วัตถุประสงค์
เพื่อดำเนินงานโรงเรียนให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ 5 ด้าน คือ
1 ด้านบริหารจัดการสถานศึกษา
2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ของสถานศึกษา ผู้บริหาร บุคลากรและนักเรียน
เป้าหมาย
1 ด้านปริมาณ
1.1 จำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 1042 คน
1.2 จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทุกคน 57 คน
1.3 จำนวนผู้ปกครองนักเรียน 1042 คน
1.4 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน
2 ด้านคุณภาพ
2.1 นักเรียนมีความรู้ความความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ เศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพ
2.2 ข้าราชการครูและบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำความรู้ความสามารถไปจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม
อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี
2.3 โรงเรียนได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างคุ้มค่า ทั้งอาคารสถานที่ แหล่งการเรียนรู้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
ของผู้ปกครองและชุมชนได้เป็นอย่างดี
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒)
พ.ศ.๒๕๔๕ วิสัยทัศน์ของกรุงเทพมหานครว่า “มหานครแห่งความพอเพียง”
และวิสัยทัศน์และนโยบายของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครในการให้ความรู้แก่นักเรียนผ่านกระบวนการศึกษา หลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและ
นอกสถานศึกษา รวมทั้งการเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
จัดการอาชีพและการงานอย่างชาญฉลาดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
1 ระยะเวลาดำเนินการ : 1 ปี (16 พฤษภาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567)
2 สถานที่ดำเนินการ : โรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด)
นักเรียนและเบุคลลากรโรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด)เข้าร่วมโครงการส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ความความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพและนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตทั้งในด้านการเรียนและในชีวิตประจำวันทำให้สามารถดำรงชีวืตในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสมดุลถูกต้องเหมาะสม ข้าราชการครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำความรู้ความสามารถไปจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี โรงเรียนได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างคุ้มค่า ทั้งอาคารสถานที่ แหล่งการเรียนรู้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ของผู้ปกครองและชุมชนได้เป็นอย่างดี ผลสำเร็จของโครงการคิดเป็นร้อยละ 96.77 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม