ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ
และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยวิเคราะห์เอกสาร
งานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ
กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณสูตรของทาโร ยามาเน่
และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน
รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ โดยเรียงตามความผันแปร ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะ
การบริหารจัดการชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยให้มีทักษะการบริหารจัดการชีวิตเหมาะสมกับวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย
โดยการมีส่วนร่วม และเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสภาพแวดล้อม
ทรัพยากรและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาหลักสูตรบูรณาการทักษะการบริหารจัดการชีวิต
แผนการปฏิบัติการทดลองใช้รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
1)
การเตรียมความพร้อมในการใช้รูปแบบยุทธศาสตร์
ผู้บริหารสถานศึกษา
ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจกับรองผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้ง 4 ฝ่าย
เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม
และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และกำหนดค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด
แผนงาน โครงการ กิจกรรม ในการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
แล้วจึงประชุมบุคลากรทั้งโรงเรียนในการร่วมกันทำความเข้าใจยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
และร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่กำหนด
เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และการดำเนินการตามแผนงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงกำหนดกรอบแนวทาง และวิธีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การวัดประเมินผล
การเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
2)
การจัดเตรียมสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวก
ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานอำนวยการและประสานงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
3)
การประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์
การดำเนินการประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
โดยกระบวนการนิเทศ กำกับติดตาม และพิจารณาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาเป็นประจำทุกเดือน
ประเมินผลความพึงพอใจของครูระดับปฐมวัยและพี่เลี้ยงเด็กที่มีต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
การทดลองใช้รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
จากนั้นนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว
ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดระยะเวลาในการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
1 ปีการศึกษา
พบว่า ยุทธศาสตร์ที่ค้นพบจากการวิจัยนั้นเป็นยุทธศาสตร์ที่มีกระบวนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ การจัดสภาพแวดล้อม และบริบทให้เหมาะสมในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ดังนั้นการวิจัยเพื่อการสืบค้นรูปแบบ วิธีการ
กระบวนการหรือแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในรายยุทธศาสตร์ เพื่อหารูปแบบวิธีการ
และปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์โดยตรง
รวมถึงการศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้การใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือสังกัดอื่น มีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพ
และเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับคือได้องค์ความรู้ การพัฒนาเด็กปฐมวัยและปัจจัยการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เหมาะสม และเอื้อต่อการนำไปบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
ให้มีประสิทธิผลสูงสุด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์ ประกอบไปด้วย 1)
พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์ที่ใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดระบบ
การบริหารจัดการงานบุคลากรในการพัฒนาสมรรถนะ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร
ด้านความรู้ ความสามารถ รวมทั้งพฤติกรรม คุณลักษณะ ทัศนคติของบุคลากร
วัฒนธรรมของหน่วยงาน และปัจจัยสนับสนุนที่จำเป็นต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานทั้งด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์
ในการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิต โดยนำกระบวนการนิเทศและการบวนการ
PLC (Professional Learning Community) มาใช้ในการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาบุคลากร 2) พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิต พิจารณากลั่นกรองการกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนา
เด็กปฐมที่วัยเหมาะสม โดยพิจารณาผลการวิเคราะห์คุณภาพเด็ก
บริบทขององค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องและเข้ากันได้ดีกับปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก
บริบทขององค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาตรฐาน
3)
สร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่ายที่เข้มแข็งในการพัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย
ดำเนินการสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมโดยการสร้างความเชื่อมโยงของกลุ่มคน
หรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน
โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ต่อเนื่องเป็นระบบภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ
เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรม 4)
ออกแบบและพัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากร และนวัตกรรมให้ส่งเสริมต่อการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต
ดำเนินการศึกษาบริบท และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมและกระบวนการหล่อหลอมพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย
เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อม และการเลือกใช้ทรัพยากร รวมถึงนวัตกรรมที่มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
ทั้งด้านเด็กปฐมวัย บุคลากร ผู้ปกครอง และสภาพแวดล้อม 5)
พัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการชีวิตบูรณาการกับกิจกรรมหลัก
6 กิจกรรม
ดำเนินการประเมินหลักสูตรและผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่โรงเรียนออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและผลการประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย
พัฒนาเป็นหลักสูตรมาตรฐานและแผนการจัดประสบการณ์มาตรฐานของโรงเรียน และ 6) พัฒนารูปแบบการประเมินพัฒนาการทักษะการบริหารจัดการชีวิตบูรณาการ
6 กิจกรรม ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะทางพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารจัดการชีวิต
และมาตรฐานเด็กปฐมวัยเพื่อจัดทำเครื่องมือการประเมินที่มีมาตรฐานและสามารถสะท้อนพฤติกรรมที่แสดงถึงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิต
รวมถึง วิธีการประเมินและกรอบระยะเวลาการประเมิน