แนวการดำเนินงาน
1. โครงการนี้ดำเนินการโดย งานบริหารวิชาการโดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน
2. โครงการนี้เป็นโครงการเสริมเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการ 5 กิจกรรม ดังนี้
2.1 กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
2.2 กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
2.3 กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
2.4 กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน
2.5 กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
3. ระยะเวลาดำเนินการ
ตลอดปีการศึกษา 2562
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 ประชุมปรึกษาหารือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดในการดำเนินโครงการ
4.2 เสนอขออนุมัติโครงการ
4.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
4.4 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.5 ดำเนินการจัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ดังนี้
1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางสาวอุทัย ใจหมั่น
กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร น้อมรับกระแสพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้เป็นกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน โดยให้นักเรียนเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปสนับสนุนการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้น้อมนำ แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักคิดและหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ชีวิตโดยใช้กิจกรรมการเกษตรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อรู้จักประหยัด ใช้ กินอย่างประมาณตน มีเหตุผล ไม่ฟุ่มเฟือย เรียนรู้เกี่ยวกับการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ โดยการผลิตหรือสร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรเรียนรู้การช่วยเหลือสังคมและชุมชน โดยการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะกับสภาพภูมิสังคมและบริบทของโรงเรียน ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไปในอนาคต
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางสุทิน ปานทอง
กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน มีดำเนินงานตามหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ โดยจัดกิจกรรมค่ายสหกรณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ และได้น้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการออมเงิน และกลไกลลด ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและ โดยจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิก จัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นจำหน่ายในราคาถูก สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักการใช้จ่ายของตนเองอย่างมีเหตุผล อย่างพอประมาณ ประหยัดเท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย และจัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการออมอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปลูกฝังและเสริมสร้างความมีวินัย ทางการเงินของนักเรียน นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมให้คณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักวิธีการจัดทำบัญชี การประชุม การบันทึกการประชุม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนและสังคมต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ในการบริหารจัดการและดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยานั้น ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ใช้หลักความรู้ คู่คุณธรรมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชน
3. กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ นางสาวมลิวัน นนเลาพล
เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับนักเรียนตามความสนใจ โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้และฝึกทักษะให้กับนักเรียนในงานด้านต่างๆ เช่น งานจักสานเส้นพลาสติก งานร้อยลูกปัด รี งานลวดดัด งานริบบิ้น งานตัดเย็บ งานเสริมสวย งานดนตรีสากล งานเกษตร งานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
4. กิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางสาวฐิติมา วรรณมณฑา
เป็นกิจกรรมที่จัดบริการอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวันอย่างเพียงพอ ถูกหลักโภชนาการ อาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ให้บริการอาหารเสริม (นม) และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคและเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนปลูกฝังวินัยในการรับประทานอาหาร นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการอาหารกลางวัน ให้มีสถานที่ปรุงอาหารที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหาร ตรวจสุขภาพของผู้ปรุงอาหาร ซึ่งมีทั้งในส่วนที่โรงเรียนดำเนินการเองและหน่วยงานภายนอกดำเนินการ โรงเรียนคาดหวังว่าการดำเนินกิจกรรมนี้จะส่งผลให้นักเรียนมี ภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงใน การประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ในนักเรียน
5. กิจกรรมการเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ นางสาวสุปราณี เปลรินทร์
กิจกรรมการสำรวจภาวะโภชนาการและสุขภาพเป็นการจัดกิจกรรมที่ สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกระดับชั้น ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ให้มีสมรรถภาพทางกาย ส่วนสูง และน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ นักเรียนกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ให้ความรู้และปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้องในการบริโภคที่ปลอดภัยและการออกกำลังกายให้ถูกต้องและประสานงานผู้ปกครองของเด็กนักเรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการของเด็ก และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
4.6 ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานเพื่อกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง
4.7 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายงานต่อผู้รับผิดชอบโครงการ
4.8 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผลการดำเนินโครงการ รายงานต่อผู้บริหารโรงเรียน
ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. นักเรียนมีความคิดเห็นว่าตนเองได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และ พลศึกษา ด้วยกิจกรรมสนับสนุนทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตร ในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป คิดเป็น
ร้อยละ 100.00
2. นักเรียน ชุมชนและผู้สนใจมีความคิดเห็นว่าการดำเนินโครงการ ฯ ด้วยการดำเนินงานกิจกรมสนับสนุนทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัยทำให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ตามโครงการ ฯ เหมาะสมกับนักเรียน ชุมชน และผู้สนใจ สามารถใช้เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน และฝึกอบรม ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งที่ผ่านมานอกจากจะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้นแล้ว ยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจ ดังนี้
1. วันที่ 5 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีด้านการส่งเสริมอาชีพ (นำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจ - พอเพียงมาประยุกต์ใช้) ในงานประชุม
วิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ เมืองทองธานี
2. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม สภากรุงเทพมหานคร นำโดยพลเอกคนินทร วงศาโรจน์ ประธานกรรมการ นายพรชัย เทพปัญญา รองประธานกรรมการ และนางสาวดวงพร รุจิเรข กรรมการและเลขานุการ นางสาวปิยะนุง สิทธิศร นางสาวคฤห์อนงค์ สิริวิภาวี และคณะศึกษานิเทศ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อศึกษาข้อมูลการดำเนินงานโครงการ ฯ
3. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นสถานที่เยี่ยมชม ฝึกอบรมสาธิตการเลี้ยงไส้เดือนให้กับผู้ปกครอง นักเรียน และบุคคลทั่วไป
ผลการดำเนินงานตามตามเป้าหมาย
ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายเชิงปริมาณ ดังนี้
1. โรงเรียนได้ดำเนินงานกิจกรรมสนับสนุนครบทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย คิดเป็นร้อยละ 100.00
2. นักเรียนได้รับการประเมินภาวะโภชนะการคิดเป็นร้อยละ 100.00 และมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การประเมินภาวะโภชนาการ (ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ)
ภาคเรียนที่ 1 นักเรียนมีภาวะตามเกณฑ์ จำนวน 894 คน คิดเป็นร้อยละ 80.94 มีภาวะทุพโภชนาการ (เตี้ย) จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.36
ภาคเรียนที่ 2 นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ จำนวน 863 คน คิดเป็นร้อยละ 78.74 มีภาวะทุพโภชนาการ (เตี้ย) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.09
2.2 การประเมินภาวะโภชนาการ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง)
ภาคเรียนที่ 1 นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมส่วน จำนวน 733 คน คิดเป็นร้อยละ 63.38 มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม เริ่มอ้วนและอ้วน) จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 20.02
ภาคเรียนที่ 2 นักเรียนมีโภชนาการสมส่วน จำนวน 765 คน คิดเป็นร้อยละ 69.80
มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม เริ่มอ้วนและอ้วน) จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 16.60
3. นักเรียนได้รับการประเมินสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ของกรมพลศึกษา 7 ท่า คิดเป็นร้อยละ 100.00 พบว่า ภาคเรียนที่ 1 นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 84.81 และภาคเรียนที่ 2 นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 96.50
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่บริโภคอาหารได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 100.00
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 100.00
6. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็น
ร้อยละ 100.00
7. คะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ มัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-NET) จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2562 แสดงดังตาราง
กลุ่มสาระ การเรียนรู้ | ป. 6 | ม.3 | ||
จำนวน นร.ที่เข้าสอบทั้งหมด(คน) | คะแนนเฉลี่ย (คะแนน) | จำนวน นร.ที่เข้าสอบ ทั้งหมด(คน) | คะแนนเฉลี่ย (คะแนน) | |
ภาษาไทย | 118 | 51.21 | 40 | 51.00 |
คณิตศาสตร์ | 118 | 33.60 | 40 | 23.60 |
วิทยาศาสตร์ | 118 | 38.15 | 40 | 29.69 |
ภาษาอังกฤษ | 118 | 37.37 | 40 | 29.80 |
8. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของและ ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 89.60 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพฤติกรรม ด้านคุณธรรมและจริยธรรมจริยธรรมตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.17
9. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 68.80 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.17
10. ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ปลา ผักสวนครัว ผักงอก เห็ด ตลอดปีการศึกษา เป็นต้น โดยมีผลผลิตทางการเกษตรภาคเรียนที่ 1 รวม 201.33 กก. ภาคเรียนที่ 2 รวม 313.91 กก. รวมตลอดปีการศึกษา คิดเป็น 515.24 กก.
11. คะแนนเฉลี่ยวิชาเกษตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 90.16
12. คะแนนเฉลี่ยวิชาชีพที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (กอท.) คิดเป็นร้อยละ 90.16
13. คะแนนเฉลี่ยวิชาสหกรณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 93.00
14. คะแนนเฉลี่ยวิชาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 95.50
15. คะแนนเฉลี่ยวิชาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 84.80
16. มีการศึกษาดูงาน ฝึกอบรมและเรียนรู้งานตามโครงการ ฯ ดังนี้
16.1 วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม สภากรุงเทพมหานคร นำโดยพลเอกคนินทร วงศาโรจน์ ประธานกรรมการ นายพรชัย เทพปัญญา รองประธานกรรมการ และนางสาวดวงพร รุจิเรข กรรมการและเลขานุการ นางสาวปิยะนุง สิทธิศร นางสาวคฤห์อนงค์ สิริวิภาวี และคณะศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อศึกษาข้อมูลการดำเนินงานโครงการฯ
16.2 วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นสถานที่เยี่ยมชม ฝึกอบรมสาธิตการเลี้ยงไส้เดือนให้กับผู้ปกครอง นักเรียน และบุคคลทั่วไป
17. การป่วยของนักเรียน พบว่า ภาคเรียนที่ 1 เป็นโรคท้องร่วง 38 ครั้ง โรคหวัด 127 ครั้ง ภาคเรียนที่ 2 เป็นโรคท้องร่วง 17 ครั้ง โรคหวัด 92 ครั้ง
18. จำนวนนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ฯ คิดเป็นร้อยละ 100.00
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายเชิงคุณภาพ พบว่า
นักเรียน บุคลากร ชุมชน และผู้สนใจ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ ฯ ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 100.00
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
1. พายุลมแรงทำให้ต้นพืชและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย ปริมาณน้ำฝนมากทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังแปลงแปลงปลูกพืชและความรุนแรงของฝนทำให้ต้นพืชได้รับความเสียหายอ่อนแอและเกิดโรค.
2. มีศัตรูพืช เช่น แมลง หนู กระรอก เข้ามาทำลายและกัดกินต้นพืช
3. มีนักเรียนส่วนบางส่วนที่มีด้านสุขภาพ เช่น มีภาวะทุพโภชนาการ มีผลการประเมินสมรรถภาพทางกายไม่ผ่านเกณฑ์
แนวทางแก้ไข
1. ปลูกพืชที่ชอบน้ำและทนฝน เช่น ชะพลู ผักกูด คะน้า สะระแหน่ บวบ มะเขือเทศ เป็นต้น
และยกร่องแปลงให้สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วมขัง
2. ใช้วิธีการทางชีวภาพในการกำจัดศัตรูพืช เช่น ทำความสะอาดบริเวณแปลงเกษตรอย่างต่อเนื่อง ปลูกพืชหมุนเวียน พักแปลง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ใช้สมุนไพรกำจัดแมลง เป็นต้น
3. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และการดูแลสุขภาพให้เข้มข้นมากขึ้น มีการเยี่ยมบ้านนักเรียน ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลและติดตามเป็นพิเศษสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ