จากการเรียนการสอนในหน่วย
“เรารักสิ่งแวดล้อม” ครูได้แบ่งเด็กออกเป็น ๔ กลุ่ม
และสร้างข้อตกลงร่วมกันในการออกไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน เด็กได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียนบริเวณสวนเกษตรปลอดสารพิษและสวนหย่อมในโรงเรียน
เด็กได้พบกับต้นไม้และดอกไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถางพลาสติก
และต้นไม้เล็กปลูกอยู่ในถุงพลาสติก เด็กมีข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นไม้ที่ตนเองพบเจอ
ครูจึงให้เด็กร่วมกันจดจำสิ่งที่ตนเองและเพื่อนๆ สงสัยและอยากรู้
แล้วพาเด็กขึ้นห้องเรียน แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมาบอกสิ่งที่เด็กได้พบเจอ
และบอกสิ่งที่เด็กสงสัยและอยากรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น จากการสนทนาร่วมกันระหว่างครูและเด็กๆ
เด็กมีความสนใจและอยากรู้เกี่ยวกับกระถางสำหรับปลูกต้นไม้ ครูได้ชักชวน สอบถาม
พูดคุยและให้เด็กๆ แสดงความคิดเห็น นำเสนอสิ่งที่เด็กสนใจหรือต้องการรู้
โดยให้เด็กยกมือลงคะแนนในเรื่องที่เด็กมีข้อสงสัย
มีความอยากรู้และอยากค้นหาคำตอบมากที่สุดผลการเลือกเรื่องที่สนใจและอยากรู้มากที่สุดคือเรื่องกระถางที่สามารถปลูกในดินได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจึงนำมาสู่การทำโครงงานกระถางรักษ์โลก
ซึ่งเป็นเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นสาระการเรียนรู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฝึกทักษะในด้านต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิต และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นแนวทางการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ควรสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ปัญหาด้วยตนเอง และสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาได้
โครงงานกระถางรักษ์โลก เป็นการเรียนรู้ในลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
มีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวจริง มีอิสระในการตั้งสมมติฐานและทดลองเพื่ออธิบายปรากฏการณ์หรือปัญหาที่ตนเองมีความอยากรู้อยากเห็นนั้นด้วยตนเอง
กิจกรรมลักษณะดังกล่าวที่เน้นวิธีการตั้งปัญหา
แล้วตั้งสมมติฐานและการคิดวิธีการเพื่อหาคำตอบ
จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจและไม่เกิดความเบื่อหน่าย สามารถก่อให้เกิดกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ปลูกฝังในตัวนักเรียนที่ได้เข้าร่วมค่ายวิทยาศาสตร์
ทำให้เป็นคนมีเหตุผลนำทางในการดำเนินชีวิต
และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
โรงเรียนวัดกำแพงได้ตระหนักถึงความสำคัญ
จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย
ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปวิเคราะห์หาเหตุผลได้อย่างเป็นระบบ
เป็นแนวทางที่จะนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน ความสามัคคี ความร่วมมือ และส่งเสริมศักยภาพรวมทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่
1 – 2 ได้เข้าร่วมโครงการทุกคน
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลร้อยละ 85 มีทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้
- ทักษะด้านการเรียนรู้
สามารถเรียนรู้วิธีคิด วิธีตั้งคำถาม การทดลองและการค้นหาคำตอบได้
- ทักษะด้านการสื่อสารทางภาษา
สามารถสื่อสารความคิดต่างๆ
ออกมาเป็นถ้อยคำที่ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้
-
ทักษะด้านสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีและสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้
- ทักษะด้านร่างกาย
ได้ฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อขณะทำการทดลองต่างๆ