1. ขั้นเตรียมการ
- ประชุมชี้แจงขยายผลการอบรม
2. ขั้นดำเนินงานประชุมคณะกรรมการ
และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF
บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
- กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
- กิจกรรมศิลปะที่เน้นกระบวนการ
- กิจกรรมการเล่นอิสระ
- กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติและเล่นละคร
3.
ขั้นประเมินผล
- ประเมินผลการดำเนินงาน
4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข
- รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
พัฒนาโครงการต่อไป
4. ผลจากการปฏิบัติ
4.1 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง
4 ด้าน ดังนี้
การเรียนรู้แบบโครงงานเด็กจะได้เรียนรู้กระบวนการหาความรู้จากการปฏิบัติจริง
ทั้งกิจกรรมในและนอกห้องเรียน การเรียนรู้นั้นเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดวางแผน
ตัดสินใจ ค้นคว้า ทดลอง แก้ปัญหา และทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง
โครงงานจะได้ทั้งกิจกรรมรายบุคคล ร่วมมือทำในกลุ่มย่อย
และที่เด็กๆทั้งห้องทำร่วมกัน
ขณะที่ทำโครงงานครูจะจดบันทึกการเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ
ทำให้สามารถติดตามผลพัฒนาการและศักยภาพด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมรณ์ จิตใจ
สังคม และสติปัญญาของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง
การทำโครงงานเสื้อชูชีพขวดน้ำ
๑) นักเรียนช่วยกันออกแบบเสื้อชูชีพขวดน้ำ
๒) นักเรียนประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ
ของเสื้อชูชีพขวดน้ำเข้าด้วยกันกับเสื้อกั๊กที่ไม่ใช้แล้ว
๓) นักเรียนทดสอบการทำงานและสวมใส่เสื้อชูชีพขวดน้ำพลาสติกให้สามารถทำงานได้เป็นอย่างดี
๔) นักเรียนตกแต่งลวดลายของผลงาน เสื้อชูชีพขวดน้ำพลาสติก ให้ออกมาสวยงาม
5.)
นำเสนอผลงานบนเวทีความรู้หน้าเสาธง
4.1.2
กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาความคิดให้เป็นคนที่มีเหตุผล
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการคิดวิเคราะห์และสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้
โดยเฉพาะด้านสติปัญญา ที่เป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง
วัยแห่งการตั้งคำถามสงสัยใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อเป็นการพัฒนานักเรียนให้รู้จักตั้งคำถามอย่างมีเหตุมีผลใช้ทักษะที่เหมาะสมกับวัย
รู้จักใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์
และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ
\
ผลการพัฒนาทักษะสมอง
(EF)
ที่เกิดจากการเรียนรู้แบบโครงงาน และ
การทดลองทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน
(Working Memory)
การเรียนแบบโครงงาน และการทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้น
เด็กๆจะได้นำความรู้ที่ตนเองได้ค้นหา ข้อสงสัย แล้วเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน และประสบการณ์เดิม เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับรู้
ข้อสงสัยนั้น มาสู่การลงมือปฎิบัติจริงและการทดลอง รวมทั้งนำมาวิเคราะห์
หรือค้นหาคำตอบกับคำถามใหม่ๆ หรือสิ่งที่เด็กสงสัยในห้องเรียน
ร่วมทั้งใช้สิ่งที่เด็กเรียนรู้มานั้น นำมาทดลองแก้ปัญหากันในห้องเรียน 2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง
(Inhibitory Control)
ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมร่วมกัน
หรือทำด้วยกันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน การทดลอง
ดังนั้นเด็กๆจะต้องมีการยั้งคิดไตร่ตรองเสมอ
เพื่อให้ตนเองปฎิบัติกิจกรรมตามกติกาที่คุณครูได้ตั้งไว้ในการทำงานร่วมกัน
ว่าใครทำหน้าที่อะไร และเวลาใด
นอกจากนั้นๆเด็กๆยังต้องควบคุมตัวเองในการทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้ความระมัดระวัง
เช่น อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ที่มีความร้อน และอันตรายอื่นๆ
เด็กๆจึงต้องรู้จักควบคุมตัวเอง ในการกระทำสิ่งที่เหมาะสมและปลอดภัย
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด
(Shift Cognitive
Flexibility)
การเรียนรู้แบบโครงงานและการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เด็กๆจะได้เปรียบเทียบจินตนาการ
และต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้วเพื่อสร้างสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ใกล้เคียง
และเด็กๆได้เกิดการยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ ที่ได้จากเพื่อนๆ
หรือจากการทดลองค้นคว้าต่างๆที่เกิดขึ้นในก่อนทำกิจกรรม ขณะทำกิจกรรม
และหลังการจัดกิจกรรม
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)
เด็กๆได้ทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฎิบัติจริง
ไม่ว่าจะเป็นการทดลอง การสังเกต การทำงานศิลปะและกิจกรรมอื่นๆ
เด็กๆจะได้ฝึกฝนทักษะในการจดจ่อ ใจใส่ เพื่อไม่ให้เสียสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆให้สำเร็จ
5. ทักษะการควบคุมอารมณ์
(Emotion Control)
การเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน
ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
6. ทักษะการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
ผลงานที่เกิดจากการทำงานหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานของเด็กๆ
ไม่ได้ลงเอยด้วยความสำเร็จทุกครั้งเด็กๆ
จึงมีโอกาสที่จะวิเคราะห์สิ่งที่ทำและผลงานตนเอง และพัฒนาชิ้นงานจนเป็นที่พอใจ
7. ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ
(Initiating)
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมโครงงานและการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กริเริ่ม วางแผน และลงมือทำ
เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองผิดลองถูก
จนเกิดผลงานหรือเกิดบทสรุปของการเรียนรู้จากการลงมือทำ
8. ทักษะการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
(Planning and Organizing)
การทำโครงงานหรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์เด็กๆมีการตั้งสมมติฐาน
การตั้งเป้าหมาย
การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น
ทำให้งานมีปัญหา
9. ทักษะการมุ่งเป้าหมาย
(Goal-Directed Persistence)
การทำโครงงานหรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เด็กๆมีความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย มีความตั้งใจและได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมแล้ว
มีความมุ่งมั่น ในการทำโครงงาน และทำกิจกรรมทดลองนั้นให้สำเร็จ
4.1.3 กิจกรรมศิลปะที่เน้นกระบวนการ
ศิลปะที่เน้นกระบวนการเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการสัมผัส
สิ่งต่างๆที่มีพื้นผิวลักษณะต่างกัน
ทำให้เกิดโอกาสที่เด็กจะได้แสดงออกถึงประสบการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับตนเองในทุกแง่มุม
ช่วยให้เด็กๆ ได้ทดลอง สร้างสรรค์เสริมสร้างทักษะการคิด และการตัดสินใจ ช่วยให้เกิดความเข้าใจสิ่งต่างๆ
รอบตัวเด็ก และศิลปะจะเป็นสิ่งที่สนุกสนานสำหรับเด็ก
ผลการพัฒนาทักษะสมอง
(EF) ที่เกิดจากกิจกรรมศิลปะที่เน้นกระบวนการ
เด็กๆได้เรียนรู้กระบวนการในการทำศิลปะ
ด้วยการให้เด็กทำอย่างเสรีไม่มีผิดไม่มีถูก
จึงทำให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองสูงที่จะทำตามความคิดของตนเองจนสำเร็จ
สามารถจดจ่อทำกิจกรรมได้ในระยะนานขึ้น อันเป็นทักษะกำกับตนเองที่ดี
สามารถที่จะเรียนรู้ที่จะใช้สื่อต่างๆ ด้วยตนเอง
พัฒนาและใช้ทักษะการคิดแก้ปัญหาได้ดี สามารถวางแผนในการเลือกใช้อุปกรณ์
มีทักษะในการทำงานกับเพื่อน พัฒนาอารมณ์ และสังคม ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลง
ใช้สิ่งทดแทนแปลกใหม่ มีทักษะปฏิบัติได้ดี ทั้งการริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดวางแผน
การมีเป้าหมาย รวมถึงเมื่อลงมือทำอาจไม่สามารถทำได้ตามที่ตนเองตั้งใจไว้
ก็สามารถที่จะยืดหยุ่นความคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
เมื่อให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมศิลปะที่เน้นกระบวนการไปเรื่อยๆ
เด็กจะสามารถควบคุมอารมณ์ มีความพยามยามทำให้สำเร็จได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
4.4 กิจกรรมการเล่นอิสระ
การเล่นอย่างอิสระเป็นการเล่นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กในทุกด้านทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์
สังคมและจิตใจการเล่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก-กล้ามเนื้อมัดใหญ่
ระบบการรับสัมผัส การทำงานประสานกันระหว่างอวัยวะส่วนต่างๆ และการทำงานของสมอง นอกนั้นยังช่วยให้เด็กมีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปัน การอดทนอดกลั้น การขจัดความขัดแย้ง ประนีประนอมมีน้ำใจ
รู้จักการให้อภัย ผลัดกันเป็นผู้นำและผู้ตาม
ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ซึ่งจะเป็นต้นทางของการส่งเสริมทักษะด้านการคิด การวงแผน ลงมือทำ กล้าเผชิญปัญหา
จนให้เกิดนิสัยของความขยัน กระตือรือร้น สนุกและจะคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ผลการพัฒนาทักษะสมอง
(EF) ที่เกิดจากกิจกรรมการเล่นอิสระ
เด็กๆได้รับการพัฒนาทักษะสมอง
(EF)
จากการเล่นอิสระซึ่งการเล่นเป็นสิ่งที่เด็กสนุกสนานและพร้อมทุกเมื่อ
เด็กสนุกที่ได้ออกแบบการเล่น ได้ใช้จิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
และนำทุกทักษะที่ฝึกฝนมาใช้ใน
การเล่นภายใต้บรรยากาศของความมีอิสระ ที่จะได้เล่นและลงมือทำด้วยตนเอง
การเล่นอิสระจึงเป็นช่วงเวลาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ดังนี้
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน
(Working Memory)
เด็กมีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เก่านำมาสู่การเล่น
การตั้งเป้าหมาย วิธีการเล่น
การเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่น ตลอดจนการแก้ไขปัญหา
2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
เด็กได้เรียนรู้ที่ยับยั้งชั่งใจ
และปรับเปลี่ยนการเล่นเมื่อเห็นว่าการเล่นอาจทำให้ทะเลาะกัน หรือเกิดอันตรายขึ้น
ทำให้ต้องยุติการเล่น
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด
(Shift Cognitive
Flexibility)
เด็กมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการเล่น
ไปตามสถานการณ์และความต้องการของผู้เล่นหากมีเพื่อนร่วมเล่นด้วย
มีการปรับเปลี่ยนให้การเล่นสนุกสนานยิ่งขึ้น
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)
เด็กมีความุ่งความสนใจ
และมีสมาธิกับการเล่นอย่างต่อเนื่อง
และจดจ่อได้เป็นระยะเวลานานกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะเป็นการจดจ่อที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานอารมณ์ในทางบวก
ตื้นเต้น ภาคภูมิใจ
5. ทักษะการควบคุมอารมณ์
(Emotion Control)
เด็กพยายามที่จะอดทนเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการเล่น
ความขัดแย้งกับเพื่อน และหาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อให้การเล่นดำเนินต่อไปได้
6. ทักษะการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
เด็กมีการประเมินตนเองอยู่เป็นระยะว่าการเล่นจะเกินกำลังตัวเองหรือไม่ต้องหาเพื่อนมาใช้หรือเปล่า
เล่นได้หรือเปล่า การเล่นช่วยให้เด็กได้ตรวจสอบตนเอง ทักษะที่ต้องฝึกฝนตนเอง
เพื่อให้การเล่นของตัวเองครั้งต่อไปดีขึ้น
7. ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ
(Initiating)
เด็กเป็นผู้เลือกและตัดสินใจที่จะเล่นและเลือกวิธีเล่นด้วยตนเอง
เด็กสนุกที่สร้างสรรค์การเล่นใหม่ๆ หรือเล่นซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ คิดและลงมือทำอย่างรวดเร็ว
8. ทักษะการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
(Planning and Organizing)
เด็กมีการวางแผนการเล่น
จะทำอะไร ใช้อะไร เล่นเครื่องเล่นชิ้นไหน ชวนใครมาเล่นด้วย
และระหว่างการเล่นอาจมีการปรับแผนการเล่นเป็นระยะ
เพื่อให้การเล่นดำเนินไปอย่างลื่นไหล สนุกสนานยิ่งขึ้น
9. ทักษะการมุ่งเป้าหมาย
(Goal-Directed Persistence)
เด็กกำหนดเป้าหมายการเล่นเอง
และพยายามไปสู่เป้าหมายด้วยตนเอง
ไม่ว่าจะมีอุปสรรคหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่น
มีความพยายามหาวิธีการเล่นใหม่ๆ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่เด็กที่ตั้งใจไว้
4.5 กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติและเล่นละคร
การเล่นบทบาทสมมติเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง
เพราะการเล่นบทบทบาทสมมติเป็นตัวละครเด็กมีจิตนาการที่พร้อมจะถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ
หรือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของเด็กที่มีต่อสิ่งรอบตัว
โดยได้นำความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์เดิม หรือได้เรียนรู้มา ปฎิสัมพันธ์บทบาทของคนในครอบครัว
ในโรงเรียนมาเล่นบทบาทสมมติอย่างอิสระ
เด็กจึงได้รับประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็กในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านอารมณ์
สังคมและส่งผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ได้เป็นอย่างดี
ผลการพัฒนาทักษะสมอง
(EF) ที่เกิดจากกิจกรรมเล่นบทบาทสมมติและเล่นละคร
จากกิจกรรมเล่นบทบาทสมมติและเล่นละคร
ซึ่งเป็นการนำพาเด็กเข้าสู่การจำลองสถานการณ์ที่คล้ายจริง ช่วงเวลาสร้างสรรค์จะเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจตรวจสอบความคิดของตนเองอย่างจริงจังโดยไม่รู้ตัว
บทสนทนาที่เด็กพูดขณะ “สวมบท” สะท้อนว่าเด็ก “สื่อสาร” อย่างไร และเด็ก “คิด”
อย่างไรเกี่ยวกับตัวละครนั้น ประเด็นสำคัญของการเล่นบทบาทสมมติและการเล่นละคร
เด็กสามารถทำได้เต็มที่ไม่มีแรงกดดันและไม่กลัวผิดและยังช่วยส่งเสริมวิธีการเรียนรู้และทักษะการทำงานรวมกัน
ส่งเสริมจิตนาการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
และส่งเสริมเทคนิคการใช้ร่างกายได้อย่างถูกต้อง สร้างความมั่นใจ
กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง การเล่นบทบาทสมมติและเล่นละคร
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ในหลายทักษะด้วยกัน ดังนี้
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working
Memory)
เด็กมีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เก่านำมาสู่การเล่น
การตั้งเป้าหมาย วิธีการเล่น
การเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่น
ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และการจัดทำฉากประกอบการแสดง
2. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด
(Shift Cognitive Flexibility)
เด็กเล่นหรือแสดงร่วมกับเพื่อน
เด็กจะได้ฝึกทักษะความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเสมอบนเวที
แต่การแสดงต้องดำเนินต่อไป
3. ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
เด็กพยายามที่จะอดทนเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการเล่น
และหาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อให้การเล่นบทบาทสมมติและการเล่นละครดำเนินต่อไปได้
4. ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
เด็กเป็นผู้เลือกและตัดสินใจที่จะเล่นและเลือกวิธีเล่นด้วยตนเอง
เด็กสนุกที่สร้างสรรค์การเล่นใหม่ๆ หรือเล่นซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะใหม่ๆ
คิดและลงมือทำอย่างรวดเร็ว
5. ทักษะการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing)
เด็กมีการวางแผนว่าจะเล่นเป็นตัวอะไร
สวมบทบาทใคร หรือแสดงอะไร ต้องตระเตรียมอะไรบ้าง
6.
ทักษะการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
เด็กมีเป้าหมายในการเล่นหรือแสดง
และพยายามไปสู่เป้าหมายด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้การแสดงนั้นจบอย่างที่เด็กตั้งเป้าหมายไว้