สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาวอลเลย์บอล ด้วย ๗ P Model
โรงเรียนมีนบุรี
กระบวนการพัฒนา

1) คัดกรองผู้เรียน

๑.๑) คัดกรองผู้เรียนตามความถนัด โดยจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงทักษะความสามารถด้านกีฬาวอลเล่ย์บอล โดยสังเกตจากกิจกรรมกีฬาสี การเล่นกีฬาในช่วงพักกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน โดยชักชวนผู้เรียนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รูปร่างสูงโปร่ง ผู้ปกครองมารับช้า มารับหลังเวลา ๑๗.๓๐ น. เป็นต้นไป

๑.๒) คัดกรองผู้เรียนตามความสนใจ โดยทำการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงเพื่อเปิดรับสมัครนักกีฬา คัดเลือกนักกีฬาจากกิจกรรมบ้านทักษะชีวิต “บ้านวอลเลย์บอล” และผู้เรียนที่ผู้ปกครองนำมาฝากเพื่อเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอล

๒) สร้างข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอนและนักกีฬา เกี่ยวกับกฎระเบียบและแนวทาง ในการเตรียมตัวเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอล

๓) กำหนดการฝึกทักษะทางกีฬาวอลเลย์บอล โดยฝึกซ้อมหลังเลิกเรียนวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. วันเสาร์ เวลา๐๙.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ วิเคราะห์นักกีฬารายบุคคล แจ้งคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนกีฬาวอลเลย์บอล โรงเรียนมีนบุรี ประสานครูประจำชั้น ดำเนินการฝึกซ้อมตามแผนที่กำหนด ทดสอบสมรรถภาพด้านกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อคัดเลือกตัวแทนนักกีฬาจำนวน ๑๒ คน เสริมสร้างประสบการณ์ด้านกีฬาวอลเลย์บอล โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาอื่น ๆ จัดหาแมทซ์การแข่งขันเพื่อฝึกความพร้อมก่อนการแข่งขันรายการใหญ่ นำผลการแข่งขันแต่ละแมทซ์มาปรับปรุงและพัฒนาทักษะ เทคนิคการเล่นต่าง ๆ เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันครั้งต่อไป นำนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน เช่น กีฬาช้างน้อยเกมส์ รอบคัดเลือก เขตมีนบุรี รอบคัดเลือกกลุ่มกรุงเทพตะวันออก รอบชิงชนะเลิศระดับกรุงเทพมหานคร รอบคัดเลือกตัวแทนภาคนครหลวงและรอบชิงแชมป์ประเทศไทย สรุปผลการดำเนินการเผยแพร่สู่สาธารณะ ช่องทาง Facebook page “มีนบุรีมินิวอลเลย์บอล”และ “โรงเรียนมีนบุรี”

 

 


ผลจากการปฏิบัติ

๑) ผลการแข่งขัน ๓ ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๗) รองชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันวิทยุ การบิน มินิวอลเลย์บอล ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันวิทยุ การบิน มินิวอลเลย์บอล ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชนะเลิศอันดับ ๑ การแข่งขันวิทยุ การบิน มินิวอลเลย์บอล ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๓ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชนะเลิศอันดับ ๑ กีฬาวอลเลย์บอลหญิง รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี กรุงเทพมหานคร “ช้างน้อยเกมส์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗” เด็กหญิงธีรกานต์ ช่วยอนันต์ ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาดีเด่นของกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชิงแชมป์แห่งประเทศไทย “ร้อยเอ็ดเกมส์”ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗

๒) ผลที่เกิดกับผู้เรียน ด้านศักยภาพผู้เรียน ผู้เรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เหมาะสมกับวัย มีศักยภาพ ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล มีระเบียบวินัยต่อตนเอง เพื่อน ครูผู้ฝึกสอน ด้านการยกระดับความสามารถ ในการแข่งขัน ผู้เรียนได้รับโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากกีฬาวอลเลย์บอลชั้นนำของประเทศ เช่น โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) กรุงเทพมหานคร โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี โรงเรียนสตรีนนทบุรี โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร (วิชูทิศ)

๒.๑) นางสาวอชิรญาภรณ์ กำใจบุญ ทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน ๑๘ ปีและ ๒๑ ปี ศิษย์เก่านักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนมีนบุรี

๒.๒) เด็กหญิงอาริยา บัวดง อายุ ๑๔ ปีศิษย์เก่านักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนมีนบุรี ผ่านการคัดเลือกทีมชาติไทยรุ่น U๑๗ รอบ ๒

๒.๓) นักกีฬาวอลเลย์บอล ทีมรร.มีนบุรี ร่วมแสดงละคร ช่อง ONE เรื่อง นักตบบ้านโคกปัง ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๑๙.๐๐ น.เริ่มวันพุธที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗

๒.๔) นักกีฬาวอลเลย์บอล ทีมรร.มีนบุรี ร่วมฝึกซ้อมกับทีมฮ่องกง Way College ร่วมเรียนรู้ทักษะการเล่นกับทีมชาติรัสเซีย และทีมชาติจีน

วิธีการวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลโดยใช้เครื่องมือ แบบบันทึกสมรรถภาพด้านกีฬา แบบทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย และแบบบันทึกพัฒนาการของนักกีฬา ที่มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้

ในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และเก็บเป็นสถิติและแฟ้มสะสมผลงานเพื่อใช้ในการคัดเลือกนักกีฬาในระดับต่าง ๆ

ปัจจัยและสิ่งที่สนับสนุนความสำเร็จ

๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักกีฬา

๒. งบประมาณสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองนักกีฬาและศิษย์เก่าโรงเรียนมีนบุรี

๓. วัสดุอุปกรณ์กีฬาที่ส่งเสริมสมรรถนะ

๔. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike โดยใช้กฎแห่งความพร้อม (Law of reaness) เป็นการสอนนักกีฬาเมื่อมีความพร้อมทางทางกายและใจ กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) เป็นการสอนแบบซ้ำมาซ้ำไปจนเกิดความชำนาญ และกฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of effect) เป็นการส่งเสริมให้นักกีฬามีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

๕. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยมีการจัดสนามฝึกซ้อมให้มีมาตรฐาน

๖. กระบวนการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ระหว่าง ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอน นักกีฬา ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน มีการปรึกษาหารือร่วมกันในการแก้ปัญหา 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]