๑. วิเคราะห์สภาพองค์กรและสภาพปัญหา ( SWOT Analysis )
โดยการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดนโยบาย
๒.
กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
๓.
จัดทำแผนแม่บทในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน ประกอบด้วย นโยบาย
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการ/กิจกรรม
๔.
ประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง นโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (โรงเรียนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม)
๕.
จัดทำโครงการ/คำสั่งมอบหมายงาน และดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนงาน
๖.
นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานโดยจัดให้มีการรายงานผลเป็นระยะๆ
เพื่อปรับปรุงการดำเนินการ
๘.
ประสานความร่วมมือกับภาครัฐบาล ภาคเอกชน ชุมชน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร
นักเรียนในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
๙.
ผู้บริหารสนับสนุน ให้คำปรึกษา ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการจัดสถานที่ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
เช่น ตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอย แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะแต่ละประเภท
การดำเนินการโดยใช้หลัก3Rs แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นต้น
๑๐. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา
เพื่อนำผลมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง การดำเนินงาน
1. ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ.2564
2. ได้รับจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ Zero Waste School โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 98 % ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า 3,000 กิโลคาร์บอนต่อปี