กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการ Flow แผนภูมิ ของระบบ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น
Best Practice
ขั้นที่ 1 วางแผนงานและเตรียมการ ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วางแผนงานและเตรียมการ
วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการทิ้งขยะ พบว่า นักเรียนขาดพื้นฐานความรู้ในการคัดแยกขยะ
นักเรียนหลายคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง
นักเรียนส่วนใหญ่มองข้ามถังขยะไม่ยอมทิ้งลงถัง
ซุกขยะไว้บริเวณรอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น
ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรู มีนักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด
ดูไม่งามตา คุณครูทุก ๆ คน มีการอบรมสอนลูกของตนให้มี ความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย
และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว ก็มีการจัดเวรทำความสะอาดอยู่ทุกวัน
แต่มันการกำจัดเพียงพอบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป ดังนี้
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 16 พฤษภาคม 2565
2. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ
โดยคณะกรรมการประกอบด้วย ครูนักเรียน
แกนนำที่โรงเรียนแต่งตั้ง จำนวน 10
คน ตัวแทนนักเรียนห้องละ 2 คน และสมาชิกชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมต่าง ๆ
ดังนี้
1.
กิจกรรมนักเรียนสำรวจปัญหาการคัดแยกประเภทขยะ ของแต่ละห้องเรียน (Survey)
2. กิจกรรมการใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าแทนถุงพลาสติก(cloth
bag and basket)
3. กิจกรรมการคัดแยกประเภทขยะ (กิจกรรม 3 R (Reduce (ลดการใช้), Reuse (การใช้ซ้ำ),
Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) ในห้องเรียน และบริเวณรอบโรงเรียน (3R)
4. กิจกรรมลดขยะอาหาร
(Reduce food waste)
5. กิจกรรมรักษ์ต้นไม้ (Save
the tree)
6. กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์(Landscape improvement activities)
7.
กิจกรรมติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (Follow information and news)
8.
กิจกรรมเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (coping with change)
9. กิจกรรมชักชวนทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Encourage to do good for the environment)
บูรณาการร่วมกับ
1.
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ
2.
โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
3.
โครงการการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
4.
โครงการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
5.
โครงการปลอดลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก
6.
โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ
7.
โครงการสถานศึกษาปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี
8.
โครงการส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรมในโรงเรียน
9.
โครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน
10.
โครงการแหล่งเรียนรู้คู่รอยยิ้ม
11.
โครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Eco School)
12.
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
13.
โครงการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
14.
โครงการอาหารกลางวัน
15.
โครงการเด็กยิ้มอิ่มท้อง
ขั้นที่ 2 ให้ความรู้
ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะ ประโยชน์ของถุงผ้า การลดขยะ
เศษอาหาร รักษาต้นไม้ ดูแลพืชสวนครัว ปรับปรุงภูมิทัศน์
ติดตามข่าวสาร รับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการชักชวนทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ประชุมเพื่อ ความตระหนักให้บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง
ให้เห็นความสำคัญสิ่งแวดล้อม และการทิ้งหรือกำจัดขยะชุดตรวจ ATK และหน้ากากอนามัย
ขั้นที่ 3 สังเกตพฤติกรรม
โรงเรียนมีการสร้างนวัตกรรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมนิสัยการคัดแยกขยะทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านโดยมีการจัดกิจกรรมคัดแยกขยะตามจุดต่างๆ
มีถังขยะคัดแยกประเภท มีนักเรียนชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแกนนำให้ความรู้เรื่อง
ประเภทของขยะและการทิ้งขยะให้ถูกตามประเภทของขยะอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนและบุคลากรทุกคนเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องส่งผลให้พฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียนแยกประเภทและทิ้งขยะมูลฝอยให้ลงถังขยะ
ทำให้บริเวณต่างๆในโรงเรียนสะอาดขึ้นและนักเรียนนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกไปใช้ประโยชน์ตามลำดับ
นักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีพฤติกรรมด้านการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ครู บุคลากรและนักเรียน ใช้ถุงผ้า หรือตะกร้าแทนถุงพลาสติก นักเรียนทานอาหารหมดถาด
เศษพืชผัก หรือเศษอาหารที่เหลือจากการเตรียมประกอบอาหารที่ไม่สามารถรับประทาน
มีคนในชุมชนมารับเศษอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ปลาดุก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วยลดปริมาณคาร์บอน
ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้และพืชผักสวนครัว
ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากทุกช่องทาง อาทิ โทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์
เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ ครูให้ความรู้ บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
ดูแลตนเองและดูแลคนในครอบครัวให้มีสุขภาพดี ป้องกันภัยที่เกิดจากฝุ่น PM2.5
สภาวะโลกร้อน ชักชวน ทำดีเพื่อสิ่งแวดล้อม
และสร้างความตระหนักในการทิ้งขยะติดเชื้อหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดแพร่เชื้อ
ขั้นที่ 4 จัดทำคู่มือ
จัดทำคู่มือที่นี่เข้ขบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์และเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจ
ขั้นที่ 5 การประชุมชี้แจง
มีการประชุมก่อน -ระหว่าง- หลัง ดำเนินการ และการประชุมย่อย
ผ่านการประชุมทั้ง ONSITE และ ONLINE
ขั้นที่ 6 การนำไปใช้
นำความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม นำไปปฏิบัติโดยให้เป็นวิถีชีวิตประจำวันจนเป็นพฤติกรรมเชิงบวกที่พึงประสงค์อันส่งผลดีต่อตนเอง
โรงเรียน ชุมชนที่อยู่อาศัย
ขั้นที่ 7 ประเมินผลและปรับปรุง
ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากร ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการประเมินผลและเสนอแนะข้อควรปรับปรุง
ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์
โรงเรียนมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
เห็นความสำคัญของการลดขยะ ด้วยการรับประทานอาหารไม่เหลือทิ้ง
เศษอาหารนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำปุ๋ย
ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำ ใช้ถุงผ้า มีการใช้พลาสติกลดลง ทุกคนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง
คัดแยกตามประเภทขยะ มีความพึงพอใจในการจัดการ และมีความสุขในโรงเรียน
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1.
อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
มีความสะอาดเรียบร้อย
2.
ทุกคนได้รับข้อมูลข่าวสารและนำไปใช้ในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ต่อเนื่อง
3. ทุกคนปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและป้องกันตนเองจากโรคตามฤดูกาล
ได้อย่างเหมาะสม
มีอัตราการเจ็บป่วยน้อยลง
4. ขยะในโรงเรียนได้รับการคัดแยกอย่างถูกวิธี และมีจำนวนลดลง
5.
ขยะอินทรีย์ จำพวกเศษอาหาร
ผักและผลไม้ มีปริมาณลดลง และถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
6. มีการใช้พลาสติกน้อยลง เนื่องในโรงเรียน ผู้บริหาร ครู บุคลากร
และนักเรียน มีการใช้ตะกร้า หรือ ถุงผ้า ใช้ปิ่นโตหรือกล่องใส่อาหาร ใช้แก้วน้ำ กระบอกน้ำ หรือภาชนะที่ผลิตจากเครื่องเซรามิก
หรือสแตนเลสสตีล ที่สามารถใช้ซ้ำได้ทุกวัน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้หลายครั้งและย่อยสลายโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ที่ได้รับ
สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ผู้บริหาร ครู บุคลากร
นักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง มีสุขภาพที่แข็งแรง
จิตใจแจ่มใส
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการขยะ
2. การมีส่วนร่วมสถานศึกษา
ชุมชน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
3. มีวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม
4. มีความพร้อมของอุปกรณ์รองรับเพียงพอต่อการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
5. ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา
ปรับปรุงระบบ
การคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง
1. การดำเนินการตามแนวทางโครงการชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา โดยบุคลากร และนักเรียนทุกคน
มีการปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น
2. การปฏิบัติงานที่เป็นระบบ
มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุนส่งผลให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
3. การพัฒนาร่วมกัน ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน
การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานส่งผลให้งานประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
4. เกิดลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
“กิจนิสัยการใช้คุ้มค่าและการคัดแยกก่อนทิ้ง”
5. การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
6. เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมาย ความภาคภูมิใจก็คือ ทุกคนในโรงเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สุขภาพดี มี ความสุข มีพฤติกรรมในการรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนได้รับมอบป้าย Zero waste ระดับดี โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในโรงเรียนสังกัด