1
เสนอรายละเอียดกิจกรรมกับผู้บริหารสถานศึกษา
2. ประชุมคณะครูและบุคลากรในการบูรณาการเกษตรพอเพียง
เข้าในรายวิชา หรือบ้านทักษะของครูแต่ละท่าน และแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับชอบ
3. กำหนดแผนงานการดำเนินการดังนี้
3.1 กิจกรรมโรงเรียนเด็กกินผัก
.3.2 กิจกรรมตลาดนัดพอเพียง
.3.3 กิจกรรมเครือข่ายพอเพียง
4. นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติจริงในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆที่ครูสอน
5. ขยายผลความรู้ไปสู่ครอบครัวและชุมชน
6. นำผลผลิตที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน มาใช้บำรุงผักสวนครัว ต้นไม้
ในโรงเรียนหรือที่บ้าน
และนำส่วนที่เหลือมาจำหน่ายที่ตลาดนัดพอเพียงที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น
7. ครูประเมินกิจกรรมร่วมกัน
8. ประเมินกิจกรรมทุกขั้นตอน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา
โครงการประกอบด้วย
1. กิจกรรมโรงเรียนเด็กกินผัก
กิจกรรม |
รายละเอียดการทำกิจกรรม |
กิจกรรมปลูกผักแบบ
STEAM |
การเรียนรู้ด้วยการบูรณาการศาสตร์พระราชาผ่านกิจกรรมด้วยการเรียนการสอนแบบ
STEAM
(Science-Tech-Engineer-Art-Maht) กิจกรรมขยะ(แห้ง)แปลงร่าง
ประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกหรือวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมชาวนาน้อย การปลูกข้าวในกระถาง การปลูกผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ
และพืชสมุนไพร การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) |
กิจกรรมปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ |
จัดกลุ่มให้นักเรียนปรุงอาหารตามกำหนด
โดยให้มีส่วนประกอบของผักหรือผลไม้ อนุบาล
อาหารดีมีประโยชน์ นักเรียนชั้น ป.1 ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน นักเรียนชั้น ป.2 เมนูจากไข่และปลูกต้นอ่อนทานตะวัน นักเรียนชั้น ป.3 อาหารจากผักสวนครัวและปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง นักเรียนชั้น ป.4 เมนูไม้ดอกไม้ประดับกินได้ นักเรียนชั้น ป.5 ทำอาหาร ตลาดนัดชวนน้องกินผัก นักเรียนชั้น ป.6 ทำอาหารไทยจากสมุนไพรไทย |
กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ |
- การส่งเสริมความรู้
ความตระหนักเกี่ยวกับหลักการบริโภค และประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้
โดยใช้ป้ายนิเทศภายในบริเวณโรงอาหาร - การส่งเสริมความรู้
ความตระหนักเกี่ยวกับหลักการบริโภค
และประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้โดยการผลิตสื่อแผ่นพับ “กินดี มีสุข”
ทุกเดือน แจกให้กับเด็กนักเรียนทั้งโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน
|
2.
กิจกรรมตลาดนัดพอเพียง
2.1
การดำเนินกิจกรรมตลาดนัดพอเพียง ดังนี้
- ร้านค้าต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 3 คน
- สินค้าต้องเป็นสินค้า
ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองหรือให้ผู้ปกครองช่วยนิดหน่อย
-
สินค้าจะต้องทำมาจากเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น ดินพร้อมปลูก ปุ๋ยหมัก สบู่ทำเอง
น้ำยาอเนกประสงค์
เสื้อผ้ามือสอง ของเล่นประดิษฐ์เองหรือมือสอง หนังสือมือสอง
ผักไร้สารพิษที่ปลูกเอง เป็นต้น
-
สินค้าต้องไม่เป็นอันตรายกับผู้ซื้อ
- ราคาสินค้าต้องไม่เกิน ชิ้นละ 20
บาท
- ต้องมีป้ายร้านและราคาสินค้า
2.2
เปิดตลาดพอเพียงทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน
ในตลาดนัดนี้นอกจากจะมีร้านขายของนักเรียนแล้ว
ยังมีการเปิดรับซื้อขยะรีไซเคิล
และบูทในการให้ความรู้เกี่ยวกับการแยกและกำจัดขยะอีกด้วย
2.3 ผู้ขายทุกร้านต้องบันทึกรายรับ รายจ่าย กำไร
และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการร่วมกิจกรรมนี้
2.4
ขยายผลความรู้ไปสู่ครอบครัวและชุมชน
ด้วยการให้นักเรียนเชิญชวนผู้ปกครองและชาวบ้าน
มาร่วมกิจกรรมนี้ที่โรงเรียน
2.5 ครูที่บูรณาการกิจกรรมนี้กับวิชาตนเองสามารถวัดประเมินผลตามตัวชี้วัดของวิชาได้
3.
กิจกรรมเครือข่ายพอเพียง
3.1 ประชาสัมพันธ์
ให้ผู้ปกครองรับทราบเกี่ยวกับกิจกรรม คือ
-
เชิญชวนทุกคนร่วมศึกษาและลงมือปฏิบัติไปพร้อมกัน
ผ่านกิจกรรมที่นักเรียนได้เรียนที่โรงเรียน ได้แก่ การปลูกผักไร้สารพิษไว้กินเอง
การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำสบู่ การเลี้ยงไส้เดือน
การลด แยก กำจัด ขยะชนิดต่างๆ ในครัวเรือนของตนด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น พร้อมกับบันทึก ภาพถ่าย หรือ คลิปวีดีโอ
การพึ่งพาตนเอง พร้อมบรรยาย ส่งมาในแฟนเพจ ผัก ปลูก เด็ก
- เชิญชวนผู้ปกครองและนักเรียนขยายเครือข่ายพอเพียงก็เพียงพอ
ไปยังเพื่อนบ้านในชุมชนของตน
3.2
ทางโรงเรียนจะมีการจัดอบรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการลด แยก กำจัด
ขยะด้วยวิธีต่างๆให้กับผู้ปกครองและผู้ที่สนใจ
3.3
คณะกรรมการคัดเลือก ยอดคุณครู และครอบครัวพอเพียงก็เพียงพอ ประจำสายชั้นต่างๆ
เพื่อรับรางวัลและแบ่งปันประสบการณ์ ในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของตน
1.
นักเรียนได้นำความรู้ตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
คิดเป็นร้อยละ 92.96
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
คิดเป็นร้อยละ 91.84