ขั้นตอนการดำเนินการ
PLC
Model
ระยะที่
1 การเตรียมความพร้อมของชุมชนแห่งการเรียนรู้
(Preparation: P)
1.
สร้างความร่วมมือของผู้บริหารครูทั้งโรงเรียน
โดยมีการทำกิจกรรมเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การฝึกฟัง ฝึกคิดใคร่ครวญ และสนทนา
เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และเกิดความไว้วางใจ (Trust) สร้างทีมและพัฒนากลุ่ม ตลอดจนกำหนดจำนวนสมาชิก
2.
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมทบทวนและเติมเต็มความรู้
เนื้อหาวิชา (Content
Knowledge) และทักษะการเรียนการสอน ออกแบบการเรียนการสอน (Instruction
Design) โดยมีศึกษานิเทศก์ร่วมพิจารณาให้ความรู้ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกโรงเรียน
ระยะที่ 2 การเรียนรู้ผ่านโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
(Learning
in school and learning community: L)
1.
ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปใช้ปฏิบัติงานกิจกรรมต่างๆ
ตามแผนงาน (PLC)
และพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (LS)
2.
ร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการแก้ปัญหา
หรือพัฒนาผู้เรียน และทำกำหนดการเรียนรู้ร่วมกัน
3.
ร่วมกันปฏิบัติตามกำหนดการ โดยร่วมมือรวมพลัง
ดังต่อไปนี้
แบบเรียนรู้ร่วมกันและนำไปใช้ปฏิบัติ
1.
สมาชิกทุกส่วนประสบการณ์เดิมศึกษาข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องมาก่อน
2.
มาพบกันตามกำหนดการที่วางแผนไว้
3.
นำประสบการณ์การนำไปใช้แนวปฏิบัติที่ดีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4.
สะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งร่วมกัน
5.
เขียนบันทึกสะท้อนผลเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
แบบเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาบทเรียนร่วมกัน
1.
หนึ่งสมาชิกศึกษาข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องมาก่อน
2.
มาพบกันตามกำหนดการที่วางแผนไว้
3.
ดำเนินการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามวงจร คือ
3.1
การวางแผน
3.2
การจัดการเรียนรู้และสังเกตชั้นเรียน
3.3
การสะท้อนคิด
4. สมาชิกร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละวงรอบร่วมกัน
5. เขียนบันทึกสะท้อนผลเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงปฎิบัติการในชั้นเรียนร่วมกัน
(Classroom
Action Research: C) นำเทคนิคที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอน การสังเกต
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผสมผสานเทคนิควิธีเป็นการสอนแบบใหม่ๆ นำสู่การแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน
โดยนำไปวิจัยเชิงปฎิบัติการ
การนำแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
Learning Community: PLC) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ส่งผล ดังนี้
1.
ด้านนักเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นในภาพรวม
มีทักษะการเรียนรู้และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
รักการเรียนรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและโรงเรียน ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินในระดับชาติ
ดังนี้
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1-6 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด (ร้อยละ 60)
-
ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ประจำปีการศึกษา 2565-2566
สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา
-
ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
NT
ประจำปีการศึกษา 2566 เฉลี่ยรวมความสามารถทั้ง
3 ด้าน มีระดับคุณภาพ ดี
-
ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน ประจำปีการศึกษา
2566 มีค่าเฉลี่ยรวม 2 ด้าน ร้อยละ 87.48
มีระดับคุณภาพดี
-
นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามหลักสูตร
มีค่านิยมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองชุมชน
2.
ด้านครู
ได้พัฒนาการทำงานบนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร
ตระหนักในเป้าหมายการพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน
สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างลุ่มลึกและทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
เกิดองค์ความรู้พัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรม ส่งผลต่อการปรับปรุงพัฒนาวิชาชีพของตนสู่ครูมืออาชีพ
มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
3.
ด้านผู้บริหาร พัฒนาความสามารถด้านบริหารวิชาการ
บริหารงานนิเทศ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำทางวิชาการ
4.
ด้านโรงเรียน เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้
โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน บนพื้นฐานวัฒนธรรมองค์กรกัลยาณมิตร ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ และบรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และเป็นองค์กรแห่งความสุข