1.
การเตรียมการจัดการเรียนรู้: บูรณาการกิจกรรมเสริมหลักสูตร
"การเรียนรู้ สู้ภัยฝุ่น ในโรงเรียน"
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบ Active Learning ในการรับมือกับฝุ่นในภาวะวิกฤตในสถานศึกษา
ชุมชน และท้องถิ่น ด้วยเนื้อหาที่จัดการเรียนรู้ จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
2.1
นิยามและความหมาย : ฝุ่นคืออะไร
2.2
สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของค่าฝุ่นละอองในพื้นที่ : ฝุ่นมาจากไหน
2.3
สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน
2.4
ผลกระทบของ PM2.5 กับสุขภาพของเรา
2.5
การเตรียมพร้อมรับมือภัยฝุ่น
2.6
แผนเสี่ยงต่อการเผาในที่โล่ง
2.7
เครื่องวัดระดับฝุ่น PM2.5 : ยักษ์ขาว
2.8
ระบบธงสุขภาพในโรงเรียน
2.9
องค์ความรู้ภัยฝุ่นสู่ชุมชน
2.10
บทบาทเด็กและเยาวชนแก้ปัญหาภัยฝุ่นอย่างสร้างสรรค์
3. สมรรถนะ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
3.1 สมรรถนะการจัดการตนเอง: การจัดการปัญหาและภาวะวิกฤต
3.2 สมรรถนะการคิดขั้นสูง: การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงระบบ
การคิดสร้างสรรค์
การคิดแก้ปัญหา
3.3 สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม: เป็นสมาชิกที่ดีและมีภาวะผู้นำ กระบวนการทำงานแบบร่วมมือรวมพลังอย่างเป็นระบบ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการจัดการความขัดแย้ง
3.4 สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง: พลเมืองมีส่วนร่วมอย่างมีวิจารณญาณ
3.5
สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน: การเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกและในเอกภพ
การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4. การจัดกระบวนการเรียนรู้
6 ขั้นตอน
4.1 ขั้นตระหนักถึงความปลอดภัย
4.2 ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์
4.3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
4.4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4.5 ขั้นสรุปการเรียนรู้
4.6 ขั้นประยุกต์สู่วิถีชีวิต
5. การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียนและประชาชนในชุมชนต่อภาวะวิกฤตปัญหาฝุ่นละออง
2. นักเรียนมีทักษะและกลไกการรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองในโรงเรียนสู่ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้สามารถป้องกันและรักษาสุขภาพได้
3.
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการปรับตัวเมื่อเผชิญภาวะวิกฤตกับปัญหาฝุ่นละอองและสามารถสื่อสาร
เพื่อสร้างชุมชนพึ่งพาตนเองในยามที่เกิดวิกฤตด้านฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของตนเองและผู้อื่นได้
4. นักเรียนนำเสนอนวัตกรรม “TN Dust trap box” จากการเข้าร่วมแข่งขันโครงการการประกวดผลงานนวัตกรรม GPAS 5 STEPS สำหรับเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมกับ 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีผลงานนวัตกรรมเข้าการประกวดกว่า 3,000 ผลงาน นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม (Innovation for Society, Religion and Culture) ระดับประถมศึกษา โครงการประกวดผลงานนวัตกรรม GPAS 5 Steps สำหรับเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
5. โรงเรียนได้รับรางวัล
โรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น ระดับดีเด่น ของกรุงเทพมหานคร