สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
หนังสือ
โรงเรียนมีนบุรี
กระบวนการพัฒนา

๓.๑ คณะครูกลุ่มสาระภาษาไทยร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและการผลิตชิ้นงานต้นแบบตามบทเรียนในการพัฒนาหลักสูตรหนังสือทำมือ  ดังนี้            

              ๓.๑.๑ ระดับอนุบาล ฝึกวาดภาพระบายสี จากการฟังนิทานทุกหน่วยการเรียน

              ๓.๑.๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ เรื่อง สระ จัดทำ หนังสือเล่มเล็ก

              ๓.๑.๓ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สาระการเรียนรู้ เรื่อง อ่านจับใจความ  จัดทำ หนังสือเล่มเล็ก

              ๓.๑.๔ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สาระการเรียนรู้ เรื่อง การเรื่องตามจินตนาการ จัดทำ นิทานหน้าเดียว

              ๓.๑.๕ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ สาระการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความจัดทำ นิทานหน้าเดียว

              ๓.๑.๖ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สาระการเรียนรู้ เรื่อง การย่อความ จัดทำ หนังสือทำมือ

              ๓.๑.๖ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สาระการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์  จัดทำ หนังสือทำมือ

              ๓.๑.๖ นอกเหนือจากที่กำหนดครูผู้สอนสามารถเพิ่มเติมรูปแบบของชิ้นงานได้ตามความเหมาะสม

          ๓.๒ ดำเนินการจัดทำหลักสูตรเพื่อออกแบบชิ้นงานที่สอดคล้องกับเนื้อหาของแต่ละบทเรียน อย่างน้อยบทเรียนละ ๑ ชิ้นงาน โดยมีสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นต้นแบบ ส่วนสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้นำไปปรับใช้บูรณาการให้หมาะสมกับเนื้อหาส่งผลให้โรงเรียนมีนบุรีมีผลงานหนังสือทำมือจากทุกกลุ่มสาระ     

          ๓.๓ วางแผนให้มีการฝึกทักษะการทำภาพสามมิติให้แก่คณะครู ในชั่วโมง PLC  และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการ  เทคนิคใหม่ๆ ที่ค้นพบจากสื่อเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง

          ๓.๔ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการฝึกทักษะ

          ๓.๕ คณะครูนำหลักสูตรไปทดลองใช้

          ๓.๖ ครูผู้สอนปรับเนื้อหาหลักสูตรให้เหมาะสมกับบทเรียน ช่วงวัยและความสามารถของผู้เรียนตามเนื้อในเล่มหลักสูตรหนังสือทำมือ ฉบับบปรับปรุง ปี ๒๕๖๐

          ๓.๗  ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือสารานุกรมไทย  มอบหมายงานให้นักเรียนจัดทำผลงานจากการอ่าน  ได้แก่  การจัดทำภาพสารานุกรมสามมิติ   การจัดทำหนังสือสารานุกรมเล่มเล็ก บัตรภาพสารานุกรมสามมิติ  ตามเนื้อหาที่สนใจเพื่อให้นักเรียนสนใจอ่านหนังสือสารานุกรมไทยและเข้าร่วมการแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทย

          ๓.๘ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดตลอดปีการศึกษา และจัดให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันในทุกกิจกรรมวันสำคัญเกี่ยวกับ ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ และกิจกรรมค่ายวิชาการต่างๆ เช่น วันสุนทรภู่ วันภาษาไทย ค่ายศิลปะ งานสัปดาห์ห้องสมุด เป็นต้น

          ๓.๙ จัดการประกวดผลงานแข่งขันภายในโรงเรียนทั้งครูและนักเรียน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานและค้นหาผู้เรียนเพื่อเป็นตัวแทนในการประกวดแข่งขันภายนอกโรงเรียน

          ๓.๑๐ ส่งผู้เรียนที่มีทักษะการทำงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขันภายนอกโรงเรียน

          ๓.๑๑ นำผลงานที่ได้รับรางวัลมาจัดทำต้นฉบับหนังสือฝึกวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมการอ่านให้แก่นักเรียนทั้งโรงเรียน

          ๓.๑๒  ส่งเสริมนักเรียนที่รักการอ่านเข้าแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทยของสโมสรไลออนส์และหน่วยงานอื่น ๆ  ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

          ๓.๑๓ นำผลงานจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเป็นการเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

                    ๑)  จัดแสดงนิทรรศการการผลงานตามหลักสูตรหนังสือทำมือแก่สาธารณะ  ในงานนิทรรศการ “มีนบุรีพัฒนาด้วยปัญญาเยาวชน  ครั้งที่ ๑-๖ ” อย่างต่อเนื่อง

                   ๒)  มีการเผยแพร่วิธีการผลิตชิ้นงานผ่านบันทึกวีดีโอการผลิตหนังสือเผยพร่ผ่าน CD,  Facebook , YouTube


ผลจากการปฏิบัติ

๔.๑ ผลที่เกิดแก่ครูผู้สอน

              ๔.๒.๑ ครูได้รับการพัฒนาสมรรถนะด้านการออกแบบหลักสูตรหนังสือทำมือและขยายผลการจัดการเรียนรู้ของครูทั้ง ๘ กลุ่มสาระ   ร้อยละ ๑๐๐.๐๐

    ๔.๒.๒ ครูทุกกลุ่มสาระได้รับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นนวัตกรและสามารถสร้างนวัตกรรมที่เป็นสื่อการเรียนการสอนของครูเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐

๔.๑.๓ ครูที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสามารถนำไปเป็นแบบอย่างและอ้างอิงใน

สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม นับเป็นการเผยแพร่ผลงานของโรงเรียน

๔.๑.๓  ครูมีทักษะและเทคนิคในการจัดทำหนังสือและสื่อสามมิติเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ

๘๐.๐๐

                   ๔.๑.๓ ครูจากทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่งผลงานสื่อสามมิติส่งเข้าประกวดในกิจกรรมงานสัปดาห์ห้องสมุด คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐

                   ๔.๑.๔  คณะครูมีทักษะและเทคนิคการสอนและประยุกต์เทคนิคการผลิตสื่อหนังสือทำมือต่างๆเป็นแบบอย่างในการส่งผลงานเข้าประดกวดได้รับรางวัล  ดังนี้

          ผลงานด้านครู

นางศิริญญาพัทร บุดดา

นางสาวปัญญา วิจิโน

นางสาวอมรรัตน์ คำก้อน  ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศ

                             การแข่งขันทักษะภาษาไทยงานนิทรรศการทางวิชาการเปิดบ้านเตรียมน้อม                                  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

นางศิริญญาพัทร บุดดา   ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 "แต่งคำประพันธ์กลอนสี่"                              นิทรรศการวิชาการสรรค์สร้าง ครั้งที่ 26 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ครูอมรรัตน์ คำก้อน       รับรางวัลชมเชยการประกวดแข่งขันสื่อสิ่งประดิษฐ์ งานนิทรรศการวิชาการ                                  เครือข่ายโรงเรียนที่ 33..ปี 2565

นางศิริญญาพัทร บุดดา

นางนภาพร ลั่นซ้าย       ได้รับรางวัล ชมเชยกิจกรรมประกวดสื่อ ประเภทคลิปสั้น หัวข้อ หนูได้                                 ธรรม"ในประเภทเนื้อหา ธรรมะในชีวิตประจำวันงานมหกรรมพุทธ                                     ธรรมนำสื่อสร้าง สันติสุข ปีที่ 2สื่อ ธรรม ดีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและ                                 สร้างสรรค์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหารกรุงเทพมหานคร

นางศิริญญาพัทร บุดดา   ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 อ่านทำนองเสนาะ                                    นิทรรศการวิชาการ นวมินทร์ เบญจมะ นิทรรศน์ “Towards Global                                       Standerds 2024ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย

นายอนุสิษฐ์ เจตนา        ครูดีเด่น ระดับกรุงเทพมหานคร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ                                       เทคโนโลยี  สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

ครูศุทธีนี  ภูแซมโชติ      รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดสื่อสิ่งประดิษฐ์ของครู ในงาน                                       นิทรรศการเครือข่ายโรงเรียน ที่ 33 ปี 2563นางสาวปัญญา วิจิโน

นางยอดขวัญ หว่านเงิน   ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 9 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย                                การแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27                               ระดับประเทศ          สโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดี-รังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จัด                            โดยสโมสรไลออนส์สากลภาค 310 เอ 1

นางยอดขวัญ หว่านเงิน   ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับจังหวัด การแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือสารานุกรม                            ไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27    สโมสรไลออนส์สากลภาค 310 เอ 1 ณ โรง                              เรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

นางสาวปัญญา วิจิโน      ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับจังหวัด การแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือสารานุกรม                            ไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27    สโมสรไลออนส์สากลภาค 310 เอ 1 ณ โรง                              เรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

นางยอดขวัญ หว่านเงิน

นางสาวปัญญา วิจิโน      ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับภาค การแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือสารานุกรม                               ไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย          สโมสรไล                             ออนส์สากลภาค 310 เอ 1 ณ โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี

นางสาวปัญญา วิจิโน      ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับภาค การแข่งขันตอบคำถามจากหนังสือสารานุกรม                               ไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย          สโมสรไล                             ออนส์สากลภาค 310 เอ 1 ณ โรงเรียนปากเกร็ด จ.นนทบุรี

นางสาวอมรรัตน์ คำก้อน  ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประถมศึกษา การ                              แข่งขันการสวดโอ้เอ้วิหารราย วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร จ.นนทบุรี

นางพัชมณฑ์ เพชรี

นายเขมณัฐ์ แสงสว่าง     ครูผู้ฝึกสอนนักเรียน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ตอบปัญหาวิทยาศาสตร์                             นิทรรศการวิชาการ นวมินทร์ เบญจมะ นิทรรศน์ “Towards Global                                       Standerds 2024ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย

          ๔.๒ ผลที่เกิดแก่นักเรียน

          ๒.๓ นักเรียนได้รับการส่งเสริมสมรรถนะทั้ง ๕ ด้าน โดยเฉพาะ ด้านการคิด การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีในการสร้างหนังสือทำมือและเผยแพร่ได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๐๐

๔.๒.๑ ด้านสมรรถนะของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตรงตามสมรรถนะหลักของผู้เรียน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ปี ๒๕๖๑  ทั้ง ๕ ด้าน คือ

- ความสามารถในการสื่อสาร

- ความสามารถในการคิด

- ความสามารถในการแก้ปัญหา

- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

สามารถเป็นนวัตกรที่ใช้ความสามารถตามสมรรถนะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์  มีการจัดการแข่งขันความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่าง ๆ ในโรงเรียน  เผยแพร่ผลงานผ่านช่องทาง Facebook  YouTube TikTok ได้ด้วยตนเอง  และส่งนักเรียนเข้าแข่งขันกับหน่วยงานภายนอกที่เชิญมา

.๒.๒ ด้านความภาคภูมิใจ  ทั้งต่อตัวผู้เรียนและผู้ปกครอง นักเรียนมีผลงานจากการ

อ่านหนังสือสารานุกรมไทย  แล้วนำข้อมูลมาจัดทำภาพสารานุกรมสามมิติ  ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดขึ้น  ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันทำหนังสือทำมือ (หนังสือเล่มเล็ก)จากผลการแข่งขัน จากการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์และจัดทำเป็นหนังสือทำมือ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการเขียนสื่อสารและสามารถเขียนบทหนังสั้น ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจนได้รับรางวัล    (๓ ปีย้อนหลัง พ.ศ.๒๕๖๔ - ปัจจุบัน) ดังนี้

                   ปี ๒๕๖๐  รางวัลชนะเลิศ การประกวดแข่งขันหนังสือเล่มเล็ก ในนิทรรศการทางวิชาการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย หัวข้อ ไทยแลนด์ ๔.

ปี ๒๕๖๔  รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดแข่งขันหนังสือเล่มเล็กในนิทรรศการทา

วิชาการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย หัวข้อ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ปี ๒๕๖๕  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   การแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทย  ในงาน

นิทรรศการการวิชาการสรรค์สร้าง  ครั้งที่ ๒๕  โรงเรียนนวมินทราชูทิศ  สตรีวิทยา 2

ปี ๒๕๖๖ รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด  ระดับภาคและเข้าร่วมแข่งขันระดับประเทศใน

กิจกรรมการแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 27   จัดโดย  สโมสรไลออนส์สากลภาค 310 เอ 1

ปี ๒๕๖๖ รางวัลชมเชย การประกวดแข่งขันหนังสือเล่มเล็ก ในนิทรรศการทางวิชาการ

ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย หัวข้อ รักเมืองไทย

ปี ๒๕๖๖ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ระดับองค์/หน่วยงาน การประกวดหนังสั้น ภายใต้

หัวข้อ วินัยสร้างชาติจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับกรมการศาสนา

ปี ๒๕๖๖ รางวัลชมเชย กิจกรรมการการประกวดสื่อ ประเภทคลิปสั้น หัวข้อ หนูได้

ธรรมในประเภทเนื้อหา ธรรมในชีวิตประจำวันในงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ ๒ สื่อ ธรรม ดี ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรวิหารจัดโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

๔.๒.๓  ผู้เรียน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ได้ฝึกทักษะการทำหนังสือทำมือ และร้อยละ ๖๐.๐๐

สามารถนำทักษะไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็น ประโยชน์ในการศึกษาระดับที่สูงขึ้นไป ศิษย์เก่านำผลงานที่ได้พัฒนาต่อยอดกลับมาขอคำปรึกษาและนำเสนอให้กับศิษย์ปัจจุบันได้ชื่นชม

 

 

.๓ ผลที่เกิดกับสถานศึกษา

 - โรงเรียนมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับด้านผลงานหลักสูตรหนังสือทำมือจากหน่วยงานทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ ได้รับรางวัลระดับชาติ คือ  รับโล่รางวัลเหรียญเงิน ตามโครงการ  หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม One School One” ด้านหลักสูตรหนังสือทำมือ(Hands Made Ourriculum)

คณะครูได้มีการสืบสานการจัดการเรียนรู้เรื่องหนังสือทำมือมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

            - โรงเรียนเป็นต้นแบบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรจากนวัตกรรมหลักสูตรหนังสือทำมือ