ขั้นเตรียมการ (Plan)
1) ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
2) เสนอกิจกรรมเพื่อขออนุมัติ
นปฏิบัติ (Do)
1) ติดต่อประสานงานกับคุณครูระดับ
ชั้นอนุบาลปีที่ 1- 2 เพื่อขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมสนุกกับหมากล้ม
2) นักเรียนอนุบาล 2 ลงมือฝึกซ้อม
หมากล้อมกับคุณครูประจำชั้น
3) แจ้งกำหนดการให้คุณครู
ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนขอความร่วมมือจากนักเรียนมัธยมที่มีความสามารถด้านการเล่นหมากล้อม
เข้าร่วมคัดเลือกในวันเวลาที่กำหนด
4) การจัดแข่งขันหมากล้อมนักเรียน
อนุบาล 2 ณ ห้องอนุบาล 2/3 โดยมีตัวแทนคุณครูอนุบาล 1-2 และนักเรียนมัธยม เป็นกรรมการตัดสิน เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักเรียนไปแข่งขันรายการต่างๆ
5) จัดหารางวัลในการแข่งขัน
กิจกรรมสนุกกับหมากล้อมที่ได้รับการคัดเลือกระดับชั้นอนุบาล 2
6) คัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมตาม
ประเภทต่างๆ ร่วมแข่งขันโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
ขั้นนิเทศติดตามผล (Check)
1) นิเทศติดตามการดำเนินการและคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นประเมินผลและรายงานผล (Action)
1) ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
2) สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
3) รายงานผลการดำเนินกิจกรรม เพื่อ นำผลไปพัฒนาการจัดกิจกรรมในปีต่อไป
จากการสังเกตพฤติกรรมเด็กโดยใช้แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาการเล่นหมากล้อมของนักเรียนอนุบาล 2 พบว่านักเรียนส่วนมากมีความสนใจในการเล่นหมากล้อม
สามารถคิดก่อนลงมือทำและมีการคาดการณ์ก่อนลงมือปฏิบัติได้
ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆได้ โดยใช้หลักการเหตุผล ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ขณะเล่นด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
นักเรียนเกิดกระบวนการแก้ปัญหาตลอดเวลาขณะเล่นด้วยวิธีที่ดีที่สุดจากหลายๆทางเลือกในระยะเวลาที่กำหนด โดยนักเรียนให้ความร่วมมือในการฝึกซ้อมเป็นอย่างดี
และรับฟังการแนะนำ ตลอดจนตั้งใจฝึกฝนการเล่นหมากล้อมอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
แต่นักเรียนบางส่วนยังไม่สามารถวางแผนการเล่นด้วยวิธีการที่หลากหลายได้ จึงต้องใช้เวลาทบทวนกับครูผู้สอนให้มากขึ้น
จากการประเมิน นักเรียนได้ผ่านการทดสอบพัฒนาฝีมือ
จนสามารถเล่นหมากล้อมได้ถูกต้องตามกฎกติกา ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ร้อยละ 70
อยู่ในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 72.37