1.
แต่งตั้งกรรมการในการดำเนินงานขับเคลื่อน กระบวนการ SLC
2. มอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน จับคู่Model
Teacher และ Buddy Teacher
3. กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานแผนการประชุม SLC โรงเรียนวัดหัวลำโพง
3.1 สำรวจข้อมูลของโรงเรียน
1.
ต้นทุนที่มี
2.
วัตถุประสงค์ ความต้องการ
3. วางแผนการทำงาน
4. ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น
3.2 กำหนดวัตถุประสงค์ ความต้องการในการพัฒนา
1.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น O-net ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.
นักเรียนอ่านเขียนคล่อง
3.
ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
โดยนำสื่อเทคโนโลยีที่มีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ
4.
นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่
1. กำหนดวัน เวลาสำหรับ การทำ Lesson Study ของแต่ละคู่และการประชุมระดับ
2. Model
Teacher และ Buddy Teacher เล่าแผน และแลกเปลี่ยนมุมมองและการเรียนรู้ระหว่างกัน
3. สังเกตชั้นเรียน โดยคู่ Buddy Teacher ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล
4. การสะท้อนคิด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผลที่เกิด บทเรียน
สิ่งที่ต้องการทำต่อไป ข้อเสนอแนะ
5.
จัดกิจกรรม Symposium เพื่อถอดบทเรียน
สะท้อนคิด สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
1.
โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ในฐานะโรงเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้
(SLC) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางรัก
2.
โรงเรียนได้รับการพัฒนาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างความร่วมมือ
3.
ครูได้รับการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
แบบร่วมมือรวมพลัง
(Collaborative
Leaning) การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน(Lesson Study) และการโค้ช (Coach)
4 ครูเกิดการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอน เกิดการพัฒนาแบบ Going together คือการเติบโตไปด้วยกัน
ผ่านการเรียนรู้กันและกัน ครูจะคุยกันเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก
แต่ละคนเรียนรู้อย่างไร การอ่าน การเรียนรู้ของเด็กอย่างไร ซึ่งส่งผลให้ครูหาวิธีการที่อยู่บนฐานวิชาการกับประสบการณ์สองอย่างรวมกันแล้วมาลองแก้ปัญหาช่วยกันว่าจะทำอย่างไรและหาวิธีปรับที่เหมาะสมพอที่จะช่วยเด็กซึ่งสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญ
สู่คุณภาพของผู้เรียน
5. ครูรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ
ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น
ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา
เกิดแรงแนวทางที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนต่อไป
6. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีนิสัยรักการอ่านสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่