สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนวัดบางปะกอก
กระบวนการพัฒนา

 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับเด็กปฐมวัย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณสูตรของทาโร ยามาเน่ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน

            รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ โดยเรียงตามความผันแปร ได้แก่

                   ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะ  การบริหารจัดการชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ

                   ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยให้มีทักษะการบริหารจัดการชีวิตเหมาะสมกับวัย

                   ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย โดยการมีส่วนร่วม และเครือข่ายที่เข้มแข็ง

                   ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต

                   ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาหลักสูตรบูรณาการทักษะการบริหารจัดการชีวิต

               แผนการปฏิบัติการทดลองใช้รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย มีดังนี้

1)     การเตรียมความพร้อมในการใช้รูปแบบยุทธศาสตร์

                       ผู้บริหารสถานศึกษา ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจกับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้ง 4 ฝ่าย เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และกำหนดค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนงาน โครงการ กิจกรรม ในการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ แล้วจึงประชุมบุคลากรทั้งโรงเรียนในการร่วมกันทำความเข้าใจยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่กำหนด เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และการดำเนินการตามแผนงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกำหนดกรอบแนวทาง และวิธีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การวัดประเมินผลการเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

                      

2)     การจัดเตรียมสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวก

                       ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานอำนวยการและประสานงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย

 

3)     การประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์

                       การดำเนินการประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยกระบวนการนิเทศ กำกับติดตาม และพิจารณาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาเป็นประจำทุกเดือน  ประเมินผลความพึงพอใจของครูระดับปฐมวัยและพี่เลี้ยงเด็กที่มีต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย

                       การทดลองใช้รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย

จากนั้นนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดระยะเวลาในการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา

 


ผลจากการปฏิบัติ

พบว่า ยุทธศาสตร์ที่ค้นพบจากการวิจัยนั้นเป็นยุทธศาสตร์ที่มีกระบวนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ การจัดสภาพแวดล้อม และบริบทให้เหมาะสมในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นการวิจัยเพื่อการสืบค้นรูปแบบ วิธีการ กระบวนการหรือแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในรายยุทธศาสตร์ เพื่อหารูปแบบวิธีการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์โดยตรง รวมถึงการศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้การใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือสังกัดอื่น มีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพ และเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับคือได้องค์ความรู้  การพัฒนาเด็กปฐมวัยและปัจจัยการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร  ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เหมาะสม และเอื้อต่อการนำไปบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิผลสูงสุด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย

โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์ ประกอบไปด้วย 1) พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์ที่ใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ จัดระบบ การบริหารจัดการงานบุคลากรในการพัฒนาสมรรถนะ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ด้านความรู้ ความสามารถ รวมทั้งพฤติกรรม คุณลักษณะ ทัศนคติของบุคลากร วัฒนธรรมของหน่วยงาน และปัจจัยสนับสนุนที่จำเป็นต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานทั้งด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ในการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิต โดยนำกระบวนการนิเทศและการบวนการ PLC (Professional Learning Community) มาใช้ในการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาบุคลากร 2) พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิต พิจารณากลั่นกรองการกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนา เด็กปฐมที่วัยเหมาะสม โดยพิจารณาผลการวิเคราะห์คุณภาพเด็ก บริบทขององค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องและเข้ากันได้ดีกับปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก บริบทขององค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาตรฐาน 3) สร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่ายที่เข้มแข็งในการพัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย ดำเนินการสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมโดยการสร้างความเชื่อมโยงของกลุ่มคน หรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ต่อเนื่องเป็นระบบภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรม 4) ออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากร และนวัตกรรมให้ส่งเสริมต่อการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต ดำเนินการศึกษาบริบท และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมและกระบวนการหล่อหลอมพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อม และการเลือกใช้ทรัพยากร รวมถึงนวัตกรรมที่มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ทั้งด้านเด็กปฐมวัย บุคลากร ผู้ปกครอง และสภาพแวดล้อม 5) พัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิตบูรณาการกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ดำเนินการประเมินหลักสูตรและผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่โรงเรียนออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและผลการประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย พัฒนาเป็นหลักสูตรมาตรฐานและแผนการจัดประสบการณ์มาตรฐานของโรงเรียน และ 6) พัฒนารูปแบบการประเมินพัฒนาการทักษะการบริหารจัดการชีวิตบูรณาการ 6 กิจกรรม ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะทางพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารจัดการชีวิต และมาตรฐานเด็กปฐมวัยเพื่อจัดทำเครื่องมือการประเมินที่มีมาตรฐานและสามารถสะท้อนพฤติกรรมที่แสดงถึงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต รวมถึง วิธีการประเมินและกรอบระยะเวลาการประเมิน

โรงเรียนวัดบางปะกอก เป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ที่นำทักษะการบริหารจัดการชีวิต(Executive Functions)มาใช้โดยความร่วมมือของสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) กรุงเทพมหานครบริษัท ดาว ประเทศไทยและหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครในการพัฒนาเด็กจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เกิดการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) “รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร  เป็นแบบอย่างและเป็นต้นแบบ มีผลการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับนวัตกรรมของโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยจิตศึกษา การพัฒนาทักษะทางสมอง และกระบวนการคิด เกิดแนวคิดใหม่ของโรงเรียน(School Concept) คือ ECS: Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยรูปแบบ ECSTATIC Model (โรงเรียนสุขสันต์;very happy and excited) : Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking, Talented, Activity Base Learning, Innovation และ School as Learning Community  

กรอบแนวคิดของโรงเรียน(ECSTATIC Model )

 

กรอบแนวคิดใหม่ของโรงเรียน (School Concept) คือ ECSTATIC Model

E : Executive Functions : การพัฒนาสมองส่วนหน้า(ทักษะการบริหารจัดการชีวิต)

C : Critical Thinking : การคิดเชิงวิพากย์(วิจารณญาณ)

S : Systematic Thinking : การคิดเชิงระบบ

T : Talented : มีความสามารถ

A : Activity Base Learning : การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน

I : Innovation : นวัตกรรม

C : School as Learning Community : โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้

กำหนดผลลัพธ์พึงประสงค์ด้านผู้เรียนโดยกระบวนการSWOT Analysis และ TOWS Matrix: ระดับสถานศึกษา“Executive Functions (EF) Critical Thinking และ Systematic Thinking” ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน 1) นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และอัตลักษณ์ผู้เรียนแห่งมหานคร ตามที่โรงเรียนกำหนด 2) นักเรียนมีคุณลักษณะและความสามารถตามมาตรฐานทุนมนุษย์ สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่21 และ SDGs 3) ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน(Activity Base Learning) และ4) ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) โครงงาน(PjBL) และSTEM Education ที่มุ่งสู่คุณลักษณะของนวัตกรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางวิทยาการสังคมและสิ่งแวดล้อม

          โรงเรียนวัดบางปะกอกจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสมรรถนะในรูปแบบ ECSTATIC Model (โรงเรียนสุขสันต์;very happy and excited): Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking, Talented, Activity Base Learning, Innovation และ School as Learning Community กำหนดชุดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามสมรรถนะ(LO)คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานออกแบบกรอบหลักสูตรที่ยืดหยุ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่แตกต่างกัน ออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบทของสถานศึกษาโดยยึดสมรรถนะกลางและกรอบแนวคิดเป็นเกณฑ์ ส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในรูปแบบ ECS: Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยรูปแบบ ECSTATIC Model (โรงเรียนสุขสันต์;very happy and excited): Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking, Talented, Activity Base Learning, Innovation และ School as Learning Community เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามบริบทของสถานศึกษา ชุมชน ศักยภาพและความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน โรงเรียนวัดบางปะกอกส่งเสริมและจัดพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามากขึ้น โดยการบริหารจัดการในรูปแบบ โรงเรียนเป็นฐาน (SBM : School Base Managment) ดำเนินการออกแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยยึดหลักการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทักษะการบริหารการจัดการชีวิตและทักษะกระบวนการคิดเป็นนวัตกรที่สามารถปรับตัวและดำรงตนอยู่ในสังคมมหานครได้อย่างสมดุลและมีความสุข มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นพลเมืองไทย พลโลก และยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นทุนมนุษย์ที่ทรงคุณค่าของชาติ   การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนวัดบางปะกอกถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งสู่ความเป็นนวัตกรและมีสมรรถนะตามหลักสูตร โดยดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลบริบทของสถานศึกษาและข้อมูลสารสนเทศเพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพการเรียนรู้ตามจุดประสงค์สมรรถนะที่สถานศึกษากำหนดซึ่งโรงเรียนวัดบางปะกอกได้กำหนดวัตถุประสงค์รูปแบบ แนวทาง วิธีการและเครื่องมือ โดยมีจุดเน้นในการวัดและประเมินผล(Self-Asessment และ Peer-Assessment) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และมีการวัดและประเมินผลแบบย่อย (Formative Assessment) อย่างต่อเนื่องเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อติดตามความก้าวหน้ารวมถึงวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียนเพื่อสะท้อนข้อมูลย้อนกลับและเป็นการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนการวัดประเมินผลโดยการใช้แบบทดสอบ(Summative Assessment) เพื่อวัดและประเมินผลในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดแบบอิงเกณฑ์ (Criterion Referenced) และวัดความสำเร็จด้านองค์ความรู้และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพตามความสามารถโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่นดำเนินการวัดประเมินผลแบบอิงกลุ่ม(Norm - referenced) เพื่อส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาสมรรถนะ(Crucial Outcomes) ของผู้เรียนที่กำหนดตามสมรรถนะหลักสมรรถนะเฉพาะและตัวชี้วัด ในการประเมินผลประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นของสถานศึกษา และมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

ระบบการนำองค์กร

โรงเรียนวัดบางปะกอกเป็นสถานศึกษานำร่องในสังกัดกรุงเทพมหานครและเป็นพื้นที่นวัตกรรมในพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยใช้แนวคิดหลักการของหลักสูตรฐานสมรรถนะ ใช้ข้อมูลบริบทต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่น และใช้ข้อมูล (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... และ (ร่าง) คู่มือการใช้กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช.... ระดับประถมศึกษา หลังจากนั้นทางสถานศึกษาได้เสนอหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะให้คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาผ่านคณะทำงานกลั่นกรองหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ที่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรครูและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมเครือข่ายผู้ปกครองคณะกรรมมาธิการวิสามัญการศึกษาและนักวิชาการด้านการศึกษา ในการเข้าร่วมประชุมและประชุมปฏิบัติการ Work shop ร่วมกัน ร่วมกับสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครในการเรียนรู้ร่วมกันและอบรมปฏิบัติการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษา

ระบบพัฒนาครูด้วยPLC (Professional Learning Community) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และ PLN (Personal Learning Network) เครือข่ายการเรียนรู้สู่บุคคล

 

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนวัดบางปะกอก ดำเนินการพัฒนานักเรียนเป็นบุคคลเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ เป็นแบบอย่างและเป็นต้นแบบ มีผลการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงกับนวัตกรรมของโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยจิตศึกษา การพัฒนาทักษะทางสมองและกระบวนการคิด เกิดแนวคิดใหม่ของโรงเรียน (School Concept) คือ ECS: Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมฟการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยรูปแบบ ECSTATIC Model (โรงเรียนสุขสันต์;very happy and excited): Executive Functions ,Critical Thinking, Systematic Thinking, Talented, Activity Base Learning, Innovation และ School as Learning Community ดำเนินการด้วยการส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนมีการป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนก็เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา โดยจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีกระบวนการคัดกรอง การศึกษารายกรณี การดูแลช่วยเหลือและการส่งต่อที่เป็นความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรครูหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมเครือข่ายผู้ปกครองคณะกรรมมาธิการวิสามัญการศึกษาและนักวิชาการด้านการศึกษา ในการเข้าร่วมประชุมและประชุมปฏิบัติการ Work shop ร่วมกัน ร่วมกับสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก และเมตตาที่มีต่อศิษย์ และภูมิใจในบทบาทที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา

เครือข่ายทำงานกับผู้ปกครอง

โรงเรียนวัดบางปะกอกได้กำหนดบทบาทเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อสร้างความร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือระหว่างผู้ปกครองกับสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ในการพัฒนาและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และแนวคิดระหว่างผู้ปกครอง ครูและผู้เรียนจัดทำโครงการโรงเรียนพ่อแม่และการส่งต่อระหว่างบ้านโรงเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ประสบการณ์ความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตนเองมีทักษะชีวิตและค่านิยมเชิงบวก มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสามีความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมีการติดต่อสื่อสารระหว่าง พ่อแม่ ผู้ปกครองและโรงเรียน ทั้งในระบบปกติและ Social Network ในการประสานความร่วมมือได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจัดให้มีคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองทั้งในระดับห้องเรียนระดับสายชั้น และระดับโรงเรียน โดยมีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูผู้ปกครองและสนับสนุนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะต่อสถานศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนและสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เป็นกรอบแนวคิดของการพัฒนาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาแบบร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมชื่นชมความสำเร็จ

ระบบบรรยากาศ/สื่อ/แหล่งเรียนรู้

โรงเรียนวัดบางปะกอกจัดแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผู้เรียนให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน จัดให้มีห้องเรียนเชิงบวกเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพ มีความปลอดภัยและมีความสุข พัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล สารสนเทศที่จำเป็นเพื่อสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกับหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะที่สถานศึกษากำหนด เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและสมรรถนะในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ ทัศนคติเชิงบวก มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีแรงบันดาลใจในการมุ่งสู่เป้าหมายและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ

 




เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]