๒. วัตถุประสงค์
๒.๑
เพื่อฝึกทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน โดยใช้หลักการของศาสนาอิสลาม
๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง
๒.๓
เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับผู้เรียน
๓.
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทำเป็น FLOW
ปัญหา |
ศึกษาสภาพปัญหา |
แนวทางแก้ไขปัญหา |
ดำเนินการ |
ประเมินผล |
สรุป |
๑.
ขาดการส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา
2. ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง
ศึกษาสภาพปัญหา
จากการศึกษาสภาพปัญหา
พบสาเหตุของปัญหาดังนี้
๑.
ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา
2.
ผู้เรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม
แนวทางแก้ปัญหา
๑.
นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
๒.
ประชุมคณะครูและบุคลากรเพื่อวางแผนงาน
3.
กำหนดวันเวลาในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ และผู้รับผิดชอบ
4.
ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน
5.
ประเมินผลและสรุปผลการกิจกรรมต่าง ๆ
6.
รวบรวมปัญหาและวางแผนเพื่อแก้ไขต่อไป
การดำเนินการ
ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมตามหลักปฏิบัติตน
5 ประการ ของศาสนาอิสลาม ดังนี้
1. การปฏิญาณตน
จัดกิจกรรมกล่าวคำปฏิญาณตนและอ่านอัล-กุรอาน
ทุกเช้า
2. การละหมาด
จัดกิจกรรมปฏิบัติศาสนกิจ
(ละหมาด) ทุกระดับชั้น เป็นประจำทุกวัน
3. การถือศีลอด
ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถ
ถือศิล-อด ในเดือนรอมฏอน
4. การบริจาคทาน
จัดกิจกรรมปันน้ำใจเพื่อคลายทุกข์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตใจเมตตา อ่อนโยนร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อนในสถานศึกษา
กรณีบิดา-มารดา เสียชีวิต
5. การประกอบพิธีฮัจญ์
จัดกิจกรรมค่ายคุณธรรมนำชีวิต
โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ และการปฎิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ในอนาคตต่อไป
ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตตามวิถีอิสลาม
ดังนี้
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่งกายถูกต้อง
ตามหลักศาสนาอิสลาม
2. จัดกิจกรรมอบรมจริยธรรม
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนอ่านทบทวนคัมภีร์
อัลกุร-อาน ก่อนปฏิบัติศาสนกิจทุกวัน
4. จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ภาษาอาหรับ
ภาษามลายู
5. จัดกิจกรรมของหายได้คืน
6. จัดทำโครงการโรงเรียนธนาคาร
(อิสลาม) หนองจอกพิทยานุสรณ์
7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักษาความสะอาด
ชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยการอาบน้ำละหมาด พร้อมทั้งพัฒนาบริเวณที่อาบน้ำละหมาดให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
8. ฝึกฝนให้นักเรียนรักษาเวลา
ด้วยการร่วมปฏิบัติศาสนกิจอย่างพร้อมเพรียงกัน
9. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาอัล-กุรอาน
เพิ่มเติมช่วงหลังเลิกเรียน
ประเมินผล
- สังเกตจากพฤติกรรมการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามวิถีอิสลาม
- สอบถามจากผู้ปกครอง
สรุป
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและมีทักษะชีวิตตามหลักศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง
๔. ผลการดำเนินการ
จากการส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนตามหลักปฏิบัติ 5 ประการ ของศาสนาอิสลามในสถานศึกษา ผลปรากฏว่า ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามวิถีของอิสลาม กล่าวคือ ผู้เรียนกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นประจำทุกวัน เพื่อขัดเกลาจิตใจของตนเอง อ่านและท่องจำคัมภีร์อัลกุร-อ่าน เพื่อฝึกสติและสมาธิ มีนิสัยรักษาความสะอาดด้วยการอาบน้ำละหมาดเพื่อชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนที่จะปฏิบัติละหมาดทุกครั้ง มีวินัยในตนเอง รู้จักรักษาเวลา เช่น ปฏิบัติละหมาดด้วยความตั้งใจ ละหมาดในเวลากำหนด เป็นต้น ผู้เรียนมีเมตตาและรู้จักการให้ในการร่วมกิจกรรมปันน้ำใจเพื่อคลายทุกข์ มีนิสัยประหยัดอดออม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฝากเงินกับโรงเรียนธนาคาร (อิสลาม) หนองจอกพิทยานุสรณ์ที่ปราศจากดอกเบี้ย และในช่วงเดือนรอมฏอน ผู้เรียนได้ฝึกถือศิล-อด ซึ่งเป็นการฝึกความอดทน เป็นการปรับสภาพร่างกายและฝึกจิตใจให้มีความอ่อนโยน ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายคุณธรรมนำชีวิต ซึ่งให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ และการปฎิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม ผู้เรียนตระหนักและให้ความสำคัญกับการแต่งกายที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้เรียนรู้อิสลามศึกษา มีความสามารถพื้นฐานในการสื่อสารภาษาอาหรับ ภาษามลายู มีทักษะชีวิตจากการส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักปฏิบัติ 5 ประการ ของศาสนาอิสลาม ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศตามแนวคิด “โรงเรียนดี วิถีอิสลาม”นี้ จึงส่งผลให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.
ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามวิถีอิสลาม
๒.
ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น
๓.
ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง
๔.
ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม
๕.
ผู้เรียนมีความเมตตากรุณา มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานสำเร็จ
มีดังนี้
๕.๑ การปฏิบัติงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA)
w
การวางแผน (Plan) ฝ่ายบริหารมีการจัดประชุมครูเพื่อวางแผน
ปรึกษาและมอบหมายงานต่างๆ
เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายไปจัดเตรียมงานให้พร้อมก่อนดำเนินการ
w
การปฏิบัติตามแผน (Do) ผู้รับมอบหมายงานปฏิบัติงานตามคำสั่งอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ตามขั้นตอนการทำงาน เป้าหมายคือผลงานทุกอย่างมีคุณภาพ
w การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน
(Check)
สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ
หากพบปัญหาหรืออุปสรรคที่ส่งผลให้งานไม่บรรลุตามเป้าหมาย จะรีบแก้ไขให้ทันเหตุการณ์
งานใดบกพร่องต้องรีบปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว
w การปรับปรุงแก้ไข (Act) เมื่องานเสร็จสิ้น
ก็จะประชุมครูเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
๕.๒ การสนับสนุนจากชุมชน
คณะกรรมการสถานศึกษา
คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนและมูลนิธิอัล-ฮุดา
มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) นี้เป็นอย่างมาก เพราะจุดเด่นของชุมชนนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ
การปฏิบัติตนตามวิถีอิสลาม ซึ่งสถานศึกษาปฏิบัติงานที่เป็นเลิศภายใต้แนวคิด
“โรงเรียนดี วิถีอิสลาม” ถือเป็นสิ่งที่ชุมชนพึงพอใจมากที่สุด
๕.๓ การสนับสนุนจากวิทยากร
สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนจากวิทยากรภายนอก
เช่น วิทยากรอิสลามศึกษา ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลาม
๖. บทเรียนที่ได้รับ
๑. การส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้อย่างถูกต้อง
ทำให้สถานศึกษาโดดเด่นในเรื่องการดำเนินชีวิตตามวิถีอิสลาม เรียนรู่คู่คุณธรรม
จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก
๒.
การดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
คณะผู้บริหารกำหนดแผนงานร่วมกับคณะครู
ครูนำไปปฏิบัติตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย
มีการตรวจสอบเพื่อค้นหาปัญหาและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม มีการวางแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
๗.
การเผยแพร่ การได้รับการยอมรับ รางวัลที่ได้รับ ปีการศึกษา 2566
๑. โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ เผยแพร่ผลงานการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
(Best
Practice) เรื่อง “โรงเรียนดี วิถีอิสลาม”
ในเครือข่ายโรงเรียนที่ ๔๕
2..
โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ ร่วมกิจกรรมการทดสอบการอ่านอัลกุรอานแบบมุร๊อตตั้ล
โครงการ “อ่านอัลกุรอานอย่างได้ ให้อัลลอฮ์ทรงพอพระทัย” วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566
3. ได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
ปีการศึกษา
2566 ดังนี้
วัน/เดือน/ปี ที่ได้รับ |
ชื่อ-สกุล |
ระดับรางวัล/ชื่อรางวัล/ ผลงานที่ได้รับ |
หน่วยงาน ที่มอบรางวัล |
4-6 กรกฎาคม
2566 |
1. เด็กหญิงจิรณัน สิงห์งาม 2. เด็กชายเตวิช บินสเล |
รางวัลชมเชย
การประกวดขับลำนำอนาชีดภาษาอาหรับ โครงการสอนอาหรับ |
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
|
4-6 กรกฎาคม
2566 |
1. เด็กชายพีระ สะละแม 2. เด็กหญิงรสิตา สุลง
|
รางวัลที่ 1 การประกวดสนทนาภาษาอาหรับ
ระดับมัธยมศึกษา โครงการสอนภาษาอาหรับ |
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
|
4-6 กรกฎาคม
2566 |
1.
เด็กชายสมิทธิ์ มะวา 2.
เด็กหญิงจิรัญญา จูเสือ 3.
เด็กหญิงฟาติมา สิทรัตตะกุล 4.
เด็กหญิงสมฤดี รุจิเงิน |
รางวัลที่ 1 การประกวดการแสดงละครภาษาอาหรับ
โครงการสอนภาษาอาหรับ |
|
7 กรกฎาคม 2566 |
1. เด็กชายนัทวัฒน์
นุชเนตร |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันอ่านมู่ร้อตตั้ล
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 |
เครือข่ายโรงเรียนที่ 45 สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร |
7 กรกฎาคม 2566 |
1. เด็กชายพัทธ์
โพธิ์ทอง |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันอ่านมู่ร้อตตั้ล
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 |
|
7 กรกฎาคม 2566 |
1. เด็กชายณัฐนาวี
ชูเลิศ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันอาซาน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 |
|
7 กรกฎาคม 2566 |
1. เด็กชายเตวิช
บินสเล |
รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันอาซาน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 |
|
๒๕ ตุลาคม 256๖ |
1. เด็กหญิงศิรินดา นุหมุดหวัง 2. เด็กหญิงปนัดดา ขันตรี ๓. เด็กชายวายุ สุลง |
ได้รับรางวัลที่ ๑ การพูดนำเสนอภาษามลายู
(คละชั้น) กิจกรรมการแข่งขันทักษะด้านภาษาต่างประเทศของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร |
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กชายพีระ สะละแม 2.
เด็กหญิงรสิตา สุลง
|
รางวัลชนะเลิศ การพูดนำเสนอภาษาอาหรับ
ม.1 - ม.3 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
การแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร“ช้างน้อยวิชาการ” ประจำปี พ.ศ.2567 สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร |
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กชายรัชตะ เรืองลาภ 2.
เด็กชายวิวัฒน์ โพธิ์โซ๊ะ 3.
เด็กชายอบูบากัร กอแต 4.
เด็กชายสุมิพล แจ่มช้อย 5.
เด็กหญิงฟาติมา สิทรัตตะกุล |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การแสดงละครภาษาอาหรับ
ม.1 - ม.3 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กหญิงปนัดดา ขันตรี 2.
เด็กหญิงศิรินดา นุหมุดหวัง
|
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การพูดนำเสนอภาษามลายู
ม.1 - ม.6 ทีมที่ 2 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กชายวายุ สุลง 2.
เด็กหญิงดุจดาว มีทองคำ 3.
เด็กหญิงสุมินตรา สังยารอ 4.
เด็กหญิงชลดา สนิสุริวงษ์ 5. เด็กหญิงศิริวรรณ อาหะหมัดอามีน |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การแสดงละครภาษามลายู
ม.1 - ม.6 ทีม 2 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กหญิงปาวารี บำรุง 2.
เด็กหญิงชนิตา ศาตศิลป์ 3.
เด็กหญิงปัญญดา เรืองนวล 4.
เด็กหญิงอภัสรา เต๊ะดอเลาะ 5.
เด็กชายสมิทธิ์ มะวา |
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การแสดงละครภาษามลายู
ม.1 - ม.6 ทีม 2 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กหญิงมัสลิน ศิริเจริญ 2.
เด็กหญิงจีรนันท์ ภู่สำลี
|
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การพูดนำเสนอภาษาอาหรับ
ป.4 - ป.6 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |
|
มีนาคม 2567 |
1.
เด็กหญิงพรไพลิน แย้มแสง 2.
เด็กหญิงฐิติวรดา มะหะมาน
|
รางวัลชมเชย อันดับ 2 การพูดนำเสนอภาษามลายู
ม.1 - ม.6 ทีม 1 (กลุ่่มภาษามลายููและภาษาอาหรัับ) |