สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา(นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice

๑. ศึกษาแนวทางในการปฏิบัติ ความสำคัญ และการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนและบุคลากรทุกคน

๒. ประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ นักเรียน คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓. สืบค้นข้อมูลและประสานงานกับพระวิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน โรงเรียนวิถีพุทธ

๔. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ได้แก่  กิจกรรมการสวดมนต์ไว้พระตอนเช้า  สวดมนต์ยาวทุกวันศุกร์ กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น

๕. ดำเนินการประเมินตนเองในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

๖. ปรับปรุงและพัฒนาวิธีการดำเนินงานจากผลการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

รายละเอียดของ Best Practice

เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ ของโรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา(นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)

ประสบผลสำเร็จนั้น มีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้

๑. ผู้บริหารและคณะครูศึกษาแนวทางการปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลประสานงานกับพระวิทยากร เพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และชุมชน

๒. ผู้บริหารและคณะครูประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม

๓. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่

- โรงเรียนทำกิจกรรมหน้าเสาธงได้แก่  กิจกรรมการระลึกถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การเชิญธงชาติ กิจกรรมน้องไหว้พี่

- กิจกรรมการนั่งสมาธิก่อนเข้าเรียนในช่วงบ่าย

- กรรมการสวดมนต์ และร้องเพลงค่านิยมหลัก  12  ประการ  ก่อนนักเรียนกลับบ้าน

- กิจกรรมนักเรียนสวดมนต์ยาว ทำนองสรภัญญะ แผ่เมตตา สมาทานศีล สงบนิ่ง ในวันศุกร์  และมีตัวแทนนักเรียนไปร่วมทำบุญที่วัดชัยพฤกษมาลา ในวันศุกร์ที่ตรงกับวันพระ

- กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ  เช่น กิจกรรมวันวิสาขบูชา กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและกิจกกรมเวียนเทียนถวายเทียนวันเข้าพรรษา   และกิจกรรมวันมาฆบูชา 

- กิจกรมการเข้าค่ายคุณธรรม

 - กิจกกรมการสวดโอ้เอ้วิหารราย

- กิจกรรมการบวชสามเณรตอนปิดภาคเรียน


ผลจากการปฏิบัติ

องค์ความรู้/ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการนา Best Practice ไปใช้

จากการประเมินการดาเนินกิจกรรม ตามแนวทางวิถีพุทธ ก่อให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์ ตามกลุ่มเป้าหมายในการดาเนินงาน ดังนี้

๑. ผู้บริหาร

มีการส่งเสริมการจัดโครงการทางพระพุทธศาสนา

๒. ครู

ได้รับการพัฒนาและฝึกจิต สามารถนาไปอบรม สั่งสอนนักเรียนในชั้นได้

๓. นักเรียน

ได้ฝึกฝนสมาธิช่วยให้จิตสงบ ส่งผลให้จิตใจผู้ทาสมาธิผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์สงบ จึงช่วยให้หลับสบายคลายกังวล ช่วยพัฒนาให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น กระปรี้กระเปร่า สง่าผ่าเผย  มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น รู้สึกควบคุมอารมณ์จิตใจได้ดีขึ้น เหมาะสมกับกาลเทศะ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเล่าเรียน เกิดความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

๔. ผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองเกิดความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน มีการสนับสนุนการเรียนและกิจกรรมต่าง ๆของนักเรียน มีการประสานงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเห็นคุณค่าของวัสดุที่มีในท้องถิ่น และการนำมาใช้อย่างคุ้มค่า

 

กระบวนการกลั่นกรอง ตรวจสอบ Best Practice เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ

กระบวนการในการตรวจสอบ Best Practice ของโรงเรียนวัดชัยพฤษมาลา เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ  ใช้หลักการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle)   P-D-C-A  ดังนี้

1. PLAN  (P)  เป็น วางแผนขั้นตอนการทำงานทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการทางพระพุทธศาสนา  มาจัดเรียงลำดับความสำคัญ  กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม   และเป้าหมายของโครงการ  มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการจัดทำเป็นเอกสาร  กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ  มีผู้รับผิดชอบ

ผู้ตรวจสอบโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  กรรมการสถานศึกษาและชุมชน

2. D0 (D)  เป็นการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้  ขั้นตอนวิธีการต่างๆ ที่เตรียมไว้ใน  PLAN  นำมาปฏิบัติ โดยศึกษาถุงวิธีการที่ดีที่สุดเอาใช้ให้เกิดประโยชน์  และได้ผลดีที่สุด มีการประชุมชี้แจง  แนะนำ  อบรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ  ได้ตามแผนที่วางไว้ และต้องมีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญในระหว่างปฏิบัติงาน  เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานในครั้งต่อๆ ไป  เพื่อนำไปแก้ไข  ปรับปรุง ข้อบกพร่องในการทำงานในครั้งต่อไป

3. Check (C) ตรวจสอบการทำงานที่ได้ทำไปแล้วจากขั้นตอน D0 ว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่  หรือตามมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  หรือไม่อย่างไร  โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบ  ได้แก่  ตรวจสอบระยะเวลาตามเป้าหมาย  คุณภาพของงานที่ดำเนินการ  วิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ  ที่ดำเนินการ  แล้วนำมาประมวลผล  สรุปเป็นข้อมูลรายงาน  เพื่อจะนำมาใช้ในการปรับปรุง  และแก้ไขในการดำเนินงานครั้งต่อไป

4. Acti0n (A)  หากมีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบในขั้นตอน  Check จะได้รีบหาวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก  และดำเนินการพัฒนา  ปรับปรุง  ในระบบการดำเนินงานนั้นๆ   ถึงแม้ว่าการตรวจสอบจะไม่พบข้อบกพร่อง  แต่ก็ต้องมีการพัฒนางานและปรับปรุงงานอยู่เสมอ  เพื่อให้การดำเนินงานนั้นดีขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

 

 

กล่องข้อความ: วงววงวงว


วงจรเดมมิ่ง  (Deming Cycle)

 

 

มีการขยายผล Best Practice ให้กับหน่วยงานอื่น

๑. การให้นักเรียนได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ตนเองฝึกปฏิบัติให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน

๒. การนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกสมาธิ เจริญปัญญาในวันสำคัญทางศาสนาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]