Plan
(P) ขั้นตอนการวางแผน
1. ค้นหา ศึกษาข้อมูล
และแรงบันดาลใจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต
หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลงานการสร้างสรรค์
2. ประมวล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
สังเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของผลงานที่จะสร้างสรรค์
3.
ศึกษากรรมวิธีในการเย็บปักพัตราภรณ์
4. การวางแผนออกแบบและร่างภาพผลงานการสร้างสรรค์ชุดเครื่องแต่งกายประกอบการโขน ละครรำไทย
Do (D) ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ดำเนินกิจกรรม
โดยโรงเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนมีทักษะชีวิต เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเองส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนในกิจกรรม
“โครงงาน”
2.
ออกแบบและร่างภาพผลงานการสร้างสรรค์ชุดเครื่องแต่งกายประกอบการโขน
ละครรำไทย
3.
นักเรียนลงมือเย็บปักพัตราภรณ์
4. เริ่มกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคการเย็บปักถักร้อยตามกระบวนการวิธีแบบ ที่ประยุกต์มาจากแบบโบราณ
Check (C) ขั้นตอนการตรวจสอบ
1. นักเรียนตรวจสอบชิ้นงานของตนเอง
2. ครูตรวจสอบชิ้นงานนักเรียน
Action (A) ขั้นตอนการประเมินผล
ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา
สรุปผลที่ได้รับ
นำเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานนักเรียน
ผลจากการจัดกิจกรรมสู่โครงงานสร้างสรรค์ชุดประกอบการแสดงโขน
ละครรำไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการศึกษาและการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและการสร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่อง
มีส่วนช่วยในพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานไปอย่างมีคุณภาพ
และวางแผนเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
จึงเกิดการพัฒนางานไปอย่างมีคุณภาพและสำเร็จลุล่วงได้ดี สรุปผลได้ดังนี้
1.
นักเรียนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เทคนิคกระบวนการเย็บปักผ้าชุดโขน ละครรำไทย
2.
นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานชุดเครื่องแต่งกายประกอบการแสดงโขน
ละครรำไทยและนำไปใช้ประกอบการแสดงในกิจกรรมของโรงเรียน และชุมชน
3.
นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษาหาความรู้
4.
นักเรียนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์ชุดประกอบการแสดงโขน ละครรำไทย
5. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ
ส่งเสริมและอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบต่อไป