ขั้นตอนที่ 1
สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ผลการดำเนินงานกิจกรรมการออมแต่ละระดับชั้นในโรงเรียน ปัญหา ความต้องการ ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของนักเรียน สภาพความพร้อมของโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่าขณะนี้อยู่ ณ จุดใด เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบ
รูปแบบในการพัฒนากิจกรรมธนาคารโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติ กรอบรูปแบบในการพัฒนากิจกรรมธนาคารโรงเรียน ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์ จากผลสรุปของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาส และอุปสรรค ในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งในการพัฒนากิจกรรมธนาคารโรงเรียนนั้น
โรงเรียนจะต้องกำหนดเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน
มีการกำหนดวิสัยทัศน์ให้มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ
ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียน เพื่อกำหนดกลยุทธ์
วิธีการที่จะไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย
เพื่อหาแนวปฏิบัติกิจกรรมธนาคารโรงเรียน โดยดำเนินงาน ดังนี้
1) บันทึกข้อความเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน
เพื่อขออนุมัติจัดกิจกรรม
2) แต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานโดยให้นักเรียนเป็นคณะกรรมการ
3) เปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารออมสิน
4) แต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานโดยให้นักเรียนเป็นคณะกรรมการ/วิทยากรจากธนาคารออมสินมาอบรมให้ความรู้การทำหน้าที่และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
5) ประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการออมทรัพย์
6) ครู
บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์ทุกคนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดยการเปิดบัญชีกับธนาคารโรงเรียน
7) คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมรับฝากเงิน ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์
8) คณะกรรมการนำเงินฝากที่ธนาคารทุกวันศุกร์
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบ
เพื่อหาแนวปฏิบัติในการพัฒนากิจกรรมธนาคารโรงเรียน โดยดำเนินงานดังนี้
1) ผู้บริหารนิเทศ กำกับ
ติดตามแบบกัลยาณมิตรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2) มอบหมายครูประจำชั้นรายงานผล
การดำเนินงานทุกสิ้นเดือน
3) สำรวจความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและนักเรียนต่อผลการดำเนินงาน
4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมเมื่อสิ้นปีการศึกษาต่อผู้บริหาร
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) ถึงผลการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอีกครั้งในปีการศึกษาต่อไป
ดังนี้
1) คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมธนาคารโรงเรียนสรุปรายงานผลการฝาก/ถอนของนักเรียนทุกระดับชั้นให้ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
2) นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน
เพื่อที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป
1)โรงเรียนมีผลการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ
ดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 100
2) ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดกิจกรรมธนาคารโรงเรียน
อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
คิดเป็นร้อยละ 100
บทเรียนที่ได้รับ
การทำงานที่เป็นระบบและความทุ่มเทเอาใจใส่ของคณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานกิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ การบริหารจัดการในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออมเงินของนักเรียนในโรงเรียน
จึงส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม นอกจากนี้นักเรียนโรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
ยังได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่ายเงิน การออมเงินและระบบงานธนาคารจากประสบการณ์ตรง
เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างเป็นธรรมชาติและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
ปัจจัยและกระบวนการสำคัญที่นำสู่ความสำเร็จ
1) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในทุกขั้นตอน
2) ผู้บริหารโรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดต้องให้ความสำคัญ
สนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
3) มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ PDCA มีแผนงานและการบริหารกิจกรรมที่ดี
4) การเริ่มต้นกิจกรรมธนาคารโรงเรียนต้องพัฒนาโดยพร้อมเพรียงกันทุกระดับขั้นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องให้เป็นภารกิจประจำ