สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ
โรงเรียนคลองกุ่ม(เสรีไทย อนุสรณ์)
กระบวนการพัฒนา

1. วิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)

1.     วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อ

สถานศึกษา หรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้ ดังนี้

1.1  โรงเรียนมีการการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

1.2  ก่อนการดำเนินงานมีการออกแบบสอบถามนักเรียน ชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากร

ทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1.3  ดำเนินการตามแผนที่วางไว้

1.4  สรุปผล/รายงาน

1.5  ปรับปรุงแก้ไข

2      โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิด

คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น ดังนี้

1.     ขั้นวางแผนดำเนินงาน (PLAN)

1.1 ประชุมบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกันถึงวิธีหรือแนว

ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                   1.2 นำเสนอโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ต่อฝ่ายบริหารเพื่อขออนุมัติ

                    1.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

                    1.4 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน

  2  ขั้นดำเนินการ (DO)

                    2.1 ขั้นเตรียมการ

2.2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

(Best Practice)

          .3  ขั้นตรวจสอบ ทบทวน และประเมินผล (CHECK)

                     3.1  นิเทศ กำกับ ติดตาม

                     3.2  ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม

          4  ขั้นปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา  (ACT)

4.1  รวบรวมและสรุปรายงานผลโครงการ/กิจกรรมเสนอฝ่ายบริหารทราบ


3. สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what)  “ทำอย่างไร” (how) และ”ทำไม   จึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

          “ทำอะไร” (what)

 โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้ดำเนินการจัดการศึกษากิจกรรมนอกหลักสูตร

กิจกรรมงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทักษะงานอาชีพควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ ทักษะงานอาชีพเป็นสิ่งต้องมีการพัฒนาให้เจริญและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้เกิดความก้าวหน้า (Progress) และเติบโตเต็มที่ (Growth) ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานอาชีพจึงดำเนินการดังนี้

1.     กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานงานอาชีพตามกลุ่มสนใจทั้งเรื่อง

ของผลผลิต (Outputs) และผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

2.     กำหนดเป้าหมาย (Targets) และวัตถุประสงค์ (Objectives) ไว้ล่วงหน้า

3.     มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรและกระบวนงานให้สอดคล้องกับความประหยัด

(Economy) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

 

 

        ความประหยัด หมายถึง การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรน้อยที่สุดในการดำเนินกิจกรรมหรือการผลิต

        ความมีประสิทธิภาพ  หมายถึง การปฏิบัติงานที่ได้ผลผลิตมากกว่าปัจจัยนำเข้า

        ความมีประสิทธิผล หมายถึง ระดับการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

 

              “ทำอย่างไร” (how)

1.     วางแผน กำหนดทิศทางโดยรวมว่าจะทำอะไร อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของการวาง

ยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา (SWOT Analysis) หรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของสถานศึกษา และสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในด้านต่าง ๆ

2.     กำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้ทำการ   

ตกลงจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ” (11 งานอาชีพ) เริ่มดำเนินการสำรวจ เพื่อหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยกำหนดความชัดเจนของเป้าหมายทั้งในเชิง ปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place)

3.     วัดและตรวจสอบผลการดำเนินงาน เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายเทอม หรือรายปี

เป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้าและผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร

นอกจากนี้ทางโรงเรียนจัดให้มีคณะบุคคลเพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานของ “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ 11 งานอาชีพ” ที่สถานศึกษากำหนด

4.     การให้รางวัลตอบแทน หลังจากที่ได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารต้องมีการ

ให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงาน นอกจากนี้อาจจะมีการให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการ 

บางประการเพื่อให้การปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

                    การศึกษาเป็นการสร้างและหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติเป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านต่าง ๆ กระบวนการจัดการเรียนการสอนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันให้กระบวนการบรรลุเป้าหมาย

 โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เป็ดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล

ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บริบทของสถานศึกษาเป็นชุมชนที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สถานภาพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ครอบครัวยากจน มีปัญหาครอบครัว รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้นการจัดการศึกษาด้านงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษางานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ก็คือพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง และเป็นพื้นฐานในการเลือกศึกษาต่อและการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้จัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ

 

 4. ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

                    ผลจากการดำเนินงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ผลจากการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามองค์ประกอบข้อกำหนดของการพัฒนาเชิงระบบ 

งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ คือ โครงการที่ทางโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ดำเนินการ

จัดทำเพื่อส่งเสริมพัฒนา แก้ไข นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้นำการพัฒนาเชิงระบบมาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ดังนี้ ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ

 

 

   ข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback)

 


                                                                               

 

 

          ผลสัมฤทธิ์ (RESULTS)

     โครงการ/กิจกรรม

วัตถุประสงค์OBJECTIVES

 

 

ปัจจัยนำเข้าINPUT

 

 

กิจกรรม PROCESSES

 

 

ผลผลิต OUTPUTS

 

 

ผลลัพธ์ OUTCOME

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                   ความประหยัด              ความมีประสิทธิภาพ                                                                                    ความมีประสิทธิผล

การจัดการเรียนการสอนอาชีพตามกลุ่มสนใจ ได้นำวิธีระบบมาใช้โดยมีการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 ประการ

1.     วัตถุดิบ  (Input)

2.     กระบวนการ (Process)

3.     ผลผลิต (Output)

4.     การตรวจผลย้อนกลับ (Feedback)

ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ และทางโรงเรียนได้

 

 

 

 

 

จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ปรับปรุงห้องต่าง ๆ เพื่อจัดเป็นแหล่งเรียนรู้งานอาชีพตามความสนใจ ได้แก่ ห้องขนมไทย ห้องขนม-อบ ห้องงานช่างพื้นฐาน ห้องงานประดิษฐ์ ฯลฯปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นต้น โดยนำลักษณะสำคัญของวิธีระบบมาใช้ในการดำเนินงาน คือ

1.     เป็นการทำงานร่วมกันของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน

2.     แก้ปัญหานักเรียนทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

3.     ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม

4.     แก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา เช่น นักเรียนส่วนใหญ่

ของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) มีทักษะด้านงานอาชีพพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ ทางโรงเรียนจึงแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) เป็นต้น

5.     จัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจจริง และเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอก

สถานศึกษา

 

5. วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

          โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้กำหนดวิธีปฏิบัติ สามารถระบุปัจจัยที่สำคัญและชัดเจน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ดังนี้

1.     สำรวจความต้องการของผู้เรียนตามความเหมาะสมของบริบทและท้องถิ่น

2.     นำข้อมูลมาวิเคราะห์ (SWOT) เพื่อวางแผนดำเนินการจัดทำหลักสูตรด้านงานอาชีพตาม

กลุ่มสนใจ

3.     จัดทำหลักสูตรเพื่อฝึกอาชีพพื้นฐานตามความสนใจของผู้เรียน

4.     จัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

5.     การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานที่

จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ และเตรียมพร้อมสู่การประกอบอาชีพตามความสนใจและความถนัด

6.     ติดตาม กำกับ และประเมินผล

7.     ส่งต่อหรือจัดหาสถานประกอบการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. วิธีปฏิบัตินั้นให้กระบวนการจัดการเรียน (KM) เช่น การเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ

               โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) โดยนำกระบวนการจัดการเรียนการสอน (KM) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน      ดังนี้ การบริหารความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นเทคนิคการบริหารเกี่ยวกับการนำความรู้ในตัวคน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Asset) มาใช้ประโยชน์ในองค์การให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแบ่งปันหรือถ่ายทอดต่อกัน ผู้บริหาร บุคลกรทางการศึกษาของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ในฐานะที่เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาส่งเสริมให้บุคคลในองค์การมีวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งเน้นแนวคิดในการจัดการความรู้ 3 ประเด็น คือ

1.     นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น และ

สามารถนำความรู้ออกมาใช้ทันเหตุการณ์และสามารถ่ายทอดความรู้ต่อกันได้สะดวก

2.     การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเทคนิคในการถ่ายทอดประสบการณ์

ความรู้ที่มาจากในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) เพื่อให้เกิดความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) เช่น การจัดกิจกรรมงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ จากวิทยากรผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะด้านถ่ายโยงองค์ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง (ผู้เรียนหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจงานอาชีพ) จนเกิดเป็นความรู้ ทักษะที่ยั่งยืนตลอดชีวิต จัดทำหลักสูตรงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) อันเกิดจากความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

3.     ร่วมกันสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการแข่งขันการถ่ายทอดและการสร้างสรรค์

ความรู้ เช่น นักเรียนคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์จากเศษผ้าหรือวัสดุเหลือใช้ (งานอาชีพตามกลุ่มสนใจงานประดิษฐ์), นักเรียนคิดสร้างสรรค์เมนูอาหารว่างและน้ำดื่มสมุนไพรที่แตกต่างจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน (กลุ่มงานอาชีพอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร) นักเรียนสามารถต่อยอดทางความคิดหลังจากได้รับความรู้จากการจัดดารเรียนการสอนงานอาชีพตามความสนใจ (11 งานอาชีพ) นักเรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนการสอนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หารายได้ เช่น กลุ่มงานอาชีพขนมไทย ขนมอบและ เบเกอรรี่ ตัดผม/เสริมสวย เป็นต้น


ผลจากการปฏิบัติ

จากการที่ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มงานอาชีพตามความสนใจ ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิดมีกระบวนการในการทำงาน มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทำให้โรงเรียนผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สมศ.รอบสาม ผลการดำเนินการโครงการงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) นักเรียนมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 87.34 นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะพื้นฐานด้านงานอาชีพ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนในการประกอบอาชีพต่อในอนาคต ผู้ปกครองให้การสนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมจัดนิทรรศการทางวิชาการโรงเรียนเครือข่ายที่ 25 และโรงเรียนเครือข่ายที่ 26 และได้รับเกียรติร่วมจัดนิทรรศการ  โครงการ  Greeny Healthy Market ตามพันธกิจการสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงเรียนประภาส  สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร