สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการสถานศึกษาพอเพียง
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2
กระบวนการพัฒนา

      โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 มีกระบวนการดำเนินงานโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้

      ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (P)

          1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการให้เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษา และผู้เรียน

          2) ประชุมชี้แจงคณะครู ร่วมกันวางแผนและกำหนดโครงการสถานศึกษาพอเพียง กำหนดรูปแบบกิจกรรม การติดตามผล การรวบรวมข้อมูล การวัดและประเมินผล

          3) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

          4) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินโครงการ กิจกรรม ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ได้แก่

    4.1) คณะกรรมการฝ่ายที่ปรึกษา มีหน้าที่ ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

    4.2) คณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ ประสานการดำเนินงาน ร่วมวางแผนการดำเนินโครงการให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ประสานงานกับทุกฝ่าย และควบคุมการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมิน ให้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย

          ด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานศึกษา  มีหน้าที่

           1) รวบรวมเอกสารการดำเนินงาน การติดตามผล ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้เกณฑ์ คุณภาพ เกี่ยวกับ นโยบาย วิชาการ งบประมาณ และบริหารทั่วไป

           2) ติดตามแผนงาน โครงการกิจกรรม ที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีหน้าที่

           1) ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           2) จัดหา ผลิตสื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           3) จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล จัดทำรายงานผลการประเมิน เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุง

           4) รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อจัดทำรายงานสรุป

 

          ด้านที่ 3 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มีหน้าที่

           1) วางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           2) จัดกิจกรรมแนะแนวให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           3) จัดโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และพอเพียง

           4) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจัดทำ                  รายงาน

          ด้านที่ 4 การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา  มีหน้าที่

           1) วางแผนการโครงการ/กิจกรรม  พัฒนาบุคลากรตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

     พอเพียง

           2) จัดประชุม อบรม สัมมนา ดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           3) ขยายผลการอบรม ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่เกี่ยวเกี่ยวข้อง

           4) ติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจัดทำ

               รายงาน

          ด้านที่ 5 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีหน้าที่

           1) ติดตามผลการดำเนินงาน และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามคุณลักษณะ

     ของสถานศึกษาพอเพียง ด้านสถานศึกษา ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านบุคลากร และ

     ด้านนักเรียน

           2) รวบรวมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายงาน

    4.3) คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาสภาพแวดล้อม มีหน้าที่

           1) วางแผนงานการดำเนินการเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้

               ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           2) พัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

               พอเพียง

           3) กำหนดพื้นที่ในการจัดตั้งฐานการเรียนรู้ จัดทำป้ายที่เกี่ยวข้อง ป้ายความรู้บริเวณรอบ

               โรงเรียน ภายนอกห้องเรียน

          4) จัดนักเรียนแกนนำช่วยดูแลและพัฒนาสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

4.4) คณะกรรมการฝ่ายจัดเตรียมเอกสารและจัดเตรียมแบบนำเสนอข้อมูล 

          1) สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ใบงาน คำสั่ง บันทึกการประชุม เอกสารมอบหมาย หน้าที่ปฏิบัติงาน วาระการประชุม เป็นต้น

          2) จัดทำรูปเล่มแบบนำเสนอข้อมูล

          3) จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับปฏิบัติกิจกรรม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

          4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

4.5) คณะกรรมการฝ่ายติดตาม นิเทศการดำเนินงาน มีหน้าที่

          1) วางแผนการบริหารจัดการ จดทำแบบติดตามการดำเนินงาน

          2) ติดตามการดำเนินงานในแต่ละด้านตามแผนการปฏิบัติงาน

          3) สรุปรายงานผลต่อผู้บริหาร

          4) รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายงาน

4.6 คณะกรรมการฝ่ายบันทึกภาพ และประเมินผล มีหน้าที่เก็บรวบรวมภาพ และจัดทำแบบประเมินผลการจัดทำกิจกรรมสวนเกษตรพอเพียง

5) สร้างนักเรียนแกนนำ เพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูล ความรู้ และร่วมมือกับครูในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ

6) การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติงาน

      ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ (D)

          ดำเนินการจัดกิจกรรมตามที่วางแผนและกำหนดไว้ในโครงการสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่

          - จัดหลักสูตรที่มีการสอดแทรกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 1 หน่วย

          - กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อม ทุกห้องเรียนมีมุมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงห้องละ 1 มุมการเรียนรู้ ในรูปแบบของป้ายนิเทศ หรือมุมรักการอ่าน

          - พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน ได้แก่

                    1) ฐานการเรียนรู้บ้านรวมใจ (ชาติ ศาสน์ กษัตริย์)

2) ฐานการเรียนรู้ต้นอ่อนทาน

3) ฐานการเรียนรู้ DIY & Recycle

4) ฐานการเรียนรู้ทักษะอาชีพ (กัดกระจก สานตะกร้า ทำเหรียญโปรยทาน)

5) ฐานการเรียนรู้พืชสวนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

6) ฐานการเรียนรู้โรงเพาะเห็ด

7) ฐานการเรียนรู้เปตองเพื่อสุขภาพ

8) ฐานการเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ

9) ฐานการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์

10) ฐานการเรียนรู้ห้องสมุดคือชีวิต
          11) ฐานการเรียนรู้ดนตรีสร้างสรรค์

          - กิจกรรมพืชสวนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

          - กิจกรรมสวนแนวตั้ง

          - กิจกรรมพันธุ์ผักพระราชทาน

          - กิจกรรมออมเป็นนิจ

          - กิจกรรมโรงเห็ดพอเพียง

          - กิจกรรมเถ้าแก่น้อย

      ขั้นตอนที่ 3 ติดตามประเมินผล (C)

          1) ประเมินผลการจัดกิจกรรม ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

          2) สรุปรายผลการจัดกิจกรรม

          3) การต่อยอดโครงการ/ทางการตลาด ได้แก่ แจกให้กับผู้รับผิดชอบนำไปประกอบอาหาร การแปรรูปอาหารจากเห็ด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือผลผลิตของผู้เรียนให้กับคณะครู บุคลากรทางการศึกษา หรือผู้ปกครอง และจัดจำหน่ายหน้าโรงเรียนให้กับชุมชน การนำผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน

          4) นิเทศติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน แบบกัลยาณมิตร

          5) ทำแบบประเมินความพึงพอใจ และการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียน บุคลากร ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการตอบแบบประเมิน

      ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงและพัฒนา (A)

          1) นำผลการดำเนินงานตามโครงการมาทบทวน ปรับปรุง สะท้อนความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ซึ่งกันและกัน นำไปแก้ไขและและเป็นแนวทางการพัฒนาครั้งต่อไป

 

          2) นำผลการจัดกิจกรรมที่ปรับปรุงแล้ว เป็นต้นแบบของโครงการหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best

Practice)

          3) จัดทำสรุปรายงานผล รูปเล่ม

          4) เผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนรู้


ผลจากการปฏิบัติ

          2.5.1 ผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์

                    1) หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ นักเรียนได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรงจากฐานการเรียนรู้พืชสวนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักการปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และมีทักษะเกี่ยวกับการเตรียมดิน การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกพืชผักสวนครัวลงภาชนะปลูก การทำปุ๋ยหมักและการดูแลรักษา มีกระบวนแก้ปัญหาเพื่อให้งานสำเร็จ สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจเพิ่มขึ้น สร้างรายได้เสริมให้ผู้ปกครอง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตาม

ศักยภาพแต่ละบุคคล

                    2) ได้รับการส่งเสริมและฝึกทักษะอาชีพโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติจริง ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ร้อยละ 100 สูงกว่าเป้าหมาย และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมและภาคภูมิในผลงานของตนเอง มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะแก้ไขปัญหาได้ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ ทักษะอาชีพและการเรียนรู้

                    3) ได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดผลสำเร็จร้อยละ 93.75 เป็นนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

                    4) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับ 2 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถนำทักษะการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และมีทักษะในการประกอบอาชีพเกษตรยุคใหม่สู่ทักษะอาชีพอย่างยั่งยืนและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

          2.5.2 ประโยชน์ที่ได้รับ

          ผู้เรียนได้รับนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับตนเอง มีเงินออม มีการถ่ายทอดความรู้กับผู้ปกครอง มีทักษะการการปฏิบัติงานตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียง นำความรู้ไปใช้ในการต่อยอดในการเรียนระดับที่สูงขึ้น ประกอบอาชีพหรือนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ตามศักยภาพ

          2.5.3 ผลสำเร็จ

                    1) โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนสภาพแวดล้อมที่สวยงามและเอื้อต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆและสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้

                    2)นักเรียน ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะในการปลูกผักเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมอาหารดีมีประโยชน์ของโรงเรียน และสามารถนำความรู้ไปแนะนำกับชุมชนได้

                    3) โรงเรียนมีเครือข่ายให้การสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดสถานศึกษาพอเพียง เช่น ฝ่ายสิ่งแวดล้อมสำนักงานเขตหลักสี่ โรงเรียนในเครือข่ายที่ 29 เป็นต้น

                    4) สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม และครูผู้สอนที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้และการทำงานร่วมกันทั้งโรงเรียนและพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง

                    5) ครูผู้สอนมีความตั้งใจและเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี คิดหาแนวทางในการสร้างกระบวนการพัฒนาผลงาน/นวัตกรรมการเรียนการสอนของตนเองให้ต่อเนื่องและยั่งยืนและมีความมุ่งมั่นในการวิเคราะห์และออกแบบกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

2.6 บทเรียนที่ได้รับ

       2.6.1 ผลต่อนักเรียน

          1) ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และมีความพึงพอใจมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมในระดับมาก

           2) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกเชิงบวกในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันและ

เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคการเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ คำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

       2.6.2 ผลต่อครูผู้สอน

           1) ครูผู้สอนได้รับสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะ

การเรียนรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2) ครูมีการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างน้อย ๑ กิจกรรม/นวัตกรรม คิดสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และเข้าร่วมประกวดผลงาน รางวัลดีเด่นด้านต่างๆ

          3) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการเป็นการพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ด้านงานเกษตร

และเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งค้นพบรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความหลากหลายของผู้เรียน

และบริบทของชุมชน

4) ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจและชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน

       2.6.2 ผลต่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา

          1) สถานศึกษามีผลการศึกษาหรือวิจัยการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อปัญหาการเรียนการสอน

และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          2) สถานศึกษามีหลักสูตรที่มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปใช้สอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพได้

       2.6.3 การเผยแพร่ การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ

          1) เผยแพร่เว็บไซด์ เฟซบุ๊กของสถานศึกษา

          2) เผยแพร่ด้วยวิธีการจัดนิทรรศการ “สถานศึกษาพอเพียง”

          3) ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ๆ ประเมินจากการให้ความร่วมมือและให้การช่วยเหลือด้านปัจจัย อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน

2.7 ผลการได้รับการยอมรับ

          สถานศึกษาผ่านการประเมิน สถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)     สำนักงานศึกษาธิการภาค ๒ ตามประกาศที่ ศธ.0238/788 ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ผู้เรียน

          ครูและบุคลากรทางการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ นักเรียนได้รับ ความรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมต่างๆ แนะนำบุคคลอื่นๆ ในชุมชนและเป็นแบบอย่างของความพอเพียงได้

 

ข้อจำกัดในการนำไปใช้

การดำเนินการโครงการสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนเกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน  ที่เห็นความสำคัญของปัญหาด้านเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน  ซึ่งมีผลกระทบต่อนักเรียนครอบครัว  และชุมชน ถ้าทุกคนปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำแนวคิดเกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆหรือแหล่งเรียนรู้ที่ทางโรงเรียนได้จัดให้ไปปฏิบัติในบ้านและครอบครัว จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่าย เป็นกิจกรรมที่แต่ละครอบครัวสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ เป็นการสานสามัคคีกันในครอบครัว โดยแต่ละครอบครัว ชุมชนอาจมีข้อจำกัดในด้านสถานที่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในโครงการสถานศึกษาพอเพียงไปใช้กับครอบครัว หรือชุมชุนจึงต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละครอบครัว ชุมชนที่นำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]