2.วัตถุประสงค์
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยวิธีการต่างๆได้
3 เพื่อให้นักเรียนรับรู้
และตระหนักถึงปัญหาเรื่องผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อม
4 เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
5 เพื่อนำความรู้ที่เรียนมาไปสร้างสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
3. เป้าหมาย
3.1. ด้านปริมาณ
1. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง เช่น
กิจกรรมคัดแยกขยะ กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และกิจกรรมขยะเป็นศูนย์ เป็นต้น นักเรียน จำนวน ๗๑ คน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๗ คน เข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
3.2. ด้านคุณภาพ
1. นักเรียน สามารถลด
คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างถูกวิธี
2. นักเรียน
มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย และมีความซื่อสัตย์สุจริต
3. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
เช่น กิจกรรมคัดแยกขยะ กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และกิจกรรมขยะเป็นศูนย์ เป็นต้น
4. นักเรียน
จำนวน ๗๑ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๗ คน เข้าร่วมกิจกรรม
การเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
3.กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนการพัฒนาระบบเกี่ยวกับการจัดการขยะ
วิธีการพัฒนาตามข้อตกลงของโครงการดังกล่าว
โรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ) มีแนวทางการพัฒนาผู้เรียน
โดยมีระบบบริหารงานสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหารงาน แบ่งออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป
โดยมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ โดยยึดหลักการความร่วมมือ
ทำให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มระดับคุณภาพ
ที่ประสบความสำเร็จ ปรับปรุงคุณภาพที่ยังไม่ได้ตามมาตรฐานหรือเป้าหมายต่อไป
3.1 ขั้นการร่วมวางแผน (CP)
ได้เชิญประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพ
โดยได้จัดทำ
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero
Waste School) ระบุกิจกรรมต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่ออนุมัติ
3.2 ขั้นร่วมดำเนินการ (CD)
3.2.1 กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของโรงเรียน
3.2.2 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
โดยมอบหมายงานแต่ละคนรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ประชุมวางแผนเตรียมการบุคลากร วัสดุ
อุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณ
3.2.3 ดำเนินกิจกรรมตามความรับผิดชอบโดยมีการดำเนินงานตามประเด็นในการพัฒนาโดยวิธี
KTMS ดังนี้
1) ขั้นรับรู้ และการสร้างความตระหนัก (Knowledge and awareness)
ประชุมคณะครู
มอบหมายความรับผิดชอบ อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้การ
คัดแยกขยะ
มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีกิจกรรมคัดแยกขยะ , กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ ,
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้ , กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร , กิจกรรมขยะเป็นศูนย์(เฉพาะโรงอาหาร)
โดยใช้เวลาหน้าเสาธง และช่วงก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย
มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการแบบบ้านทักษะชีวิต
แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยคละชั้นตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
และกิจกรรมต่างๆ
2) ขั้นฝึกซ้อม (ลดปัญหา) (Training)
ทดลองการจัดการขยะด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ได้แก่
2.1) กิจกรรมคัดแยกขยะ เป็นขยะที่นำไปใช้ใหม่ได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ
เช่น นำไปขาย หรือประดิษฐ์เป็น ของเล่น
ของใช้ โดยการให้ความรู้แก่นักเรียนในการจัดการขยะ ในกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้าและกิจกรรมบ้านทักษะชีวิต
2.2) กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ ให้ความรู้แก่นักเรียนรู้จักขยะที่ย่อยสลายและไม่ย่อยสลาย
ขยะบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้หรือประดิษฐ์เป็นของเล่น หรือของตกแต่ง ของใช้
ตามแต่จินตนาการของตนเอง
2.3) กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้ ทิ้งขยะในถังขยะให้ถูกที่
ฝึกวินัยในการรักษาความสะอาด เลือกทิ้งขยะในถัง ที่คัดแยกขยะ ตรงกับขยะในมือ ซึ่งบริเวณโรงเรียนมีต้นไม้จำนวนมาก
ทำให้มีใบไม้ล่วงหล่นทุกๆ วัน ดังนั้นนำจึงนำมาทำปุ๋ยหมัก แทนที่จะทำลายด้วยการเผา
ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
2.4) กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ให้ความรู้แก่นักเรียนรู้จักขยะที่ไม่ย่อยสลายและขยะที่ย่อยสลาย
ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
2.5) กิจกรรมขยะเป็นศูนย์(เฉพาะโรงอาหาร) เมื่อแม่ครัวประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อย
จะพบว่ามีขยะจากการประกอบอาหาร เช่นเปลือกไข่ เปลือกผลไม้ เศษผัก และเมื่อนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จ
มักจะมีเศษอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้หรือเศษอาหารเล็กๆ เมื่อรวมๆแล้วมีค่อนข้างมาก
จึงควรกำจัดให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจเป็นแหล่งเชื้อโรคได้
การดำเนินงานในขั้นนี้จะมีผู้รับผิดชอบได้แก่
ครูประจำเขตพื้นที่ ครูเวรประจำวัน และคณะนักเรียนแกนนำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero
Waste School)
3) ขั้นจัดการ (กำจัดปัญหา) (Management)
3.1) การจัดการขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด
ด้วยการจัดที่สำหรับเก็บขยะเตรียมเก็บโดยหน่วยเก็บขยะของสำนักงานเขต
ด้วยการจัดถังสำหรับการแยกขยะก่อนทิ้ง ประกอบไปด้วย ถังสำหรับทิ้งขยะทั่วไป
ถังสำหรับทิ้งขวดแก้ว ถังสำหรับทิ้งขวดพลาสติก และถังสำหรับทิ้งกล่องนม
3.2) การบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ส่วนที่เหลือจากการนำกลับมาใช้ในโรงเรียนด้วยวิธีการจำหน่ายให้กับโรงรับซื้อขยะ
- บูรณาการสอนด้วยการนำขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้
ด้วยการประดิษฐ์เป็นของเล่น และของใช้ที่มีประโยชน์ ในกิจกรรม “ขยะสร้างสรรค์”
- จัดกิจกรรมประกวดชุดรีไซเคิล
ซึ่งจัดให้มีการประกวดในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ การดำเนินการในขั้นนี้มีครูผู้รับผิดชอบโครงการ
และครูประจำวิชา เป็นผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรม
4) ขั้นสร้างความยั่งยืน (Sustainability)
การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการดำเนินการ
อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการดังนี้
- กำหนดเป็นมาตรการ
การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนตำบลขุมทอง(ประชาอุทิศ)
เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทุกคน ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
- ให้การรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยการให้ความรู้หน้าเสาธง
และประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน และชุมชน ด้วยหลักการ 4R ดังนี้
Reduce – การลดปริมาณการใช้ลง
โดยใช้เท่าที่จำเป็นขยะ หลีกเลี่ยงการใช้อย่างฟุ่มเฟือย
เพื่อลดการสูญเปล่าและลดปริมาณขยะให้มากที่สุด
Reuse – การนำของเสีย
บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกโดยไม่ผ่านการแปรรูปหรือแปรสภาพ
Repair - นำสิ่งของที่ยังพอแก้ไขได้มาซ่อมแซมให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
Recycle - การนำขยะมารีไซเคิล
นำของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้
มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตหรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
3.3 ขั้นการร่วมตรวจสอบ (CC)
ได้รับการนิเทศโดยผู้บริหารเพื่อนครู
ผู้ปกครองนักเรียน เป็นการประเมินผลร่วมกันทุกระยะ
3.4 ขั้นตอนประเมินและปรับปรุง
(CA)
เป็นการวัดและประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
โดยคณะกรรมการประเมินจัดทำและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอที่ประชุม
พัฒนาปรับปรุงงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและพัฒนาต่อยอดงานที่ประสบความสำเร็จและทำการสรุปและรายงานผล
4. ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 บุคลากร
และนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4.2 มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
4.3 สภาพแวดล้อมดีขึ้น
ไม่มีมลพิษในสิ่งแวดล้อม
4.4 นักเรียนตระหนัก
มีจิตสำนึก เรื่องความสะอาดและการคัดแยกขยะ
4.5 นักเรียนสามารถนำขยะที่มีประโยชน์ไปรีไซเคิล
ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
4.6 เกิดความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะให้เป็นระบบภายในโรงเรียน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
และการได้รับการยอมรับ
5.1 ได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากผู้บริหาร
5.2 นักเรียนและบุคลากรให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วยดี
5.3 ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมนักเรียนในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5.4 โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
4.
ผลจากการปฏิบัติ
โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
เช่น กิจกรรมคัดแยกขยะ กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ กิจกรรมปุ๋ยหมักจากใบไม้
กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และกิจกรรมขยะเป็นศูนย์ เป็นต้น นักเรียน จำนวน ๗๑ คน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๗ คน เข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะประเภทต่าง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการการพัฒนาทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ครูผู้สอนซึ่งมีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และ
มีความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้น
ยังมีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้แก่
- ผู้บริหาร
ซึ่งให้ความสำคัญ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน
กำหนดนโยบายให้มีการจัดการเรียนรู้บูรณาการไว้ชัดเจนและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู
และพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนา บุคลากรของโรงเรียน โรงเรียน
ได้จัดอบรมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดประชุมปฏิบัติการทางวิชาการเป็นประจำ เดือนละ
ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ทำให้บุคลากรมีการร่วมคิดร่วมทำ
ร่วมพัฒนางานและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นระบบยิ่งขึ้น
งานทุกงานที่ทำได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนของโรงเรียนทำให้การพัฒนางานมีระบบมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มตามศักยภาพ
- ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก
ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่างๆ
เป็นอย่างดีช่วยเหลือในการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนในเรื่องแหล่งเรียนรู้
- โรงเรียนกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ
อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคเรียน รวมทั้งการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งต้องจัดให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6
6.บทเรียนที่ได้รับ
การพัฒนาทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ
และโครงการโรงเรียนต้นแบบตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของตนเองด้วยความภาคภูมิใจ
นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของครู
ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลต่อ
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
- นักเรียนมีความรู้
มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตมีพื้นฐานในการศึกษาเพื่อนำไปต่อยอด
- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน
–
ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
7. การเผยแพร่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊ค
โรงเรียนตำบลขุมทอง