โรงเรียนคลองบางพรหม ขับเคลื่อนนโยบายโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เริ่มต้นจากการประชุมกรรมการสถานศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ มีการประชุมร่วมกับคณะครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนเพื่อระดมแนวคิดเพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero waste School) โดยมุ่งเน้นในการจัดกิจกรรมลดการใช้ คัดแยกขยะ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ สอดคล้องกับแนวทางการจัดการขยะของโรงเรียนคลองบางพรหม คือ “โรงเรียนสวย สะอาด บรรยากาศดี มีการจัดการขยะที่ต้นทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” วิสัยทัศน์ของโรงเรียนคลองบางพรหม คือ “โรงเรียนคลองบางพรหม เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีมาตรฐานสากล ก้าวทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมคุณธรรม นำชุมชนมีส่วนร่วม” โดยผู้บริหาร ครู และบุคลากรทุกฝ่ายประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยในโรงเรียน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางในการพัฒนา และวางแผนการดำเนินงานโดยยึดหลัก (PDCA) โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการในการดำเนินกิจกรรม จัดทำเส้นทางขยะ และเสนอโครงการและกิจกรรมด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน
โรงเรียนคลองบางพรหมกำหนดเส้นทางการจัดดการขยะโดยแบ่งเป็น
4 เส้นทาง ดังนี้
เส้นทางที่ 1 ขยะอินทรีย์ที่เกิดจากเศษอาหารต่าง
ๆ จากโรงอาหารและร้านค้าสหกรณ์ ใบไม้และกิ่งไม้บริเวณรอบโรงเรียน เศษดินสอจากห้องเรียน
โดยขยะเหล่านี้จะถูกคัดแยกประเภทและนำเข้าศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจร
และกระจายสู่ฐานการเรียนรู้ต่าง
ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การนำไปทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง
ปุ๋ยหมักในถังหมักรักษ์โลก และนำไปเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย
เส้นทางที่
2 ขยะรีไซเคิลที่เกิดจากห้องเรียน ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติก
กระดาษ กล่องนม และกล่องลังที่เกิดจากร้านค้าสหกรณ์ โดยขยะเหล่านี้จะถูกคัดแยกประเภทจากห้องเรียนเพื่อนำเข้ากิจกรรมธนาคารขยะ
Recycle
และขยะบางส่วนนำเข้าศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจรและกระจายสู่ห้องเรียนเพื่อนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในการทำสิ่งประดิษฐ์
เช่น ถังขยะจากกล่องนม กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
เส้นทางที่
3 ขยะทั่วไปที่เกิดจากร้านค้าสหกรณ์ ได้แก่ ถุงขนม
หลอด ไม้ไอศกรีม ถุงพลาสติก โดยขยะเหล่านี้จะถูกคัดแยกประเภทจากห้องเรียนเพื่อรวบรวมไว้ที่จุดทิ้งขยะ
และขยะบางส่วนนำเข้าศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจรและกระจายสู่ห้องเรียนเพื่อนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในการทำสิ่งประดิษฐ์
เช่น กรอบรูปจากไม้ไอศกรีม
โรงเรียนคลองบางพรหมได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยมีเป้าหมายให้บุคลากรและนักเรียนลดการใช้ คัดแยก และนำไปใช้ประโยชน์ เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการกับรายวิชาต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกและขวดพลาสติก กิจกรรมทานหมดลดขยะ กิจกรรมผักปลอดสารพิษ และดำเนินงานกิจกรรมปลูกต้นไม้ถวายพ่อ ทำให้นักเรียนมีความรู้วิธีการปลูกต้นไม้ กระบวนการเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้นักเรียนเกิดความรักและห่วงแหนต้นไม้และตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ในการเชื่อมโยงการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยต้นไม้รอบโรงเรียนช่วยให้เกิดร่มเงาและช่วยกักเก็บคาร์บอนรวมไปถึงฝุ่นต่าง ๆ ในอากาศ โดยการคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ จำนวน 109 ต้น สามารถกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย/เดือน 127.53 kgCO2eq และจากการสำรวจพบว่าปริมาณขยะทั้งหมดก่อนดำเนินการ 75 กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน 0.26 กิโลกรัม/วัน (ข้อมูลขยะมูลฝอย ปี 2565) ปริมาณขยะทั้งหมดหลังดำเนินการ มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 18 กิโลกรัม/วัน เฉลี่ยต่อคน 0.06 กิโลกรัม/วัน (ข้อมูลขยะมูลฝอย ปีปัจจุบัน 2566) และมีนวัตกรรมถังหมักรักษ์โลก เป็นนวัตกรรมที่สร้างปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง จากการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างเพื่อกำจัดขยะประเภทขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษขยะอินทรีย์โดยการหมักให้เกิดเป็นปุ๋ย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้บูรณาการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในเรื่องของกระบวนการหมักและการย่อยสลาย
จากการประเมินผลการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero waste School) จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการ สอดแทรกความรู้เรื่องต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยของนักเรียน เช่น การทำใบงาน การทำแบบทดสอบ ผ่าน google from การตอบแบบประเมินต่าง ๆ ส่งผลให้นักเรียน บุคลากรภายในโรงเรียนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ สามารถจัดการขยะได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้โรงเรียนและห้องเรียนสะอาดขึ้น พฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสามารถทิ้งขยะได้อย่างถูกต้องตามประเภทของถังขยะที่โรงเรียนได้จัดไว้ที่จุดทิ้งขยะ ไปจนสู่การส่งต่อขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ที่ศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจร ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษที่เกิดขึ้นจากขยะต่อสิ่งแวดล้อม รู้วิธีการลดขยะภายในโรงเรียนด้วยหลัก 3 Rs มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนในการนำขยะกลับมารีไซเคิล และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์รวมไปถึงสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนมีระดับความรู้และความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัดขึ้นอยู่ในระดับดีมาก