๑. การวางแผนและเตรียมการ
(Plan)
- จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติโครงการ
- ประชุมครูเพื่อชี้แจงและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
- กำหนดกิจกรรม ระยะเวลา และสถานที่ดำเนินการ
๒. ขั้นดําเนินการ (Do)
ดำเนินงานตามแผนงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด
- กิจกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้
- กิจกรรมอาหารและโภชนาการ
-
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย
- กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
๓. ขั้นประเมินผล (Check)
- นิเทศติดตามการดำเนินงาน
ตรวจสอบและประเมินผลรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขรายงานผู้บริหาร
๔. ขั้นปรับปรุง (Act)
นำข้อมูลจากการดำเนินโครงการมาประชุมปรึกษาหารือหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาในปีต่อไป
จากผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี พบว่า เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจาก
นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการคิดเป็นร้อยละ 100
และได้รับการพัฒนาในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา
จากการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ กิจกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้
กิจกรรมอาหารและโภชนาการ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย และกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน
และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน นำความรู้ที่ได้รับใช้ในชีวิตประจำวันได้
นำความรู้ด้านการเกษตร การปลูกผัก และการเลี้ยงไก่ไข่ไปขยายผลที่บ้านของนักเรียน
ซึ่งเป็นการขยายผลสู่ชุมชน
นักเรียนรับประทานอาหารเช้าและกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
มีความรู้และทักษะในการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมและปลอดภัย ทำให้สุขภาพ
พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกาย
และจิตใจส่งผลให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนรักการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา
ได้แสดงออกด้านกีฬาที่ตนเองชื่นชอบและพัฒนาตนเองเป็นนักกีฬาของโรงเรียน
ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง
ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีรูปร่างสมส่วน
และมีสมรรถภาพทางกายเป็นไปเกณฑ์มาตรฐาน
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนส่งผลให้
นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องสหกรณ์ ได้ปฏิบัติจริง
มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต และหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มีความขยันอดออม นักเรียนได้รับการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพพื้นฐาน
ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 รายวิชาภาษาไทย
และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ นอกจากนี้ โรงเรียนสุเหร่าลำแขก ยังมีศูนย์การเรียนรู้โครงเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นศูนย์บริการความรู้ให้แก่นักเรียน
บุคลากร และชุมชน