สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนพหลโยธิน(พ่วงเจริญอุปถัมภ์) มีการดำเนินงานโดยใช้วงจร PDCA ดังนี้

PLAN (ขั้นวางแผน)

1. ร่วมคิด โดยการศึกษาบริบทสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อนักเรียน  เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่าย ครู บุคลากรนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนโดยใช้แบบสำรวจ

2. ร่วมวางแผน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจในการพัฒนาสภาพแวดล้อม มาสรุปผล วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ตลอดจนร่วมกันกำหนดรูปแบบและขั้นตอนในการพัฒนา ดังนี้

2.1.1 จัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติ

2.1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

DO (ปฏิบัติ)

3. ร่วมปฏิบัติการดำเนินการในขั้นตอนการปฏิบัติ ดำเนินการดังนี้

3.1.1 ประชุมชี้แจงแนวนโยบายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม รูปแบบการดำเนินงานเพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนแก่ผู้ปกครองและชุมชน

ในการประชุมผู้ปกครอง  การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรในโรงเรียน นักเรียนแต่ละสายชั้น เพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

3.1.2 ดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนด โดยแบ่งเป็นโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1)  โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

-  กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

กิจกรรม Zero waste School

2)   โครงการพัฒนาการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

3)   การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการสิ่งแวดล้อมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

4)   การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ CCE (Child Center Education) ที่มีการกำหนดการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน

CHECK (ตรวจสอบ)                                                                                        

มีการตรวจสอบการดำเนินงานในแต่ละงานเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน  มีการประเมินโดยใช้แบบสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงาน จากคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูและบุคลากร นักเรียนในโรงเรียน ชุมชน เพื่อให้ทราบผลของการดำเนินงาน รวมถึงข้อบกพร่องและส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ACTION (รายงานผล) 

สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ  มีการขยายผลการดำเนินงานและเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิใจ ในความสำเร็จทุกด้านให้ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เปิดโอกาสให้โรงเรียนในสังกัดและนอกสังกัดเข้ามาศึกษาดูงาน


ผลจากการปฏิบัติ

ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์

1. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีอาคารสถานที่เหมาะสม มีพื้นที่สีเขียว และมีความร่มรื่น สวยงาม น่ารู้ น่าอยู่ น่าเรียน

                    2. นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

                    3. นักเรียนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการรักษาสภาพแวดล้อม

                    4. นักเรียนจัดการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก 3 Rs ซึ่งได้แก่ การลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยเริ่มจากห้องเรียน

                    5. นักเรียนประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน  โดยเน้นการจัดการกล่องนมและขยะพลาสติก    

          ผลสัมฤทธิ์ของงาน

1. จัดหลักสูตรสถานศึกษาตรงความต้องการของผู้เรียนโดยกำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในเรื่อง PM 2.5  และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากนั้นจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  สร้างแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

2. โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียน (zero waste school) ประจำปี 2566 ของสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม React For Change ลอง เปลี่ยน โลก คุณครูรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนโรงเรียนปลอดขยะ และสนับสนุนนโยบายการบริหารการจัดการขยะ

3. โครงการ “กล่องนมรักษ์โลก 2566” ของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้มอบโต๊ะอาหารผลิตจากกล่องนมใช้แล้ว จำนวน 1 ชุด เนื่องจากโรงเรียนได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการจัดการกล่องนมยูเอสทีที่ใช้แล้วในสถานศึกษา

4. โรงเรียนมีอาคารเรียน ห้องเรียนเพียงพอและมีความปลอดภัย  พัฒนาอาคารสถานที่ให้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ โรงอาหาร ห้องประชุม สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความมั่งคงแข็งแรง และปลอดภัยอยู่เสมอ  ภายในห้องเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ได้แก่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับผู้เรียน และพร้อมใช้งาน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]