สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล
โรงเรียนวัดสุทธาราม
กระบวนการพัฒนา

1.สังเกตและสำรวจความต้องการของนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธารามโดยใช้แบบสอบถามและจัดดำเนินงานและจัดทำโครงการ
2.แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความถนัดและกลุ่มที่มีความสนใจทางด้านนาฏศิลป์-ดนตรี
3.กำหนดกรอบการพัฒนาโดยใช้แผน PDCA
   P (Plan) สำรวจสภาพปัญหาร่วมกับคณะผู้บริหารสถานศึกษา ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
   D (Do) ครูผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนดโดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้เรียนทราบ
   C (Cheek) ประเมินผลการดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข
   A (Action) ผลการประเมินดูสภาพปัญหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุงแก้ไขส่วนที่เป็นจุดแข็งนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องแล้วสรุปผลการดำเนินงาน
      3.1 จัดทำโครงการและผลิตจัดหาสื่อนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่มโดยจัดตารางการฝึกซ้อม วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลา 15.30 น. – 17.30 น. โดย 1.นางสาวศิริดา แย้มกลิ่น 2.นางสาวจุฑาทิพย์ สุขขุม 3.นางสาววิภาดา ม่วงนา คุณครูประจำการโรงเรียนวัดสุทธาราม
เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม
      3.2 ตรวจผลงานนักเรียน นำเสนอผลงาน แนะนำการปฏิบัติกิจกรรมและฝึกซ้อมเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะและจัดให้นักเรียน
ได้แสดงออกในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนและชุมชนในวันสำคัญต่างๆ
      3.3 ส่งนักเรียนเข้าประกวดแข่งขันในด้านนาฏศิลป์และดนตรีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
      3.4 ประเมินผลเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขและสรุปผลและดำเนินการต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

ด้านผู้เรียน
   นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อนาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของทางโรงเรียนและชุมชนตลอดทั้งได้รับเลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการแข่งขันประกวดต่างๆ ด้านสถานศึกษามกิจกรรมต่างๆของทางโรงเรียนและชุมชนตลอดทั้งได้รับเลือกเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการแข่งขันประกวดต่างๆ
ด้านสถานศึกษา
   สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพ มีจิตสาธารณะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ได้รับรางวัลต่างๆ ได้รับความพึงพอใจจากผู้ปกครองและชุมชน
ด้านครูผู้สอน
   
ครูผู้สอนได้รับรางวัลเกียรติบัตร หนึ่งแสนครูดี, ครูดีเด่น, ครูสอนดี ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาตลอดทั้งได้ความรู้และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเพื่อพัฒนานักเรียนและตนเองต่อไป