นวัตกรรม “การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร”
เป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3ช คือ การใช้น้อยหรือลดการใช้ (REDUCE) การใช้ซ้ำ (REUSE) การนำมาแปรรูปใช้ใหม่ (RECYCLE)
และบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยวัตถุประสงค์สำคัญในการพัฒนาทั้งด้านความรู้
ด้านทักษะที่เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการขยะ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์ผู้เรียนแห่งมหานคร ดังนี้ รู้หน้าที่ มีจิตสาธารณะรักษ์สิ่งแวดล้อม
และ เป็นนวัตกรที่พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินงานซึ่งขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม“การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร” นั้น ประกอบด้วย ๑)
ขั้น Plan เป็นการประชุมวางแผนและออกแบบกิจกรรมในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมในโครงการ
โดยสามารถจะต้องยืดหยุ่นได้ตามสภาพและบริบทของโรงเรียนและอาศัยหลักการมีส่วนร่วม ๒) ขั้น Do
เป็นการดำเนินการตามที่ได้วางแผนและออกแบบนวัตกรรมไว้ ๓) ขั้น Check เป็นการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
และ ๔) ขั้น Action เป็นการนำผลการประเมินมาพิจารณาและวิเคราะห์ว่า
ควรมีการปรับปรุงหรือไม่ หากปรับปรุง
จะต้องกลับไปปรับปรุงในการออกแบบนวัตกรรมอีกครั้ง
1. นักเรียนและบุคลากรมีความรู้
ทักษะในการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ได้รับคัดเลือกจาก
บริบัทอินโดรามาเวนเจอร์ส
ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการบริหารจัดการพลาสติกแบบยั่งยืนในโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร ระดับ ดีเยี่ยม
2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ขยะพลาสติกในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ได้รับการคัดเลือกจากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตัวอย่างของกลุ่มงานนิเทศการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
สำนักการศึกษา กรุงงเทพมหานคร
3. กิจกรรมบันทึกข้อมูลการจัดการขยะใน
แอพพริเคชั่น ecolifeapp.com เพื่อแจ้งการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนโดยนักเรียนกลุ่มแกนนำEcoclub เก็บข้อมูลโดยกการยกชั่งน้ำหนักขยะแต่ละชนิด
แล้วบันทึกน้ำหนักขยะลงในแอพพริเคชั่น ecolifeapp.com ได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนที่มีการบันทึกข้อมูล
อย่างต่อเนื่อง 10 อันดับ