ปัจจัยนำเข้า
1)
ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2) กำหนดรายละเอียดวิชา
3) กำหนดสิ่งแวดล้อม
หรือแหล่งเรียนรู้
4) เลือกใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้
กระบวนการ
จัดการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จุดประกายความคิด
ขั้นที่ 2 สะกิดให้ค้นคว้า
ขั้นที่ 3 นำพาสู่การปฏิบัติ
ขั้นที่ 4 จัดองค์ความรู้
ขั้นที่ 5
นำเสนอควบคู่การประเมิน
ผลลัพธ์
1) ทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2) ประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
3) สำรวจความพึงพอใจของผู้เรียน
จากการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้ผลการดำเนินการ ดังนี้
1. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- นักเรียนได้รับรางวัล
และเกียรติบัตรจากการแข่งขันทักษะร้อยละ ๘๐
- นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มากขึ้นร้อยละ ๘๐
- นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศ
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ในโอกาสต่อไป
2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู
- ครูมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานและพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ
- ครูได้พัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
3. ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
- ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธา
ต่อผู้ปกครองและชุมชน
- โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพให้กับชุมชนมากขึ้น
4. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
- ชุมชนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
- ชุมชนมีความภาคภูมิใจ
ศรัทธาต่อโรงเรียนและช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น
- ชุมชนสามารถเข้าร่วมกับโรงเรียนในการฝึกวิชาชีพให้กับนักเรียน