ขั้นที่
1 ขั้นวางแผน (P)
1.2 ประชุมชี้แจง
วางแผนการดำเนินงาน
1.2
มีการศึกษาวิเคราะห์สภาพความต้องการอาชีพที่นักเรียนสนใจ
และสามารถปฏิบัติได้ในทุกระดับชั้น
1.3
กำหนดเป้าหมายและรูปแบบการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ โดยการปฏิบัติในชั่วโมงชมรม
และวิชาการงานอาชีพ ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ STAM ดังนี้
- Science ศึกษาเรื่องลักษณะของเมล็ดพืช และการเจริญเติบโตของพืช ในระยะต่าง ๆ
-
Technology สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยการใช้ดิน
และการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
- Engineering ลงมือออกแบบการจัดวางรางปลูกผัก
การวางท่อน้ำในการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ทั้งรูปแบบระบบน้ำนิ่ง และระบบน้ำวน
- Mathematics ใช้การคิดและคำนวณ
ปริมาณของน้ำที่เหมาะสมกับพืชในแต่ละระยะการเติบโต และใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในการประมาณค่า
การเจริญเติบโต อัตราการงอกของเมล็ดพืช
เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากและดีที่สุด
ขั้นที่
2 ขั้นปฏิบัติ
2.1 จัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการทำงาน การปฏิบัติจริง
การะบวนการกลุ่ม การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรมในการทำงาน รักการทำงาน มีความรับผิดชอบ
ในชั่วโมงชมรมและวิชาการงานอาชีพโดยฝึกฝนทักษะในการปลูกผักเพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างยั่งยืน
2.2 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะจนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและดูแลตลอดการปฏิบัติงาน
2.3
ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะจนเกิดความชำนาญ
สามารถชี้แจงรายละเอียด ขั้นตอน การปลูกผักได้อย่างดี สามารถจะถ่ายทอด สอน หรือช่วยเหลือเพื่อนในการปฏิบัติงานได้
และสามารถนำผลการพัฒนาไปต่อยอดได้ในกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ
หรือสามารถนำไปพัฒนาต่อไปเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือนได้
ขั้นที่
3 ตรวจสอบ (C)
3.1
ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามเป้าหมายที่วางไว้โดยผู้บริหารสถานศึกษา
3.2
สรุปผลการประเมินผลการจัดกิจกรรม
ขั้นที่
4 ปรับปรุงแก้ไข (A)
4.1
นำผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน มาวิเคราะห์
4.2
นำผลที่ได้มาวางแผนปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้เพิ่มขึ้น
1. นักเรียนสามารถนำวิธีการเพาะเมล็ดผัก
ขั้นตอนการปลูกผักที่ได้เรียนรู้ ไปใช้ในการเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้ในอนาคต
2. นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้โดยหลากหลายพื้นที่ในโรงเรียน
3. นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานทางอาชีพ
และฝึกทักษะการทำงานให้นักเรียน
4. นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมด้านอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด
และความสนใจของนักเรียน
5. นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
6.นักเรียนได้มีการพัฒนาทักษะอาชีพตลอดจนได้รับการส่งเสริมให้สามารถหารายได้ในลักษณะเป็นผู้ช่วยงานหรือเป็นเจ้าของกิจการตนเองได้
7. นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือพัฒนาจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
8.นักเรียนมีความภาคภูมิใจตนเองและมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
9. นักเรียนได้ค้นพบความถนัดของตนเองก่อนตัดสินใจในการเลือกเส้นทางการศึกษาต่อ