จากการศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการของสถานศึกษา จึงได้จัดทำกรอบแนวคิดในการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้ใช้หลักทฤษฎีและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และนำวงจรคุณภาพ PDCA ของ เดมมิ่ง (Deming Cycle) มาใช้ในการดำเนินการทั้งการขับเคลื่อนในภาพรวมและการขับเคลื่อนรูปแบบการ บริหารจัดการ DML Model ดังนี้
ขั้นวางแผน
(Plan)
1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบมีส่วนร่วม
หมายถึง การบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษาได้เข้ามาส่วนคิดตัดสินใจร่วมวางแผนร่วมทำงานจึงก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันผูกมัดและตกลงใจ
ร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายการบริหารแบบมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์
ได้แก่
(1) การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดการระดมความคิดทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลายซึ่งดีกว่าการคิดและ
ตัดสินใจเพียงคนเดียว
(2) การมีส่วนร่วมในการบริหารเป็นการลดการต่อต้านและก่อให้เกิดการยอมรับมากขึ้น
(3) การมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารที่ดีสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน
เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
(4) การมีส่วนร่วมทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพและทำให้มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นด้วย
2) รูปแบบการมีส่วนร่วม
(1) รูปแบบคณะกรรมการเพื่อการปรึกษาหารือ (Consulting Management) ในการดำเนินงาน ปรึกษาหารือเพื่อช่วยตัดสินใจเช่นคณะกรรมการสถานศึกษากรรมการที่ปรึกษาเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมคิด
ร่วมตัดสินใจร่วมทำงานและร่วมภาคภูมิใจในความสำเร็จ
(2) รูปแบบการร่วมเสนอแนะ (Suggestion System) เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมโดยวิธีการ
จัดประชุมรับฟังข้อเสนอแนะ การเสนอแนะในแบบฟอร์มการเสนอแนะผ่านเทคโนโลยีเป็นต้น
(3) รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม (Team Working) เป็นการเปิดโอกาสให้ทุก คนร่วมคิดร่วมทำโดยใช้กระบวนการทำงานเป็นทีมหรือกลุ่มคุณภาพ
(4) รูปแบบการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นเจ้าของรับผิดชอบงานบริหาร
เช่น การร่วมลงทุน การใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมอาจผสมผสานโดยใช้หลายวิธีการในการทำงานขึ้นอยู่กับสภาพของงาน
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารองค์กรการบริหารการศึกษา ภาวะ ผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ
ทัศนคติ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการ สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ
และวิธีการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
ขั้นดำเนินการ
(Do)
1) พัฒนาการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม
โดยใช้ DML Model จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
นำวงจรคุณภาพ PDCA ของเดมมิ่ง (Deming Cycle) มาควบคุมการดำเนินงานภายใต้รูปแบบอีกระดับหนึ่ง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการ ปฏิบัติงาน
และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
2) นำรูปแบบการบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ DML
Model เสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
เพื่อขออนุมัติจาก ผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ดำเนินการ
3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ DML
Model กับนักเรียนและบุคลากร
โดยขับเคลื่อนไปพร้อมกับการปฏิบัติงานตามภารกิจและนโยบายของ โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
ขั้นตอนที่
3
ขั้นตรวจสอบ (Check) ตรวจสอบและประเมินผล การใช้รูปแบบการบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้
DML Model ที่มี ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร
โดยประเมินความสำเร็จ ดังนี้
1) ความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามนโยบายตามภารกิจและนโยบายโรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
2) รางวัลที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัด และภาคีเครือข่าย
ขั้นตอนที่
4
ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Action) สะท้อนผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามสภาพจริง
พร้อมปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่องของ บุคลากรแต่ละคน ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา
และธำรงให้เกิดประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน