพื่อนกับเพื่อน น้องกับพี่ และมีความรักความสามัคคี
ช่วยกันทำงาน จนเกิดความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นให้กับสมาชิกในบ้าน
-
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้นำก่อนจบการศึกษา
ผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อครู
ครู
: เกิดการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ
มีกิจกรรมเชิงบูรณาการ
ยึดหยุ่นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามความต้องการมากยิ่งขึ้น
ผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษา
: มีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลในการเสริมสร้างคุณธรรม
ความรับผิดชอบของผู้เรียน ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่สำคัญให้แก่สังคมโดยรวมไปพร้อม ๆ
กัน
ผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อผู้ปกครองและชุมชน
ผู้ปกครองและชุมชน
: ได้รับประโยชน์อย่างสมบูรณ์ บุตร
หลานได้รับทั้งความรู้ ทักษะ และ เจตคติจากกิจกรรมดังกล่าว
ทำให้มีความหวังในอนาคตของบุตรหลานมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
ผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อสถานศึกษา
- สถานศึกษาได้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายของนักเรียน
- สถานศึกษาได้มีต้นแบบให้ผู้ที่สนใจนำไปใช้