สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
กระบวนการพัฒนา

1. แต่งตั้งกรรมการในการดำเนินงานขับเคลื่อน กระบวนการ PLC

2.  มอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานกระบวนการPLC จับคู่Model Teacher และ Buddy Teacher

3.  กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานแผนการประชุม PLC โรงเรียนวัดหัวลำโพง

              3.1 สำรวจข้อมูลของโรงเรียน 

1. ต้นทุนที่มี

2. วัตถุประสงค์  ความต้องการ

          3. วางแผนการทำงาน

          4. ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น

    3.2 กำหนดวัตถุประสงค์  ความต้องการในการพัฒนา

1.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น O-net ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2.    นักเรียนอ่านเขียนคล่อง

3.    นักเรียนมีระเบียบวินัย

4.    ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยนำสื่อเทคโนโลยีที่มีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ

5.    นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่

4. จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน SLC (School as Learning Community)  โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้

             1. กำหนดวัน เวลาสำหรับ การทำ Lesson Study ของแต่ละคู่และการประชุมระดับ

    2. Model Teacher และ Buddy Teacher เล่าแผน และแลกเปลี่ยนมุมมองและการเรียนรู้ระหว่างกัน 
    3. สังเกตชั้นเรียน โดยคู่ Buddy Teacher  ผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล    

    4. การสะท้อนคิด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ผลที่เกิด บทเรียน สิ่งที่ต้องการทำต่อไป  ข้อเสนอแนะ

5. จัดกิจกรรม Symposium เพื่อถอดบทเรียน สะท้อนคิด  สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู  พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  


ผลจากการปฏิบัติ

1.  โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก  ในฐานะโรงเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางรัก  

          2. นางสาวอารีวรรณ  เพชรเลิศ ผู้อำนวยการถานศึกษาโรงเรียนวัดหัวลำโพง นำเสนอการดำเนินงานโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ตามแนวทาง SLC ใน งาน Kick Off จุดเน้นด้านการศึกษา ของกรุงเทพมหานคร และติดตามความคืบหน้างานโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร (SLC BMA)  

                3. ผู้บริหารให้การสนับสนุนแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการนิเทศติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครูและผู้เชี่ยวชาญ  จนกิจกรรมประสบความสำเร็จ

4.ครูมีความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน

          5. ครูเกิดการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอน เกิดการพัฒนาแบบ Going together คือการเติบโตไปด้วยกัน ผ่านการเรียนรู้กันและกัน ครูจะคุยกันเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละคนเรียนรู้อย่างไร การอ่าน การเรียนรู้ของเด็กอย่างไร ซึ่งส่งผลให้ครูหาวิธีการที่อยู่บนฐานวิชาการกับประสบการณ์สองอย่างรวมกันแล้วมาลองแก้ปัญหาช่วยกันว่าจะทำอย่างไรและหาวิธีปรับที่เหมาะสมพอที่จะช่วยเด็กซึ่งสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญ สู่คุณภาพของผู้เรียน

6 ครูรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา เกิดแรงแนวทางที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนต่อไป

7. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  มีระเบียบวินัย  มีนิสัยรักการอ่านสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]