เริ่มจากการจัดชมรมมารยาทไทยให้นักเรียนได้เลือกเรียนในชั่วโมงชมรม
โดยรับสมัครนักเรียนที่มี
ความสนใจเข้าเป็นสมาชิกในชมรม
เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นนักเรียนต้นแบบ/แกนนำมารยาทไทย
โดยครูผู้สอนได้พัฒนากระบวนการทำงานขึ้นด้วยการนำแนวคิดตามหลักอิทธิบาท 4
หรือเรียกอีกชื่อว่าหลักธรรมแห่งความสำเร็จ มาใช้ในกระบวนการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 Predilection ความพอใจ (ฉันทะ) ผู้สอนมีความสมัครใจในการฝึกนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน
ดำเนินการวิเคราะห์ขั้นตอนในการฝึกฝนเพื่อพัฒนานักเรียนให้ดีที่สุด
สังเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการฝึกปฏิบัติมารยาทไทยตามสถานการณ์ต่าง ๆ
ในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่
2 Diligence ขยันหมั่นเพียร (วิริยะ) ผู้สอนตระหนักว่าการฝึกซ้อมต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ต้องขยันทั้งครูและนักเรียน โดยการกำหนดตารางการฝึกซ้อมที่บ้านและที่โรงเรียน
ขั้นที่ 3 Caring เอาใจใส่ (จิตตะ)
เอาใจใส่รายละเอียดต่าง ๆ ในการฝึกซ้อมให้ตรงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ เพื่อให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นที่
4 Contemplate ความพิจารณา (วิมังสา) ตรวจสอบความก้าวหน้าในการฝึกนักเรียน
การปฏิบัติมารยาทไทยที่ถูกต้องตามสถานการณ์ต่าง
ๆ หาข้อบกพร่องแล้วปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
1.1
นักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมารยาทไทยขั้นพื้นฐาน
1.2 นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมารยาทไทยขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง
1.3
นักเรียนนำมารยาทไทยมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้
1.4
นักเรียนแกนนำมารยาทไทยสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้