สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านของนักเรียนให้เต็มศักยภาพ
โรงเรียนสามัคคีบำรุง
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนการทำงาน


กิจกรรมที่ปฏิบัติระยะเวลาผู้รับผิดชอบ

ขั้นเตรียมการ (Pian)

1. แต่งตั้งคณะกรรมดำเนินโครงการ

2. ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจ้งวัตถุประสงค์ กำหนดกิจกรรมและมอบหมายภาระงาน

3. เสนอโครงการ  กิจกรรม  เพื่อขออนุมัติ


22 – 26 พฤษภาคม 2566

29 พฤษภาคม 2566

 2 มิถุนายน 2566

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ขั้นดำเนินการ (Do)

1. ทดสอบการอ่านของนักเรียน (Pre test) โดยใช้แบบทดสอบการอ่านของสำนักการศึกษา

2. จัดกลุ่มนักเรียนตามระดับการอ่าน

3. ดำเนินการแก้ปัญหาการอ่านตามกิจกรรมที่กำหนด

       - กิจกรรมลูกศิษย์ตามติดครู

       - กิจกรรมพี่สอนน้อง


มิถุนายน 2566

 

 กรกฎาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567

คณะกรรมการ

ขั้นการประเมินผล (Check)

1. ทดสอบการอ่านหลังการเข้าร่วมกิจกรรม (Post test)


1 – 8 มีนาคม 2567

คณะกรรมการ

ขั้นกำหนดแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป (Action)

1. วิเคราะห์ปัญหาในการจัดกิจกรรม และ การจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขใน ปีการศึกษาต่อไป

2. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ


15 มีนาคม 2567

นางอำไพ  กล่ำดิษฐ์



ผลจากการปฏิบัติ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

         

ด้านปริมาณ

นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ของโรงเรียนสามัคคีบำรุง           ปีการศึกษา 2566  ที่มีปัญหาการอ่านได้เข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาและได้รับการพัฒนาการอ่านอย่างเต็มตามศักยภาพ ร้อยละ 100

 ด้านคุณภาพ

นักเรียนสามารถพัฒนาการอ่านและการเขียนได้  ร้อยละ 87.75  สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

 จุดเด่น

          นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนได้เหมาะสมกับระดับชั้น

 จุดที่ควรพัฒนา

          ควรนำรูปแบบ เทคนิค หรือวิธีการพัฒนาการอ่านมาใช้ เพื่อพัฒนาการอ่านของนักเรียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

 แนวทางการพัฒนา

1.   จัดทำเครื่องมือในการวัดผลและประเมินการอ่านให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ และเหมาะกับวัยของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น 

2.   ศึกษารูปแบบ เทคนิค และวิธีการต่างๆ เพื่อนำมาใช้พัฒนาการอ่านของนักเรียน

3.   ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลการอ่านของนักเรียน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]