สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การอ่าน
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
กระบวนการพัฒนา

๑. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เช่น นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานการอ่านการเขียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  นักเรียนมีสมาธิในการเรียนรู้สั้น  การจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมองของเด็ก (BBL) เป็นต้น

         ๒. ประชุมสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรและผู้ปกครอง ให้เห็นความสำคัญของภาษาไทย แม้ครูที่สอนสาระการเรียนรู้อื่น โดยเป็นแบบอย่างที่ดีและร่วมกันส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียน

         ๓. ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านและนำเสนอให้บุคลากรรวมทั้งนักเรียนทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

        ๔. ดำเนินการตามวัตถุประสงค์โดยมอบหมายให้ครูประจำชั้นดำเนินการปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัย

รักการอ่าน

        ๕. ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการควบคุม กำกับและติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่องรักการอ่าน

ที่โรงเรียน ในกิจกรรมที่ชื่อว่า “ หยุดทุกงานอ่านทุกคน” โดยให้นักเรียนอ่านหนังสือทุกคน และรับสมัคร

จิตอาสาที่อ่านหนังสือคล่องพาเพื่อนหรือน้องที่อ่านหนังสือไม่คล่องอ่านทุกวันตอนเช้า และในช่วงของการพักกลางวัน 

ในส่วนของการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียน ทางโรงเรียนได้มอบ

ใบกิจกรรมรักการอ่านให้กับนักเรียนกลับไปปฏิบัติที่บ้าน เมื่อนักเรียนกลับไปบ้านก่อนนอนต้องอ่านหนังสือให้ผู้ปกครองฟัง และผู้ปกครองต้องลงลายมือชื่อเพื่อลงความเห็นว่าผลการอ่านของลูกหลานเป็นเช่นไร กิจกรรมนี้นอกจากจะทำให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างความรักความผูกพันและความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยและสามารถพัฒนาเป็นครอบครัวรักการอ่านได้ในที่สุด

       ๖. ทางโรงเรียนดำเนินการให้มีกิจกรรมและโครงการทีสอดคล้องและเน้นการอ่านที่หลากหลาย 

เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและนำไปพัฒนาเพื่อดำเนินการอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืน


ผลจากการปฏิบัติ

       ๑. ความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนดีขึ้น จำนวนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีจำนวนลดลง บางห้องไม่มีนักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

       ๒. การเขียนลายมือของนักเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามขึ้น

       ๓. ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาไทยและให้ความร่วมมือกับโรงเรียนดีขึ้น

       ๔. สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง อบอุ่นและเป็นครอบครัวรักการอ่าน

       ๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการพัฒนาและสูงขึ้น

       ๖. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

       ๗. ผู้ปกครองให้ความมั่นใจ พึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนจึงได้นำลูกหลานมาเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

       ๘. คณะครูและบุคลากรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายตรงตามความสนใจของผู้เรียน

มีคะแนนจากการทดสอบ O-NET  สอบผ่านระดับประเทศในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยความคาดหวัง 

ในปีการศึกษาต่อๆ ไปนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ อ่านออก เขียนได้ ลายมือดี  ร้อยละ ๑๐๐ และผู้ปกครองทุกครอบครัวเป็นครอบครัวรักการอ่านอย่างยั่งยืน