3.กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการพัฒนาระบบเกี่ยวกับการจัดการขยะ
วิธีการพัฒนาตามข้อตกลงของโครงการดังกล่าว
โรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ) มีแนวทางการพัฒนาผู้เรียน
โดยมีระบบบริหารงานสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหารงาน แบ่งออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป
โดยมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ โดยยึดหลักการความร่วมมือ
ทำให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มระดับคุณภาพ
ที่ประสบความสำเร็จ ปรับปรุงคุณภาพที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐานหรือเป้าหมายต่อไป
3.1 ขั้นการร่วมวางแผน (CP)
ได้เชิญประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพ
โดยได้จัดทำ
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero
Waste School) ระบุกิจกรรมต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่ออนุมัติ
3.2 ขั้นร่วมดำเนินการ (CD)
3.2.1 กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของโรงเรียน
3.2.2 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
โดยมอบหมายงานแต่ละคนรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ประชุมวางแผนเตรียมการบุคลากร วัสดุ
อุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ
3.2.3 ดำเนินกิจกรรมตามความรับผิดชอบโดยมีการดำเนินงานตามประเด็นในการพัฒนาโดยวิธี
KTMS ดังนี้
1) ขั้นรับรู้ และการสร้างความตระหนัก (Knowledge and awareness)
ประชุมคณะครู
มอบหมายความรับผิดชอบ อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้การ
คัดแยกขยะ
มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีกิจกรรมคัดแยกขยะ , กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ ,
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้ , กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร , กิจกรรมขยะเป็นศูนย์(เฉพาะโรงอาหาร)
โดยใช้เวลาหน้าเสาธง และช่วงก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย
มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการแบบบ้านทักษะชีวิต
แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยคละชั้นตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
และกิจกรรมต่างๆ
2) ขั้นฝึกซ้อม (ลดปัญหา) (Training)
ทดลองการจัดการขยะด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ได้แก่
2.1) กิจกรรมคัดแยกขยะ เป็นขยะที่นำไปใช้ใหม่ได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ
เช่น นำไปขาย หรือประดิษฐ์เป็น ของเล่น
ของใช้ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียนในการจัดการขยะ ในกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้าและกิจกรรมบ้านทักษะชีวิต
2.2) กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ ให้ความรู้แก่นักเรียนรู้จักขยะที่ย่อยสลายและไม่ย่อยสลาย
ขยะบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้หรือประดิษฐ์เป็นของเล่น หรือของตกแต่ง ของใช้
ตามแต่จินตนาการของตนเอง
2.3) กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้ ทิ้งขยะในถังขยะให้ถูกที่
ฝึกวินัยในการรักษาความสะอาด เลือกทิ้งขยะในถัง ที่คัดแยกขยะ ตรงกับขยะในมือ ซึ่งบริเวณโรงเรียนมีต้นไม้จำนวนมาก
ทำให้มีใบไม้ล่วงหล่นทุกๆ วัน ดังนั้นนำจึงนำมาทำปุ๋ยหมัก แทนที่จะทำลายด้วยการเผา
ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
2.4) กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ให้ความรู้แก่นักเรียนรู้จักขยะที่ไม่ย่อยสลายและขยะที่ย่อยสลาย
ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
2.5) กิจกรรมขยะเป็นศูนย์(เฉพาะโรงอาหาร) เมื่อแม่ครัวประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อย จะพบว่ามีขยะจากการประกอบอาหาร เช่นเปลือกไข่ เปลือกผลไม้ เศษผัก และเมื่อนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จ มักจะมีเศษอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้หรือเศษอาหารเล็กๆ เมื่อรวมๆแล้วมีค่อนข้างมาก จึงควรกำจัดให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจเป็นแหล่งเชื้อโรคได้
การดำเนินงานในขั้นนี้จะมีผู้รับผิดชอบได้แก่
ครูประจำเขตพื้นที่ ครูเวรประจำวัน และคณะนักเรียนแกนนำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero
Waste School)
3) ขั้นจัดการ (กำจัดปัญหา) (Management)
3.1) การจัดการขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด
ด้วยการจัดที่สำหรับเก็บขยะเตรียมเก็บโดยหน่วยเก็บขยะของสำนักงานเขต
ด้วยการจัดถังสำหรับการแยกขยะก่อนทิ้ง ประกอบไปด้วย ถังสำหรับทิ้งขยะทั่วไป
ถังสำหรับทิ้งขวดแก้ว ถังสำหรับทิ้งขวดพลาสติก และถังสำหรับทิ้งกล่องนม
3.2) การบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ส่วนที่เหลือจากการนำกลับมาใช้ในโรงเรียนด้วยวิธีการจำหน่ายให้กับโรงรับซื้อขยะ
- บูรณาการสอนด้วยการนำขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้
ด้วยการประดิษฐ์เป็นของเล่น และของใช้ที่มีประโยชน์ ในกิจกรรม “ขยะสร้างสรรค์”
- จัดกิจกรรมประกวดชุดรีไซเคิล
ซึ่งจัดให้มีการประกวดในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ การดำเนินการในขั้นนี้มีครูผู้รับผิดชอบโครงการ
และครูประจำวิชา เป็นผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม
4) ขั้นสร้างความยั่งยืน (Sustainability)
การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการดำเนินการ
อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการดังนี้
- กำหนดเป็นมาตรการ
การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ)
เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทุกคน ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
- ให้การรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยการให้ความรู้หน้าเสาธง
และประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน และชุมชน ด้วยหลักการ 4R ดังนี้
Reduce – การลดปริมาณการใช้ลง
โดยใช้เท่าที่จำเป็นขยะ หลีกเลี่ยงการใช้อย่างฟุ่มเฟือย
เพื่อลดการสูญเปล่าและลดปริมาณขยะให้มากที่สุด
Reuse – การนำของเสีย
บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกโดยไม่ผ่านการแปรรูปหรือแปรสภาพ
Repair - นำสิ่งของที่ยังพอแก้ไขได้มาซ่อมแซมให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
Recycle - การนำขยะมารีไซเคิล
นำของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้
มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตหรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
3.3 ขั้นการร่วมตรวจสอบ (CC)
ได้รับการนิเทศโดยผู้บริหารเพื่อนครู
ผู้ปกครองนักเรียน เป็นการประเมินผลร่วมกันทุกระยะ
3.4 ขั้นตอนประเมินและปรับปรุง
(CA)
เป็นการวัดและประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
โดยคณะกรรมการประเมินจัดทำและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอที่ประชุม
พัฒนาปรับปรุงงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและพัฒนาต่อยอดงานที่ประสบความสำเร็จและทำการสรุปและรายงานผล
4. ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 บุคลากร
และนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4.2 มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
4.3 สภาพแวดล้อมดีขึ้น
ไม่มีมลพิษในสิ่งแวดล้อม
4.4 นักเรียนตระหนัก
มีจิตสำนึก เรื่องความสะอาดและการคัดแยกขยะ
4.5 นักเรียนสามารถนำขยะที่มีประโยชน์ไปรีไซเคิล
ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
4.6 เกิดความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะให้เป็นระบบภายในโรงเรียน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
และการได้รับการยอมรับ
5.1 ได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากผู้บริหาร
5.2 นักเรียนและบุคลากรให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วยดี
5.3 ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมนักเรียนในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5.4 โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
4.
ผลจากการปฏิบัติ
โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
เช่น กิจกรรมคัดแยกขยะ กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และกิจกรรมขยะเป็นศูนย์ เป็นต้น นักเรียน จำนวน ๗๑ คน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๗ คน เข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการการพัฒนาทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่งมีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และ
มีความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้น
ยังมีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
- ผู้บริหาร
ซึ่งให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน
กำหนดนโยบายให้มีการจัดการเรียนรู้บูรณาการไว้ชัดเจนและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู
และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนา บุคลากรของโรงเรียน โรงเรียน
ได้จัดอบรมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดประชุมปฏิบัติการทางวิชาการเป็นประจำ เดือนละ
ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ทำให้บุคลากรมีการร่วมคิดร่วมทำ
ร่วมพัฒนางานและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นระบบยิ่งขึ้น
งานทุกงานที่ทำได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนของโรงเรียนทำให้การพัฒนางานมีระบบมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มตามศักยภาพ
- ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก
ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่างๆ
เป็นอย่างดีช่วยเหลือในการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนในเรื่องแหล่งเรียนรู้
- โรงเรียนกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ
อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคเรียน รวมทั้งการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งต้องจัดให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6
6.บทเรียนที่ได้รับ
การพัฒนาทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ
และโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของตนเองด้วยความภาคภูมิใจ
นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของครู
ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลต่อ
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
- นักเรียนมีความรู้
มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตมีพื้นฐานในการศึกษาเพื่อนำไปต่อยอด
- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน
–
ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
7. การเผยแพร่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊ค
โรงเรียนตำบลขุมทอง