นักเรียนในโรงเรียนสุโขทัย ได้เล็งเห็นปัญหาของการจัดการขยะ จึงเข้าร่วมโครงการจัดการขยะมูลฝอยโดยร่วมกับสำนักงานเขตดุสิต โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
- รับฟังปัญหาและสำรวจความต้องการเข้าร่วมโครงการฯ
กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกับโรงเรียน โดยสำนักงานเขตดุสิตส่งวิทยากรแนะนำแนวทางการจัดการขยะโดยโรงเรียนเป็นการดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของนักเรียนในโรงเรียนสุโขทัย
ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาขยะของโรงเรียน โดยหน่วยงานท้องถิ่น คือ
สำนักงานเขตทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนในด้านความจำเป็นต่าง ๆ เช่น
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการจัดการขยะแต่ละประเภท เช่น สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
(ขยะหอม) และการทำปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง เพื่อจัดการกับขยะเปียก (ขยะเศษอาหาร) และแนะนำการคัดแยกขยะ
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะจากครัวเรือน และการจัดการขยะ
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียน ประชาสัมพันธ์โดยใช้เครื่องขยายเสียง
พร้อมแจกประกาศประชาสัมพันธ์
- โรงเรียนร่วมมือกันคัดแยกขยะตามที่วิทยากรจากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะแนะนำ
โดยคัดแยกของขายได้ (ขยะรีไซเคิล) และนำขยะเปียก (ขยะเศษอาหาร)
นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ (ขยะหอม) และปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง
- นักเรียนในโรงเรียนร่วมกันจัดตั้งธนาคารขยะ
เพื่อรวมกลุ่มกันขายขยะรีไซเคิล เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นการร่วมกลุ่มกันเพื่อช่วยให้นักเรียนในแต่ละห้องเรียนได้มีรายได้ในการจัดการบริหารห้องเรียนของแต่ละห้องเรียน
การดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนโดยใช้หลัก
๓Rs
๑. กระบวนการจัดการ ๓Rs การลด ใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่
-รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
-รณรงค์การใช้ถ้วย
ชามจากครัวเรือนแทนการใช้โฟมใส่อาหาร
-รณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลส
(ส่วนตัว) แทนแก้วน้ำพลาสติก
-รณรงค์การใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว มาบรรจุน้ำอเนกประสงค์
๒. กระบวนการจัดการ ๓Rs การลดใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำมาใช้ใหม่ (Recycl)
-รณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
-รณรงค์การใช้ถ้วย
ชามจากครัวเรือนแทนการใช้โฟมใส่อาหาร
-รณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลส
(ส่วนตัว) แทนแก้วน้ำพลาสติก
-รณรงค์การใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว
มาบรรจุน้ำอเนกประสงค์
๓. กิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิล (Recycle) อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน
-บริการจุดรับซื้อขยะในโรงเรียน
-น้ำหมักจากเศษอาหาร ผลไม้
๔.
กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่โรงเรียนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
-การทำน้ำหมักชีวภาพ / จุลินทรีย์ (EM)
ผลการดำเนินโครงการ
- นักเรียนในโรงเรียนให้ความร่วมมือดี
สามารถนำน้ำขยะหอมที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น ไปเทปรับปรุงคุณภาพน้ำในโรงเรียน
ใช้แทนปุ๋ย ล้างห้องน้ำ เป็นการช่วยลดค่าจ่ายในครัวเรือน อย่างเป็นรูปธรรม
- ก๊าซชีวภาพ Biogas การกำจัดขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร โดยใช้กระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน
ได้เป็นก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ส่วนกลางโรงเรียน
- ปุ๋ยหมักจากไส้เดือน เพื่อใช้ในแปลงผักสวนครัวของโรงเรียน