1.
ขั้นเตรียมการ
- ประชุมชี้แจง /เสนอโครงการ
2.
ขั้นดำเนินงานประชุมคณะกรรมการ และจัดกิจกรรมตามแผนงาน
- กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์
- กิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิล
- กิจกรรมการจัดการขยะทั่วไป
-
กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรมการจัดการขยะอันตราย
3.
ขั้นประเมินผล
- ประเมินผลการดำเนินงาน
4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข
- รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ พัฒนาโครงการต่อไป
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณขยะ และการนำขยะไปใช้ประโยชน์รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี และครูมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในการแปรรูปขยะสร้างนวัตกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและเป็นรูปธรรม
เส้นทางการจัดการขยะของโรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2565
1. การวางระบบบริหารการจัดการขยะของโรงเรียน
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
กำหนดอัตลักษณ์ของนักเรียน “3 ใช้ (ใช้น้อย
ใช้ซ้ำ ใช้แปรรูป)” ดังนั้นการวางระบบบริหารการจัดการขยะ
และความสะอาดจะฝั่งอยู่ในสำนึกของผู้บริหาร คณะครู บุคลากรและนักเรียนทุกคน จนเป็นนิสัย และเป็นกิจวัตรประจำวันของนักเรียน และตามประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School) ของโรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ ได้มีการวางระบบบริหารการจัดการขยะของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจน
ดังนี้
1.
สร้างความร่วมมือร่วมใจ (Collaborative)
ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษางดนำขยะที่ไม่ย่อยสลาย
โดยเฉพาะถุงพลาสติกและกล่องโฟม ฯลฯ เข้ามาในบริเวณโรงเรียน
-
ก่อนเข้าเรียนนักเรียนทุกคนจะได้รับการคัดกรองการนำขยะเข้ามาในโรงเรียน
โดยคณะกรรมการสภานักเรียน ซึ่งนักเรียนทุกคนสามารถปฏิบัติได้และทุกคนไม่มีการนำขยะเข้ามาภายในโรงเรียน
-
ชาวมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ทุกคนใช้แก้วน้ำส่วนตัว
หรือขวดน้ำมาเติมน้ำจากตู้น้ำเย็นของโรงเรียน
กล่องพลาสติกแบบใช้ซ้ำสำหรับรับประทานขนม ร้านสหการโรงเรียนไม่บริการขนมกรุบกรอบ
และจะให้บริการเฉพาะนักเรียนที่นำแก้วน้ำ กล่องพลาสติกมาเท่านั้น
2.
ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ (Content) ให้นักเรียน
ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ
และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ตามหลักการ 3 ช
ได้แก่ใช้น้อย ใช้ซ้ำ ใช้แปรรูป ร่วมกับการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้กับนักเรียน
- ชาวมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ
ตามหลัก 3Rs จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และฐานการเรียนรู้
ตามเส้นทางการจัดการขยะของโรงเรียน ภายในอัตลักษณ์ของโรงเรียน คณะครูให้ความรู้
ประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
-
ชาวมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ทุกคนมีการแปรรูปขยะในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ได้แก่ กระดาษสา น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ชุดรีไซเคิล สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ สื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบของโครงงาน STEM ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3.
สร้างกระบวนการเรียนรู้ (Capability)
ให้กับนักเรียน
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องโดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้สอดแทรกและบูรณาการ
3
ช สู่หลักสูตรสถานศึกษา ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
คณะครูทุกคนมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้สร้างนวัตกรรม
พึ่งพาตนเองได้ ด้วยการนำหลัก 3Rs มาผลิตสื่อสร้างสรรค์ได้อย่างน้อยคนละ
1 ชิ้น/ปีการศึกษา โดยครูทุกคนจะเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน
-
สื่อการเรียนรู้ของครูมีการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชั้นเรียน
ประกอบกับการลดปริมาณกระดาษด้วยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ QR Code การใช้สื่อ PowerPoint แทนการใช้กระดาษ เป็นต้น
4.
สร้างวัฒนธรรม 3 ช (Culture)
ให้เกิดจิตสำนึก วินัย และความรับผิดชอบต่อสังคม
จนเป็นนิสัย และแสดงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมอัตลักษณ์ 3
ช ให้กับนักเรียนอย่างยั่งยืน
-
ใช้น้อย (Reduce) นักเรียนทุกคนได้รับการส่งเสริมอัตลักษณ์
ตั้งแต่การก้าวเท้าเข้ามาในโรงเรียนทุกคนให้ความร่วมมือไม่นำขยะเข้ามาในโรงเรียน
ช่วงกลางวันรับประทานอาหารหมดจานลดประมาณเศษอาหาร ขยะอินทรีย์ในโรงเรียน
นักเรียนแกนนำบันทึกสถิติและรายงานผลหน้าเสาธงเปรียบเทียบปริมาณเศษอาหารเหลือทิ้งช่วงกลางวันทุกวัน
มีการนำแก้วน้ำส่วนตัว กล่องพลาสติกส่วนตัวมารับบริการกับร้านสหการของโรงเรียน
หลังจากนั้นมีการกำหนดจุดทำความสะอาดให้กับนักเรียนรับผิดชอบด้วยกิจกรรมหนูน้อยพิทักษ์ความสะอาดมีการเสริมกำลังใจด้วย
Star Chart กำหนดจุดทิ้งขยะอย่างชัดเจน และมีถังขยะครบทั้ง 4 ประเภทให้กับนักเรียน ทุก ๆ
เดือนจะมีการประกวดห้องเรียนสวยสะอาดน่าเรียน น่าอยู่
และมอบเกียรติบัตรให้กับนักเรียนทุกเดือน รวมทั้งกิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจชาวมนต์จรัสสิงห์-อนุสรณ์ ในทุกวันสำคัญของพระมหากษัตริย์จะมีการปลูกฝังจิตสาธารณะให้กับนักเรียนทุกคนทำความสะอาดห้องเรียน
โรงเรียน และชุมชนด้วยการช่วยกันทำความสะอาดคูคลองหน้าโรงเรียน
-
ใช้ซ้ำ (Reuse) นักเรียนทุกคนประดิษฐ์สิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ด้วยกิจกรรม
3ช มจ. ปลอดขยะ ได้แก่ กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
ตะกร้าจากกล่องนม UHT ผ้ากันเปื้อนจากถุงขนม เป็นต้น
-
ใช้แปรรูป (Recycle) นักเรียนทุกคนได้นำเศษอาหารเปลือกผลไม้มาทำน้ำหมักชีวภาพ
เศษอาหาร เศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำมาใช้ประโยชน์กับต้นไม้ แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน
นำกระดาษใช้แล้วมาทำกระดาษสา
นำคัดแยกขยะขยะรีไซเคิลจากบนห้องเรียนนำมาขายธนาคารขยะของโรงเรียนเป็นรายได้ของห้องเรียนแล้วนำมาซื้อวัสดุหรือของใช้จำเป็นในห้องเรียน
กิจกรรมขยะแลกของที่นักเรียนต้องการตามปริมาณที่ทางคณะกรรมการกำหนดไว้ มีการจัดกิจกรรมชุดรีไซเคิล
นักเรียนทุกคนได้ออกแบบชุดตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
ทุกคนได้ร่วมกิจกรรมเดินแสดงชุดรีไซเคิลอย่างสนุกสนาน และนักเรียนทุกคนจะมีการสร้างนวัตกรรมอย่างน้อย
คนละ 1 ชิ้น/ปีการศึกษา ด้วยการแก้ปัญหาขยะภายในโรงเรียน
โดยครูจะเป็นที่ปรึกษาในการทำโครงงาน เป็นต้น
5.
ประสานความร่วมมือ (Cooperation)
อย่างมีส่วนร่วม กับหน่วยงานต้นสังกัด
และหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึก สร้างวินัย
ใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการศึกษา
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะของสำนักงานเขตหนองแขม
มาให้ความรู้และการส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
การจัดการขยะตามหลัก 3Rs การทำน้ำหมักชีวภาพ
ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ เพชรเกษม
ในการแนะแนวอาชีพสู่ชุมชนและสนับสนุนวิทยากรในการให้ความรู้การแปรรูปขยะ
รวมถึงการศึกษาดูงานการกำจัดขยะของบริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น
(ประเทศไทย) จำกัด ณ โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (หนองแขม)
และได้รับการสนับสนุนตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท
2. สร้างวัฒนธรรมโรงเรียนด้านการจัดการขยะ และความสะอาดของโรงเรียน
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
กำหนดอัตลักษณ์ของนักเรียน “3 ใช้ (ใช้น้อย
ใช้ซ้ำ ใช้แปรรูป)”ให้เป็นวัฒนธรรมของโรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์ หากท่านเข้ามาภายในโรงเรียนของเราจะพบอัตลักษณ์ของนักเรียนอย่างชัดเจน
โดยกำหนดให้เป็นกิจวัตรประจำวันของนักเรียนตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงเรียน
ระหว่างเรียน จนกระทั่งกลับบ้าน
ผ่านกิจกรรมตามเส้นทางการจัดการขยะของนักเรียนทุกวันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนทั้งหมด