3)
กระบวนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงานนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติ
3.1.1 การตั้งคำถาม ปัญหา
ความต้องการ เด็ก ครู ผู้ปกครอง ชุมชน
3.1.2
จัดลำดับความสำคัญของข้อคำถาม ความต้องการ
3.1.3 ศึกษาทฤษฎี เอกสาร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการจัดประสบการณ์แบบโครงการ การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 สื่อและแหล่งเรียนรู้
3.1.4
แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการดำเนินงาน
3.1.5 ออกแบบ
บูรณาการกิจกรรม จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน
3.1.6
ดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงาน
3.1.7
นิเทศติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะ ๆ โดยจัดดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1
ระยะเริ่มต้นโครงการ
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ ระยะที่ 3
ระยะสรุปและอภิปรายผลโครงการ
3.1.8
สรุปผลและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
3.1.9
นำผลสรุปมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงพัฒนากิจกรรม จนเกิดองค์ความรู้
3.2
การดำเนินงานตามกิจกรรม
ประชุมครูผู้ที่เกี่ยวข้อง
ด้วยกระบวนการ PLC
วางแผน ออกแบบ มอบหมายงาน ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ โดยดำเนินการทำกิจกรรมโครงการ เรื่อง
ผักกวางตุ้งร่วมกับเด็ก โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ มีกิจกรรมที่สำคัญ 5
ลักษณะ คือ การพูดคุยสนทนา การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น การจัดแสดง ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญ 5 กิจกรรมนี้ปรากฏอยู่ในแต่ระยะของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการโดยเรียนรู้แบบ
Active Learning
ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
(Project
Approach) เพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
(ProjectApproach)
เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ จากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปี
พ.ศ.2560 โดยในแต่ละหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบโครงการลงไป
เช่น ในการจัดประสบการณ์ หน่วย ผักสดสะอาด ให้เด็กช่วยกันคิดว่าอยากจะเรียนรู้ผักชนิดใดเป็นพิเศษ
แล้วนำผักชนิดนั้นมาเป็นหัวข้อในการเรียนรู้ เป็นต้น แล้วนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
ให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องที่สนใจเรียนอย่างเจาะจง ลุ่มลึก ค้นคว้าและ หาคำตอบในเรื่องที่สนใจด้วยตนเองและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดง ปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย
เพื่อให้เด็กที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการ
(Project Approach) มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เด็กมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ
สังคมและสติปัญญามีความพร้อมที่เหมาะสมกับวัย เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจอย่างลุ่มลึก
เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิด กล้าแสดงออกเกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหาได้สำรวจ
สังเกต สืบค้น เรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อยได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
ครูและสิ่งแวดล้อม เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง