โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส ได้นำวงจรหรือแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินการ ซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผน P (Plan) การลงมือปฏิบัติ D (Do) การตรวจสอบ C (Check) และพัฒนาปรับปรุงแก้ไข A (Action) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่
1 การวางแผน (P)
1. ประชุมวางแผนร่วมกันในการจัดทำโครงการและสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูนักเรียน
เกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียน
2. กำหนดโครงการ/กิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้ตอบสนองกับจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 2 การลงมือปฏิบัติ D
(Do)
3. ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้มีดังนี้
3.1 โครงการเด็กดีมีเงินออม
3.2 กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ C (Check)
4. ตรวจสอบหลังการดำเนินการกิจกรรมโครงการต่างๆในโรงเรียนสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้หรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาปรับปรุงแก้ไข A
(Action)
5. นำผลที่ได้จากการดำเนินการและจากการตรวจสอบมาวิเคราะห์และร่วมกันหาข้อบกพร่องและจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
รายละเอียดการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
1.
โรงเรียนรักการอ่าน มีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
1.1 ประชุมคณะกรรมการชี้แจงและวางแผนการดำเนินงาน
1.2 แต่งตั้งคณะทำงานตามโครงการ/กิจกรรม
1.3 กำหนดกิจกรรม
ดังนี้
- กิจกรรมทดสอบการอ่านประจำเดือน ทุกระดับชั้นจะมีการทดสอบการอ่าน
รายเดือน
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการอ่านของนักเรียนทุกคน
- กิจกรรมห้องสมุดสายชั้น
ทุกชั้นเรียนจะมีมุมอ่านหนังสือในห้องเรียน
- กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
มีการนำเสนอภาษาไทยวันละคำหน้าเสาธง ทุกวันจันทร์ พุธ
ศุกร์ นำเสนอภาษาอังกฤษ วันอังคารและวันพฤหัสบดี
- กิจกรรม 10 นาที การอ่านยามเช้า ก่อนกิจกรรมเคารพธงชาติเวลา
07:45–07:55 นาที จะมีสัญญาณการอ่านพร้อมกัน
- กิจกรรมอ่านให้น้องฟังนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก
อ่านไม่คล่อง จะพี่สภานักเรียนเข้าไปช่วยสอนน้องอ่าน อ่านหนังสือให้น้องฟัง
-
กิจกรรม เรื่องเล่าจากบันทึกประจำวัน
- กิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทย
ทั้งและนอกโรงเรียน
1.4 มีการประมวลผลการอ่าน
ทุกระดับชั้นเรียน
1.5 ครูทุกคนร่วมกิจกรรมการอ่านกับนักเรียน
2. โครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก
เขียนไม่ได้ มีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
2.1 คัดกรองการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น
หานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้
2.2 วิเคราะห์
ความสามารถของการอ่านของนักเรียนที่มีปัญหา
2.3
แบ่งกลุ่มการอ่านของนักเรียนที่ต้องพัฒนา ฝึกการอ่านตามขั้นตอนดังนี้
2.4
ขั้นที่ 1
ฝึกอ่านทุกวันในช่วงพักกลางวันเพื่อความต่อเนื่อง โดยใช้หนังสือเรียน นิทาน คำ
อักษรไทย
ขั้นที่ 2 ฝึกการอ่านควบคู่กับการเขียน
โดยใช้อักษรไทย คำ ประโยค นิทาน
ขั้นที่ 3 การฝึกคัดลายมือ
นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่าง ๆ ได้มากขึ้นด้วย
ขั้นที่ 4 การวาดรูป ประกอบคำ
ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนุกไปกับงาน
โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการผสมคำมากขึ้น
ขั้นที่ 5
การนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร + ทำอะไร , ใคร+ทำอะไร+กับใคร
ขั้นที่ 6 การเขียนคำตามภาพวาดโดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของนักเรียนเอง
2.5 การประมวลผลการอ่าน
มีการกระตุ้นให้แรงเสริมสำหรับนักเรียนที่ต้องมีการพัฒนา
2.6 ครูประจำชั้น ครูประจำวิชาทุกคนร่วมกิจกรรมการอ่านกับนักเรียน
3. กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ
และสัปดาห์ห้องสมุด มีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
3.1 ประชุมคณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อขอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม
3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อมอบหมายงาน
3.3 กำหนดประเภทของการประกวดแข่งขัน/แข่งขัน
(ระดับโรงเรียน)
- การประกวดวาดภาพระบายสี ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- การประกวดคัดลายมืองามตามแบบไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ -6
- ประกวดการเขียนเรียงความระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4–
๖
- ประกวดแต่งบทประพันธ์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4– ๖
- ประกวด นักเรียนที่มีนิสัยรักการอ่านยอดเยี่ยม
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– ๖
- กิจกรรมแรลลี่วันภาษาไทยแห่งชาติและสัปดาห์ห้องสมุด
3.4 ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ
4. กิจกรรมรำลึกวันสุนทรภู่ มีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
4.1 ประชุมคณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อขอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม
4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อมอบหมายงาน
- การประกวดวาดภาพระบายสี จากวรรณกรรมสุนทรภู่
ระดับชั้นอนุบาล 1 - 6
- การประกวดคัดลายมือจากบทประพันธ์ของสุนทรภู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6
- การประกวดอ่านออกเสียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่
6
- การประกวดอ่านทำนองเสนาะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4 - 6
-
การประกวดแต่งคำประพันธ์
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –6
- การประกวดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
3 – 6
4.4
ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ
1. โรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนในทุกระดับชั้น ร้อยละ 100 ทักษะการอ่านที่เพิ่มขึ้นให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านและเกิดทักษะในการอ่าน นักเรียนที่อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่องได้อ่านหนังสือออกและอ่านคล่องขึ้นมีนิสัยรักการอ่านอย่างกว้างขวาง นักเรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการอ่านเกิดความสร้างสรรค์ช่วยให้พัฒนาตนเอง
2. โครงการแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ร้อยละ 100 นักเรียนมีทักษะการอ่านที่เพิ่มขึ้นให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านและเกิดทักษะในการอ่าน นักเรียนที่อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่องได้อ่านหนังสือออกและอ่านคล่องขึ้นมีนิสัยรักการอ่านอย่างกว้างขวาง นักเรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการอ่านเกิดความสร้างสรรค์ช่วยให้พัฒนาตนเอง
3. กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ และสัปดาห์ห้องสมุด เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ ตระหนักเห็นคุณค่าของภาษาไทย ส่งเสริมนักเรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและเพื่อสนองนโยบายของกรุงเทพมหานคร ได้จัดให้มีการประกวดแข่งขันความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยของนักเรียนเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ และสัปดาห์ห้องสมุด
4. กิจกรรมวันรำลึกสุนทรภู่ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงสุนทรภู่กวีเอกของไทยและเป็นที่ยอมรับของโลก เพื่อเป็นการปลูกฝังและสืบทอดให้นักเรียนมีความรู้ และเข้าใจเห็นคุณค่าของภาษาไทย จึงได้จัดกิจกรรมวันรำลึกสุนทรภู่ขึ้น