สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนวัดลาดพร้าว
โรงเรียนวัดลาดพร้าว
กระบวนการพัฒนา

โครงการ TO BE NUMBER ONE  เป็นโครงการที่สร้างโอกาสให้กับทุกคน ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านที่ตนเองถนัด ให้ทุกคนสามารถเป็นหนึ่งได้ตามแบบฉบับของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด โรงเรียนวัดลาดพร้าวจึงได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนดังนี้

ดำเนินการตามพันธกิจของโรงเรียน

ข้อที่ 1 สร้างเสริมนักเรียนให้มีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ตามแนววิถีพุทธ มีสุขภาพดี ปลอดยาเสพติด พร้อมรองรับไทยแลนด์ 4.0 และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ข้อที่ 5 พัฒนาการศึกษาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและระดมทรัพยากรพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม

สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน

ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กเก่ง ดี มีความสุข

ข้อที่ 3 นักเรียนมีสุนทรียภาพ ใช้สุนทรียภาพ สร้างทักษะชีวิตให้ปลอดภัย 

ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดลาดพร้าว

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้เป็นเด็ก เก่ง ดีและมีความสุข

     1.1 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข

1.4 พัฒนาสุขภาพกายและ สุขภาพจิต

1.5 พัฒนาทักษะชีวิตแก่ผู้เรียน

  วัตถุประสงค์ของการดำเนินการป้องกันยาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนวัดลาดพร้าว

1.      สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและการป้องกันยาเสพติดแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียนและบริเวณใกล้เคียง

2.      เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด

3.      เพื่อดำเนินการคัดกรองนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มบริสุทธิ์  กลุ่มเสี่ยง  กลุ่มเสพ และกลุ่มติด

  4.  เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่าง  และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  โดยการจัดกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียน 

          5. เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันยาเสพติดและทักษะชีวิตให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

6. เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตลอดจนขยายเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE ไปยังสถานศึกษาอื่น


กิจกรรมที่ดำเนินการ

๑.กิจกรรมรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่

1. กิจกรรมอบรมนักเรียนแกนนำต้านภัยยาเสพติดชมรม TO BE NUMBER ONE

2. โครงการโรงเรียนปลอดยาเสพติด

3. โครงการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (กีฬา ศิลปะ ดนตรี)

4. โครงการรณรงค์

-วันต่อต้านยาเสพติด

-วันงดสูบบุหรี่โลก

-วันเอดส์โลก

5.โครงการเสริมสร้างทักษะชีวิต(ค่ายนี้มีรัก)

๖. กิจกรรมเสียงตามสาย

๗. กิจกรรมลูกเสือกองร้อยพิเศษต้านภัยยาเสพติด

๒. กิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน  ได้แก่

1. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม

-กิจกรรมศาสนธรรมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด 

-วันสำคัญทางศาสนา

-กิจกรรมจิตอาสา

2.โครงการ “ใครติดยายกมือขึ้น”

- กิจกรรมตรวจสารเสพติด

- กิจกรรมเยี่ยมบ้าน

- กิจกรรมส่งต่อ

- การให้คำปรึกษา

3.โครงการปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE

- กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา

- กิจกรรมสร้างสุข

- กิจกรรมพัฒนา EQ

๓. กิจกรรมสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  ได้แก่

1.กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง

2.กิจกรรมขยายโรงเรียนเครือข่าย “พี่ช่วยน้องป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์”

3.กิจกรรมขยายเครือข่ายในชุมชน

ารติดตามและประเมินผลการดำเนินการ 

๑. สังเกตความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๒.สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมต่อผู้บริหาร


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

 จากการประเมินผลการจัดกิจกรรม พบว่ามีการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมทุกกิจกรรมตามแผนที่กำหนด  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 ขึ้นไปทุกกิจกรรม  และมีผลสำเร็จร้อยละ ๙๐ % ขึ้นไปทุกกิจกรรม

ผลที่เกิดจากการดำเนินการ

1. ต่อนักเรียนแกนนำ

๑.๑ มีความรู้ ความเข้าใจปัญหายาเสพติด  อนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์และเพศศึกษา 

1.2 มีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด

๑.3 มีความมั่นใจในตนเอง มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการทำงานและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น

1.4 มีความคิดสร้างสรรค์และจิตสำนึกในการเสียสละต่อส่วนรวม

๑.5 มีทักษะชีวิต มีความสามารถในการแก้ปัญหา และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

2. ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

2.1 มีความรู้ ความเข้าใจปัญหายาเสพติด  อนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์และเพศศึกษา  การแพร่ระบาด

ของยาเสพติดและทักษะในการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์

          2.2 มีทักษะชีวิต  เห็นความสำคัญของการห่างไกลยาเสพติด  การดูแลสุขอนามัยทางเพศอย่างถูกวิธี และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๒.๓ สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างคุณค่าของกิจกรรมผ่านกระบวนการ PDCA   และมีความเสียสละ มุ่งมั่น อดทน และมีจิตอาสาต่อสังคม

3. ต่อโรงเรียน

๓.๑ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

๓.๒ ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการท้องไม่พร้อมในโรงเรียน

๓.๓ ลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนจากปัญหายาเสพติด และการท้องไม่พร้อม

๓.๔ โรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น

4. ต่อชุมชนและสังคม

 ๔.๑ เพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันยาเสพติดและทักษะชีวิตให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

 ๔.๒ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด การส่งเสริม

อนามัยเจริญพันธุ์ เอดส์ และเพศศึกษา สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลดภาระในการแก้ปัญหา ดูแลหรือช่วยเหลือของผู้ปกครอง และชุมชน

๔.๓ ชุมชนเป็นสุข เนื่องจากสมาชิกชมรมส่วนใหญ่พักอยู่ในชุมชน ทำให้สมาชิกไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่สร้างปัญหา และไม่สร้างภาระให้กับชุมชนและสังคม อาทิ เช่น การทะเลาะวิวาท
รางวัลที่ได้รับ

๑.รางวัลโรงเรียนต้นแบบปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พื้นที่กรุงเทพมหานคร จากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ประจำปี 2565

๒.รางวัลการรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเงินปีที่ ระดับประเทศ ในการประกวดผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2566

        ๓.รางวัลองค์กรดีเด่นด้านการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประจำปี 2566  จากกรุงเทพมหานคร