1.
ประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดโครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่
2.1 คณะกรรมการฝ่ายสถานที่ มีหน้าที จัดเตรียมสถานที่ปลูกผัก
เมล็ดพันธุ์เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดูแลความเรียบร้อยของสถานที่
2.2 คณะกรรมการเพาะเมล็ดพันธุ์ มีหน้าที่ เตรียมวัสดุเพาะกล้า
เตรียมสถานที่เพาะกล้า และดำเนินการเพาะกล้า รวมทั้งดูแล รดน้ำ
2.3 คณะกรรมการย้ายต้นกล้า มีหน้าที่เตรียมสถานที่ปลูกผัก
ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
2.4 คณะกรรมการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต มีหน้าที่ รดน้ำผัก ใส่ปุ๋ย พรวนดิน ป้องกันโรค กำจัดวัชพืช ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พร้อมทั้งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำมาจำหน่ายและแบ่งปัน
2.5 คณะกรรมการดูแลรักษาการออกดอก ติดผล เก็บเมล็ดพันธุ์
เพื่อนำเมล็ดพันธุ์มาทำความสะอาด ลดความชื้น เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
2.6 คณะกรรมการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ มีหน้าที่
รวบรวมเมล็ดพันธุ์และจัดเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อ และแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ในกับนักเรียน
/ ชุมชน
2.7 คณะกรรมการฝ่ายบันทึกภาพ และประเมินผล มีหน้าที่เก็บรวบรวมภาพ
และจัดทำแบบประเมินผลการจัดทำกิจกรรมสวนเกษตรพอเพียง
3.
สร้างนักเรียนแกนนำ เพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูล ความรู้
และร่วมมือกับครูในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
4.
การกำกับ ติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานทุกวันที่ 1 และ 16
ของทุกเดือน
1. โรงเรียนมีแปลงผักสวนครัว
เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนบริเวณโดย รอบ ๆ โรงเรียน อีกทั้งโรงเรียนยังมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
สามารถลดฝุ่นละอองในอากาศได้เป็นอย่างดี และเอื้อต่อการเรียนรู้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมีประโยชน์อย่างมาก
2. นักเรียน ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะการปลูกผัก
การดูแลรักษา การกำจัดศัตรูพืชโดยใช้วิธีธรรมชาติ
ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดสารพิษและมีรสชาติดีกว่าผักตามท้องตลาด และสามารถนำความรู้ไปแนะนำกับชุมชนได้
3. โรงเรียนมีเครือข่ายให้การสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดปลูกผักสวนครัว
เช่น ฝ่ายสิ่งแวดล้อมสำนักงานเขตคลองสามวา