จุดเด่นของนวัตกรรม “การพัฒนาผู้เรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือ
C-WIMUT-SS
MODEL” คือการร่วมมือ ร่วมใจ ระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง
และหน่วยงานเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมพัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะ การดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวงตามกระบวนการ
๗ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล
คือ การรู้จักข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวผู้เรียน นำข้อมูล มาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรอง
ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง โดยครูที่ปรึกษาสังเกต และบันทึกข้อมูลผู้เรียนจากระเบียนสะสมผู้เรียน
โดยปรึกษาและร่วมมือกับผู้ปกครอง
ขั้นตอนที่ ๒ การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลคือการนำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลการรู้จักผู้เรียนรายบุคคล
การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) มาวิเคราะห์ข้อมูลสรุปแต่ละด้านก่อนที่จะคัดกรองซ้ำอีก ๑ ครั้ง โดยวิเคราะห์ผู้เรียนแบ่งตามด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ด้านสังคม
ด้านเศรษฐกิจ/ครอบครัว ด้านการคุ้มกันสารเสพติด
ขั้นตอนที่ ๓ การคัดกรองเพื่อจัดกลุ่มตามสภาพปัญหาดังนี้
๑) กลุ่มปกติ คือ ผู้เรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง
ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ ซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา
๒) กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้เรียนที่อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การป้องกันและแก้ไขตามกรณี
๒) กลุ่มมีปัญหา คือ ผู้เรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์
ของกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
ขั้นตอนที่ ๔ การช่วยเหลือ ๔.๑) การส่งเสริมและการพัฒนา เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูที่ปรึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา
ให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมช่วยเหลือ
เช่นการจัดกิจกรรมโฮมรูม/กิจกรรมแนะแนว บ้านทักษะชีวิต การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
ส่งเสริมความสามารถด้านกีฬา การส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีศิลปะ เน้นสร้างผู้เรียนให้มีภาวะเป็นผู้นำ
มีความรับผิดชอบ ด้วยกิจกรรมสภาผู้เรียน ผู้เรียนแกนนำห้องเรียนสู้ฝุ่น ยุวบรรณารักษ์ เป็นต้น ๔.๒) การป้องกันและแก้ไขปัญหา ในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ครูที่ปรึกษาควรให้ความเอาใจใส่กับผู้เรียนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่สำหรับผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลให้ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือ ทั้งการป้องกันและ การแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยผู้เรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม
ขั้นตอนที่ ๕ การส่งต่อ
คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้เรียนโดยครูที่ปรึกษาตามกระบวนการ ในข้อ ๔ นั้น
อาจมีบางกรณีที่ปัญหามีความยากต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหาของผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่าง ถูกทางและรวดเร็วขึ้น หากปล่อยให้เป็นบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาหรือครู-อาจารย์คนใดคนหนึ่งเท่านั้น ความยุ่งยากของปัญหาอาจมีมากขึ้น
หรือลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนยากต่อการแก้ไข
ขั้นตอนที่ ๖ การติดตามผล
ผู้เกี่ยวข้องต้องมีการติดตามผลการช่วยเหลือ เป็นระยะ (แล้วแต่กรณีของปัญหา) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก
ขั้นตอนที่ ๗ การรายงานสรุปผล
ผู้เกี่ยวข้องมีการรายงานสรุปผลผู้เรียนที่ติดตามช่วยเหลือ
ผลการใช้นวัตกรรม“การพัฒนาผู้เรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือ
C-WIMUT-SS
MODEL”ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาชุมชน
หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านพฤติกรรม พัฒนาการหรือ การเรียนรู้ มีดังนี้
๑. ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแล
ช่วยเหลือ พัฒนา และส่งเสริมด้วยกิจกรรมจากทางโรงเรียน
ทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ เป็นผู้นำ ผู้ตาม มีวินัย กล้าแสดงออกถึงความสามารถ
มีความภูใจในตนเอง และมีความสุข
ในการมาเรียน
๒.
ครอบครัวให้ความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนร่วมครูประจำชั้น
และมีความภูมิใจต่อพัฒนาการ
และความสามารถของบุตรหลาน บางครอบครัวได้รับความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา
๓.
ชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียน และร่วมกิจกรรมของโรงเรียน