1. ขั้นวางแผน (Plan)
1.1 ประชุมบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
1.2 นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
1.3 ประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ (Do)
2.1 มอบหมายและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
2.2 ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด
2.3 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น กะละมัง ขวดพลาสติก หลอดกาแฟ กระดาษกรอง สีน้ำ สีเมจิก น้ำยาล้างจาน กลีเซอรีน ฯลฯ ในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
2.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ “กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย” อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 กิจกรรม หรือปีการศึกษาละ 20 กิจกรรม 2 โครงงาน โดยการบูรณาการกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับอนุบาล
3. ขั้นตรวจสอบ (Check)
3.1 กำกับ ติดตามการดำเนินงาน
3.2 ประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม
3.3 บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พร้อมภาพประกอบตามแบบที่กำหนด
4. ขั้นปรับปรุง (Act)
4.1 รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
4.2 จัดทำรูปเล่มบันทึกผลการทดลองวิทยาศาสตร์และโครงงานทางวิทยาศาสตร์ส่งสำนักการศึกษา เพื่อประเมินผลขอรับพระราชทานตรา “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”
1. ครูผู้สอนอนุบาลสามารถจัดกิจกรรมตามโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีครูวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการอบรมตามโครงการเป็นที่ปรึกษา แนะนำ
2.นักเรียนอนุบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 90.00