ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart Model ของ Best Practice
1 เตรียมความพร้อมของบุคลากร
เพื่อสร้างความตระหนักในการพัฒนาจิตสำนึกการมรศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา
โดยใช้หลักไตรสิกขา เพื่อเสนอแนวทางรูปแบบวิธีการกิจกรรมในการขับเคลื่อนการทำงานที่เป็นรูปธรรม
? 2 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดของการดำเนินการตามกระบวนการเชิงปฏิบัติการ
PAOR
มีดังนี้
1. ขั้นการวางแผน (Plan
- P)
ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ
และกำหนดแนวรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา
โดยใช้หลักไตรสิกขาซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรมหลักไตรสิกขา
ดังนี้
1.1 หลักศีล ประกอบด้วย 3
กิจกรรมดังนี้
1.1.1 กิจกรรมลูกเสือ
ยุวกาชาด
1.1.2 กิจกรรมตักบาตรและถวายภัตตาหาร
1.1.3 กิจกรรมธนาคารออมทรัพย์
1.2 หลักสมาธิ ประกอบด้วย
3 กิจกรรมดังนี้
1.2.1 กิจกรรมนั่งสมาธิ
1.2.2 กิจกรรมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ
1.2.3 กิจกรรมค่ายส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม
1.3 หลักปัญญา ประกอบด้วย
4 กิจกรรมดังนี้
1.3.1 กิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
1.3.2 กิจกรรมพี่สอนน้องอ่านหนังสือ
1.3.3 กิจกรรมฟังเทศน์ในวันธรรมสวนะ
1.3.4 กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน
2. ขั้นการปฏิบัติ (Action
- A)
ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ
และกำหนดแนวรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา
โดยใช้หลักไตรสิกขาซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
ที่ร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรมหลักไตรสิกขา
นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนจากการบันทึกของผู้ดำเนินกิจกรรมและคณะกรรมการดำเนินงานประชุมร่วมมือกันเพื่อวิเคราะห์สาเหตุร่วมกัน
เพื่อนำข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล5ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ขั้นการสะท้อนผล
(Reflection-R)
นำข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขสำหรับวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมโดยใช้หลักไตรสิกขา
เพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนโรงเรียนวัดเทพลีลา สำนักงานเขตบางกะปิ โดยใช้หลักไตรสิกขาในครั้งต่อไป
โดยมีผลดังนี้
4.1 ด้านครูผู้สอน นำความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธอย่างต่อเนื่องไปบูรณาการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของแต่ละระดับชั้นแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ประการสำคัญจะส่งผลต่อจรรยาบรรณมาตรฐานวิชาชีพครู ให้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานวิชาการอื่นๆ
นำไปใช้เป็นเอกสารทางวิชาการประกอบหรือพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการของการเลื่อนวิทยฐานะ
4.2 ด้านนักเรียน
นักเรียนมีความรู้ทักษะในการปฏิบัติตนตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ
และสร้างจิตสำนึกรักษาศีล 5 เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการครองตนอย่างมีสติ มีสมาธิ
และมีปัญญาในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
และสามารถครองตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข กิน ดู อยู่ ฟังเป็น
4.3 ด้านสถานศึกษา
ได้ครูที่มีคุณภาพ เป็นครูดีมีศีลธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณที่เหมาะสมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ
เป็นครูต้นแบบที่ดีของลูกศิษย์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องของผู้ปกครองและชุมชน
4.4 ด้านชุมชน
ชุมชนให้การยอมรับและชื่นชมในการจัดการศึกษาที่นำหลักไตรสิกขามาใช้ในการพัฒนานักเรียน
และทางชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการและกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
ในลักษณะของการร่วมแรงร่วมใจและกำลังทรัพย์ในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
โรงเรียนวัดเทพลีลา
สำนักงานเขตบางกะปิ มีบุคลากรที่มีคุณลักษณะที่ดีตามหลักวิถีพุทธมีการบริหารจัดการแบบไตรสิกขามีหลักสูตรที่สามารถพัฒนา
มีแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสำนึกรักษาศีล 5 ของนักเรียนตามหลักไตรสิกขา
รวมทั้งการจัดบรรยากาศและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เป็นไปตามหลักไตรสิกขาและบูรณาการกับชีวิตของผู้เรียน
ได้มีการพัฒนาเป็นผู้มีลักษณะ กิน อยู่ ดู ฟังเป็น
ดำเนินชีวิตอย่างมคุณค่าและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตลอดทั้งบ้าน วัด
โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธและเกิดความสามัคคีสมานฉันท์ร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนและสังคมตามวิถีพุทธอย่างต่อเนื่อง