โรงเรียนบางจาก(นาคเผื่อนอุปถัมภ์) เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัว
ที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้าง บางครอบครัวมีบุตรหลานหลายคนที่ต้องเลี้ยงดู
ประกอบกับบางครั้งผู้ปกครองต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวนักเรียน
ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการเพื่อสร้างลักษณะนิสัยการออม การรู้จักใช้จ่ายอย่างพอเพียง
ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง และรู้จักคิดวิเคราะห์ วางแผนการใช้จ่าย
ได้อย่างมีเหตุผล
โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับความแปรปรวนทางเศรษฐกิจ
ภายใต้การดำเนินโครงการออมวันละนิดตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็นโครงการที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมที่พึงประสงค์ในด้านการออม
รวมทั้งได้แสดงบทบาทในฐานะการเป็นพลเมืองดีและความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว
สังคมและประเทศชาติ สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุขและ
พึ่งตัวเองได้
เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิตทางการศึกษา
ได้เติบโตเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน โดยใช้เทคนิค SWOT
เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน
ใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A
ในการดำเนินงาน ทำให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบรรลุตามเป้าหมายที่วางแผนไว้
มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ผลการดำเนินงานโครงการออมฯ
แต่ละระดับชั้นในโรงเรียน ปัญหา ความต้องการ ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของนักเรียน สภาพ
ความพร้อมของโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบ รูปแบบ
ในการพัฒนาการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการร่วมมือกันกำหนดแนวปฏิบัติ กรอบรูปแบบ
ในการพัฒนาโครงการออม ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนบางจาก(นาคเผื่อนอุปถัมภ์) จากผลสรุป
ของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในขั้นตอนที่ ๑
ซึ่งในการพัฒนาโครงการออมฯ นั้น โรงเรียนจะต้องกำหนดเป้าหมาย
และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน มีการกำหนดวิสัยทัศน์
ให้มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ
ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียน
เพื่อกำหนดกลยุทธ์ วิธีการที่จะไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการออมกับครู
บุคลากร ผู้ปกครอง นักเรียน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหาแนวปฏิบัติโครงการออมวันละนิดตามแนวคิด
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินงานดังนี้
๑. ดำเนินการเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๓. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
เพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่
การปฏิบัติงาน
๔.
ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
โดยประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของโครงการให้นักเรียน
และผู้ปกครองรับทราบ
๕. รับฝากเงินรายวัน จัดทำบัญชีรับฝาก – ถอนเงิน ทำสมุดบันทึกรายรับ – รายจ่าย ประจำ ห้องเรียน และสรุปยอดบัญชีเงินออมทุกเดือน
๖.
ประสานงานกับธนาคารออมสินเพื่อมาทำการเปิดบัญชีออมทรัพย์
และรับฝากเงินออม ของนักเรียนทุกเดือน โดยครูประจำชั้นเป็นผู้รวบรวมเงินนำฝากเข้าบัญชีของนักเรียน
๗.
แจ้งยอดสรุปรายการฝาก
-
ถอนเงินของนักเรียน ให้ผู้ปกครองรับทราบภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบ เพื่อหาแนวปฏิบัติ
ในการพัฒนาโครงการออมวันละนิดตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยดำเนินงานดังนี้
๑. ผู้บริหารสถานศึกษา กำกับ
ติดตามการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
๒.
มอบหมายครูประจำชั้นสรุป
รายงานยอดบัญชีเงินออมทุกสิ้นเดือน
๓.
สำรวจความพึงพอใจของครู
ผู้ปกครองและนักเรียนต่อผลการดำเนินงาน
๔.
จัดทำรายงาน
สรุปผลการดำเนินโครงการเมื่อสิ้นปีการศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
ขั้นตอนที่
๕ ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง
เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น และจุดด้อย เพื่อแสวงหาวิธีการแก้ไข
ปรับปรุงในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่
การปฏิบัติอีกครั้งในปีการศึกษาต่อไป ดังนี้
๑. คณะกรรมการดำเนินโครงการการออมวันละนิดตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปรายงานผลการออมของนักเรียนทุกระดับชั้นให้ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
๒.
นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน
เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ๑. นักเรียนระดับชั้นอนุบาล - ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา
2561 เข้าร่วมโครงการ
100%
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนเข้าร่วมโครงการออมวันละนิดตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงทุกคน
๒. นักเรียนมีลักษณะนิสัยที่ดีในการออม
และรู้จักใช้จ่ายอย่างพอเพียง
|
๒. ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ขั้นที่ ๑
ครูประจำชั้นรับฝากเงินออมรายวันจากนักเรียน
|
ขั้นที่ ๒ ครูประจำชั้นบันทึกข้อมูลลงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์จัดเก็บรายบุคคล
หรือบันทึกข้อมูลรายการฝากเงินในสมุดบันทึกรายรับ
–
รายจ่าย ประจำห้องเรียน
|
ขั้นที่ ๓ เปิดบัญชีกับธนาคารออมสินเพื่อฝากเงินออม
โดยครูประจำชั้นเป็นผู้รวบรวมเงิน
นำฝากเข้าบัญชีของนักเรียนทุกเดือน
|
ขั้นที่
๔ แจ้งยอดสรุปรายการฝาก - ถอนเงินของนักเรียน ให้ผู้ปกครองรับทราบ
ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
ภาพประกอบขั้นตอนการดำเนินโครงการออมวันละนิดตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถเขียนสรุปเป็นแผนภาพ (Flow Chart ) การดำเนินงานได้ดังนี้
เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
|
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน |
ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน
|
ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
โดยประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของโครงการให้นักเรียนและผู้ปกครองรับทราบ |
?
รับฝากเงินรายวัน จัดทำบัญชีรับฝาก – ถอนเงิน ?
ทำสมุดบันทึกรายรับ – รายจ่าย ประจำห้องเรียน
และสรุปยอดบัญชีเงินออมทุกเดือน
|
?
ประสานงานกับธนาคารออมสินเพื่อมาทำการเปิดบัญชีออมทรัพย์
และรับฝากเงินออม ของนักเรียนทุกเดือน
โดยครูประจำชั้นเป็นผู้รวบรวมเงินนำฝากเข้าบัญชีของนักเรียน |
แจ้งยอดสรุปรายการฝาก – ถอนเงินของนักเรียน ให้ผู้ปกครองรับทราบ ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
|
๑. โรงเรียนมีผลการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ร้อยละ ๘๕.๑๗
๒. ผู้ปกครองและนักเรียน
มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดโครงการ
๓. ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน
๔. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากธนาคารออมสิน
เนื่องจากเป็นโครงการที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมที่พึงประสงค์ในด้านการออม