สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
พัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์สู่ Reading Hero
โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
กระบวนการพัฒนา

1. การเปิดใจ (H)

1.1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การเปิดใจยอมรับรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และหาแนวทาง การแก้ไขปัญหา

1.2 ประชุม ปรึกษาหารือ ดำเนินการศึกษารูปแบบ แนวทางการโครงการพัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์สู่ Reading Hero เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน หลักสูตรกรุงเทพฯศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา

1.3 การวางรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงาน

2. การศึกษาปัญหา (Education)

2.1 ครูผู้สอนศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรกรุงเทพฯศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐาน ตัวชี้วัด หนังสือเรียน เพื่อทำโครงการพัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์สู่ Reading Hero

2.3 ผู้บริหารตรวจสอบความถูกต้อง และอนุมัติใช้ใบงาน

2.4 กำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการ

3. การตอบสนอง (Reaction)

3.1 ดำเนินโครงการพัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์สู่ Reading Hero ดังนี้

          3.1.1 กิจกรรม Reading Hero

          3.1.2 กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด

3.1.3 กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ

3.1.4 กิจกรรมนิทานในสวน

3.1.5 กิจกรรมค่ายภาษาไทย

3.2 วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน

3.3 การประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานจากครูผู้สอน และสรุปผลการดำเนินงาน ตรวจสอบความสอดคล้อง หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

3.4 การดำเนินการ (Operation)

                   1. การรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ

                   2. วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา

                   3. การประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน

                   4. ตรวจสอบความสอดคล้องของแผนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ได้


ผลจากการปฏิบัติ

1. ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์

ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานักอ่านรุ่นเยาว์สู่ Reading Hero พบว่านักเรียนร้อยละมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้นำทางการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินผู้เรียนรายบุคคลในด้านทักษะการอ่าน การเขียน ของผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 93.53 เช่นเดียวกับผลการประเมินการอ่าน NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดีขึ้นไปเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตั้งแต่ระดับดี ขึ้นไปมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 95.33

2. ผลสัมฤทธิ์ของงาน

โรงเรียนสามารถโครงการเพื่อพัฒนาการอ่าน ที่นำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน เป็นระบบ และบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

          3. ประโยชน์ที่ได้รับ

3.1 โรงเรียนมีการทบทวนหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และทันสมัย

3.2 โรงเรียนมีนวัตกรรมที่สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

3.3 การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้า และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ



เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]