สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
เครื่องกรองฝุ่น DIY
โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี)
กระบวนการพัฒนา

๑. การคิดและการเลือกหัวข้อโครงงาน

จากสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันพบว่า ฝุ่นพิษในกรุงเทพมหานคร โดยกรมควบคุมมลพิษรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พบปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 สูงถึง 88 ไมโครกรัมเกินค่ามาตรฐาน ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ เมื่อสูดเอาอากาศที่มีฝุ่นละอองเข้าไป ทําให้เกิดระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ มีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมลง และก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา  นักเรียนจึงได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่น DIY  ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

 ๒. การวางแผนทำโครงงาน

นักเรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันประชุม วางแผนการทำเครื่องกรองฝุ่น DIY  ค้นหาแนวทางในการสร้างสิ่งประดิษฐ์จากการสืบค้นข้อมูล และเอกสารที่เกี่ยวข้องทางอินเตอร์เน็ต นักเรียนนำเนื้อหามาวิเคราะห์ข้อมูล ในการจัดสร้างสิ่งประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่น DIY และจัดหาอุปกรณ์ในการประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่น DIY  โดยครูเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ส่งเสริมสนับสนุน 

๓. การดำเนินงาน วิธีการประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่น DIY

จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและเตรียมอุปกรณ์ในการประดิษฐ์เครื่องกรองฝุ่น DIY เรียบร้อยแล้ว  นักเรียนช่วยกันลงมือทำตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ คือ เจาะกล่องพลาสติกให้มีรูปทรง 4 เหลี่ยม และรูปวงกลม ติดตั้งพัดลมขนาด 4 นิ้ว จำนวน 2 ตัว  ติดตั้งแผ่นกรองฝุ่น จำนวน 1 แผ่น  ติดตั้งแผ่นกรองควัน และแผ่นกรองกลิ่น จำนวน 1 แผ่น ติดตั้งแผ่นกรองควัน และแผ่นกรองกลิ่น จำนวน 1 แผ่น ติดตั้งระบบไฟ และสวิตซ์ไฟ ในการเปิดปิด  ติดตั้งระบบ เปิดปิดด้วยรีโมทไร้สาย ทดสอบระบบไฟ 12 V ด้วยระบบแบตเตอรี่ ทดสอบประสิทธิภาพ และรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ   เครื่องกรองฝุ่น DIY ในพื้นที่ห้องปิด กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร เวลา 30 นาที วัดค่าฝุ่นได้ 35 AQI (อากาศดี กลุ่มเสี่ยงต้องเริ่มระวังตัว)  เวลา 60 นาที วัดค่าฝุ่นได้ 28 AQI (อากาศดีมาก ทำกิจกรรมได้ปกติ)  


ผลจากการปฏิบัติ


ประสิทธิภาพของเครื่องกรองฝุ่น DIY

  1. การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกรองฝุ่น DIY โดยระบบชั้นที่ 1 กรองฝุ่น PM 2.5 ระบบชั้นที่ 2 กรองควัน  ซึ่งจะวัดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในห้องปิด กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร จากนั้นเปิดเครื่องกรองฝุ่น ปรับพัดลมที่ความเร็วสูงสุด เวลา 30 นาที และ 60 นาที หลังจากนั้นทำการวัดค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 อีกครั้ง ได้ผลปรากฏดังนี้    

    

ลำดับ

ปิด/เปิด

ระยะเวลา

**AQI

แปลผล

ก่อนทดลอง

ปิดเครื่อง

0 นาที

85

อากาศเริ่มแย่ กลุ่มเสี่ยง ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากาก

หลังทดลอง

เปิดเครื่อง

30 นาที

35

อากาศดี กลุ่มเสี่ยงต้องเริ่มระวังตัว

หลังทดลอง

เปิดเครื่อง

60 นาที

28

อากาศดีมาก ทำกิจกรรมได้ปกติ