ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ในปีการศึกษา
2561 ถึงปัจจุบัน มีการส่งเสริมการพัฒนาการอ่านอย่างเป็นระบบโดยกำหนดกรอบ
แนวคิด
ซึ่งศึกษาการถอดบทเรียนความสำเร็จของการดำเนินการการพัฒนาการอ่าน (Best
practice) ของโรงเรียน
เป็นกรอบการดำเนินการร่วมกับทฤษฎีหลัก ประกอบด้วย ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist
Theory) ทฤษฎีระบบ (System Theory) วงจรคุณภาพ (Deming Cycle) ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)
และทฤษฎีของการจูงใจ (Theories of motivation) ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบชัดเจนมีความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหาร
ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และผู้เรียน โดยมีการวางแผนพัฒนาจากนโยบายกระบวนการวิธีการ
ในปีการศึกษาที่ผ่านมาและเพิ่มเติมโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการอ่าน
มีการประชุมชี้แจงอภิปราย กำหนดนโยบายและแนวทางแก้ปัญหาการอ่านร่วมกันทุกฝ่าย
ตลอดจนมีการสร้างสื่อนวัตกรรมหนังสือเล่มเล็ก ที่ครอบคลุมทุกระดับชั้นเรียนเพื่อสะดวกในการนำไปใช้พัฒนาผู้เรียน
สร้างแบบทดสอบการอ่านและเกณฑ์ การประเมินการอ่านแต่ละระดับชั้นอย่างชัดเจน
มีการทดลองใช้เครื่องมือและนำไปปรับปรุงให้มีความถูกต้อง แล้วนำมาใช้ประเมินการอ่านทุกเดือน
ทุกระดับชั้น สรุปผล ประเมินผล
และรายงานผลอย่างเป็นระบบและนำมาพัฒนา
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่านเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนทุกคน
ทุกระดับชั้น ส่งผลให้การพัฒนาการอ่านของโรงเรียนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
จึงถือเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านของโรงเรียน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก-ไม่คล่อง
2. เพื่อพัฒนาทักษะและคุณลักษณะด้านการอ่านของผู้เรียน
3. เพื่อผดุงคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียน
4.
ส่งเสริมความเป็นเลิศทักษะด้านการอ่านของผู้เรียน
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
และ/หรือ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
เชิงปริมาณ
-
ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 100
ผ่านการประเมินการอ่าน
เชิงคุณภาพ
-
ผู้เรียนร้อยละ 100
มีผลการประเมินการอ่านผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนร้อยละ 70
- ผู้เรียนร้อยละ 100
มีผลการประเมินการอ่านผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักการศึกษาร้อยละ 70
๒. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา FIOW Chart (แผนภูมิ)
ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
สอนซ่อมเสริม |
จากแผนภูมิข้างต้นมีวิธีการดำเนินงานดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์
SWOT และทำ TOWS Matrix
ด้านการอ่านผู้เรียนโรงเรียนวัดกำแพง
2. ประเมินสภาพการอ่านของผู้เรียนทุกระดับชั้น วิเคราะห์และคัดกรองการอ่านของผู้เรียน
แบ่งเป็นกลุ่ม
อ่านไม่ออก กลุ่มอ่านไม่คล่อง และกลุ่มอ่านคล่อง
3.
ประชุมครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน
เพื่อหาแนวทางและกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาการอ่าน
ตลอดจนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
โดยแบ่งผู้เรียนที่มีปัญหาการอ่านให้ครูทุกคนรับผิดชอบสอนอ่าน พร้อมทั้งมีการรายงานผลอย่างเป็นระบบ
4.
คณะครูร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์
และสร้างสื่อนวัตกรรมหนังสือเล่มเล็กคำพื้นฐานระดับชั้นเรียน
เพื่อนำมาให้ครูและผู้ปกครองใช้สอนและทบทวนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านให้กับผู้เรียนตลอดจนให้ผู้เรียนฝึกอ่านอย่างสม่ำเสมอ
5.
ประชุมผู้ปกครองของผู้เรียนที่มีปัญหาการอ่าน ชี้แจง อภิปราย
กำหนดนโยบายในการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาการอ่าน
โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการอ่าน
คือให้ผู้เรียนอ่านหนังสือให้ผู้ปกครองฟัง แล้วบันทึกคำที่อ่านไม่ได้
ลงในสมุดบันทึก และนำมาฝึกอ่านกับครูผู้รับผิดชอบเพื่อฝึกอ่านคำหรือข้อความนั้น ๆ ให้ถูกต้อง
6.
โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของผู้เรียนอย่างชัดเจน
โดยจัดให้ผู้เรียนอ่านหนังสือ
ตามความสนใจในช่วงเช้าเวลา 06.30-07.45
น. ซึ่งมีการจัดตะกร้าหนังสือที่หลากหลายและเพียงพอให้กับผู้เรียนทุกชั้นเรียน
ทั้งนี้มีครูและผู้เรียนกลุ่มแกนนำมาช่วยดูแลการอ่าน
และสอนผู้เรียนกลุ่มที่มีปัญหาการอ่าน
ทุกวัน
7.
โรงเรียนสร้างแบบฝึกเพื่อใช้ประเมินการอ่านของผู้เรียนทุกระดับชั้นเรียนทุกเดือน
นำมาทดสอบและ
รายงานผลทุกเดือนอย่างเป็นระบบเพื่อนำผลมาพัฒนาต่อไป
3.1
โรงเรียนมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (Reading
Test :
RT) สูงกว่า ระดับจังหวัด ศึกษาธิการภาค สังกัด และระดับประเทศ
3.2 โรงเรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ
ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (National
Test
: NT) สูงกว่าหน่วยงานต้นสังกัดและระดับประเทศทุกด้าน
3.3 โรงเรียนมีผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Ordinary
National Educational Test : O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าระดับจังหวัด สังกัด ภาคและระดับประเทศ
3.4
นำแนวทางการพัฒนาการอ่านภาษาไทยถอดบทเรียนไปใช้ในการพัฒนาภาษาอังกฤษส่งผลให้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีผลการประเมินการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Ordinary
National Educational Test
: O-NET) สูงกว่าระดับประเทศ
3.5 ผู้เรียนทุกคนมีผลพัฒนาการอ่านดีขึ้น
4.
บทเรียนที่ได้รับ
กระบวนการพัฒนาการอ่านของโรงเรียนนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
ๆ ได้
5.
ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 ความร่วมมือของบุคลากรครู
ผู้ปกครองและผู้เรียน
5.2 นโยบายด้านการบริหารจัดการ กระบวนการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
5.3
กระบวนการประเมินผลและนำมาใช้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจริง ๆ
5.4
มีรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยความจริงใจ
6.
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ และ/หรือรางวัลที่ได้รับ
6.1
โรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประถมศึกษา การแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน ครั้งที่ 27
6.2 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับคุณธรรม
จริยธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การประกวดความสามารถของนักเรียนที่ศึกษาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร“การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
ในกรุงเทพมหานคร”
6.3 นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และรางวัลชมเชยอันดับ 2 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
การแข่งขันการอ่านบทร้อยกรองทำนองเสนาะ การแข่งขันทักษะทางวิชาการเครือข่ายที่ 71
- 72 ประจำปีการศึกษา 2566
6.4
เผยแพร่ผลงานการพัฒนาการอ่านให้กับโรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน
6.5 เผยแพร่ผลงานการพัฒนาการอ่านผ่านการจัดนิทรรศการวิชาการเขตบางขุนเทียน